สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ วันที่ 22 เม.ย. 2556 – ประเทศไทยนั้นถือว่าได้รับความสนใจในเวทีแอลเอ็นจี โดยถูกกล่าวถึงในฐานะผู้นำเข้าก๊าซ รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์การนำเข้าเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ อสมท. ตลาดการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ที่เมืองฮุสตัน เท็กซัส สหรัฐอเมริกา จับตามองมาที่ตลาดภาคเอเชีย ด้วยมีความต้องการสูง โดยมีการประเมินว่าในปี 2563 ทั่วโลกจะมีความต้องการใช้ LNG สูงขึ้น 10 เท่า ในปริมาณ 555 ล้านตัน ไทยมีความต้องการ 20 ล้านตัน ภายใน 17 ปีข้างหน้า ชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย อสมท. - http://www.mcot.net/site/content?id=51753041150ba0c96f000196#.UXZOw8phsa8– ( 52 Views)
แอลเอ็นจี ตอน 5 : แอลเอ็นจีในอาเซียน
สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ 23 เม.ย. 2556 – ชาติในอาเซียนกำลังลงทุนก่อสร้างคลังรองรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) กันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มีผลต่อประเทศไทยอย่างไร โดย 6 ชาติในอาเซียนต่างมีคลังเก็บก๊าซแอลเอ็นจี ของไทยตั้งอยู่ที่มาบตราพุด จังหวัดระยอง สิงคโปร์ตั้งเป้าเป็นฐานการค้าในภูมิภาคนี้ ชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=51768092150ba0cc4a000144#.UXcwI8phsa8– ( 47 Views)
พันธุกรรมมะเขือเทศ
สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศที่ต้านทานโรคเหี่ยวเขียว และพร้อมขยายผลเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์ มีการนำเมล็ดพันธ์ที่พัฒนาได้ไปเพาะปลูกที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้ผลดีมากได้ราคาขายสูงขึ้น แต่ยังมีข้อด้อย คือยังไม่สามารถต้านทานโรคใบหงิกเหลือง ชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย อสมท. เข้าถึงได้ที่ http://www.mcot.net/site/content?id=517286e8150ba023040001b6#.UXTB3Mphsa8– ( 63 Views)
เทคโนโลยีแอลเอ็นจีพัฒนาสู่ผู้ใช้
สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวพลังงาน สหรัฐ 19 เม.ย. 2013 – ทั่วโลกกำลังพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น หลังพบว่าก๊าซธรรมชาติมีปริมาณสำรอง นำมาใช้ได้ยาวนานถึง 250 ปี ขณะที่น้ำมันอาจหมดลงใน 40 ปีข้างหน้า ที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปกำลังพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลว Liquefied Natural Gas, LNG เพื่อทดแทนน้ำมัน มีความสะอาดและราคาถูกกว่า ติดตามจากรายงานภาพข่าว ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=51713193150ba0560d0000c3#.UXS-68phsa8– ( 42 Views)
ปตท.สผ.ประสบความสำเร็จการเจาะหลุมสำรวจในแอลจีเรีย
สำนักข่าวไทยเสนอข่าวเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ 18 เม.ย. 2556 – นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปตท.สผ. และกลุ่มผู้ร่วมทุน ได้แก่ SONATRACH และ CNOOC Limited ประสบความสำเร็จในการเจาะหลุมสำรวจตามแผนงานระยะแรกในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ประเทศแอลจีเรีย พบอัตราการไหลของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเป็นที่น่าพอใจ สำหรับผลการเจาะหลุมสำรวจ 3 หลุมสุดท้าย ซึ่งได้เสร็จสิ้นลงนั้น จากการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Drill Stem Test (DST) พบว่าหลุมสำรวจที่ 9 (SAB-1) มีอัตราการไหลสูงที่สุดใน 3 หลุมนี้ โดยค้นพบน้ำมันดิบประมาณ 2,658 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 2.13 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในชั้นหิน Ordovician และ TAG-I ส่วนหลุมสำรวจที่ 7
นิตยสารไทม์เผย 100 อันดับบุคคลทรงอิทธิพล
สำนักข่าวไทยเสนอข่าวเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา 19 เม.ย. 2013 -นิตยสารไทม์ได้จัดอันดับบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกจำนวน 100 คนโดยคัดเลือกจากรายชื่อที่บรรณาธิการของนิตยสารไทม์ในที่ต่างๆ ทั่วโลกส่งเข้าสู่สำนักงานใหญ่ บุคคลผู้ทรงอิทธิพลจำนวน 100 คนนี้ จะคัดสรรจากทุกสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์หรือนักค้นคว้าด้านเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่นในสาขาอาชีพของตน โดยบุคคลดังกล่าวอาจเป็นผู้ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ หรือก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นที่ชื่นชอบของปวงชน รวมทั้งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องเคารพนับถือมากที่สุด ซึ่งบุคคลที่โดดเด่นที่สุดในขณะนี้ก็คือ มาลาลา ยูซุฟไซ วัยรุ่นสาวชาวปากีสถาน ผู้ไม่หวั่นอิทธิพลของตอลิบานที่ห้ามสตรีเรียนหนังสือจนกระทั่งถูกนักรบตอลิบานทำร้าย – ( 51 Views)
ปตท.วางแผนสร้างคลังแอลเอ็นจีเพิ่มเป็น 25 ล้านตันในปี 2563
สำนักข่าวไทยเสนอข่าวเศรษฐกิจ ฮูสตัน สหรัฐ 18 เม.ย. 2013 -บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วางแผนสร้างคลังแอลเเอ็นจี รวม 25 ล้านตัน ในปี 2563 เพื่อรองรับก๊าซอ่าวไทยลดลง และโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผนพีดีพี ด้านรัฐบาลสนับสนุนเจราจาหาพันธมิตรแอลเอ็นจี สร้างความมั่นคงแก่ประเทศ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีเปิดบูธนิทรรศการของกลุ่ม ปตท. ในงาน 17 th International Conference and Exhibition on Liquefied Natural Gas หรือ LNG 17 ณ เมืองฮูสตัน มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา – ( 59 Views)
เมื่อความคิดของคุณถูกนำมาใช้เป็นพาสเวิร์ด
เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ ทีมนักวิจัยได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งขึ้นมาที่สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้ด้วยคลื่นสมอง หรือที่เรียกกันว่า electroencephalograms (EEGs) ลืมสิ่งที่คุยเคยได้ยินมาทั้งหมดเกี่ยวกับพาสเวิร์ดอย่างแหวนยืนยันตนของกูเกิ้ล หรือการสแกนดวงตา รวมทั้งการยืนยันตนแบบสองขั้นตอนไปได้เลย เมื่อบรรทัดฐานของความปลอดภัย ได้ถูกยกให้สูงขึ้นแล้วด้วยพาสเวิร์ดที่ส่วนตัวที่สุดเท่าที่เคยมีมา : ความคิด จากการนำของ John Chuang จาก UC Berkeley School of Information นั้น ทีมนักวิจัยได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งขึ้นมาที่สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้ด้วยคลื่นสมอง หรือที่เรียกกันว่า electroencephalograms (EEGs) นั่นเอง ซึ่งแทนที่จะใช้ตัวอักษรและตัวเลขเป็นพาสเวิร์ด เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถใช้ความคิดเป็นพาสเวิร์ดได้ โดย Chuang และทีมงานของเขาได้พัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นด้วย headset ของ Neurosky Mindset ที่มีราคาอยู่ประมาณ 100 ดอลล่าร์ในการยืนยันผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ผ่านเทคโนโลยี Bluetooth – ( 64 Views)
นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง! ผลิต“ชุดแสดงผลอักษรเบรลล์”อ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จาก“แสงซินโครตรอน” ได้สำเร็จครั้งแรกของโลก
เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ ผู้พิการตาบอดเฮ! นักวิจัยไทยสุดเจ๋งผลิต“ชุดแสดงผลอักษรเบรลล์”ด้วยแสงซินโครตรอนได้สำเร็จครั้งแรกของโลกเพื่อใช้อ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บนจอคอมพิวเตอร์ เตรียมพัฒนาให้ใช้ได้กับอุปกรณ์สื่อสารยุคใหม่ ทั้งสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต ลดการนำเข้าจากต่างประเทศราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว พร้อมจ่อต่อยอดงานวิจัยผลิตชุดแสดงผลอักษรเบรลล์จาก 3 เซลล์เป็น 10 เซลล์ คาดสำเร็จกลางปีหน้าเร่งจดสิทธิบัตรฝีมือคนไทย – ( 55 Views)
ศาสตราจารย์ น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้นำ… สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ก้าวสู่ AEC
เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ สัมภาษณ์พิเศษ “ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร. สราวุฒิ สุจิตจร” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเรือใหญ่สถาบันวิจัยเจ้าของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน กับ ภารกิจสำคัญในการนำองค์กรก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนของไทยในภูมิภาคนี้ ซึ่งทุกคำตอบล้วนน่าสนใจและควรค่าแก่การติดตามเป็นอย่างยิ่ง อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ เว็บไซต์วิชาการดอทคอม อ้างอิง เว็บไซต์วิชาการดอทคอม – http://www.vcharkarn.com/vblog/115117/26/#P26– ( 52 Views)