magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by rungsima (Page 67)
formats

นวัตกรรมสมาร์ทโฟนในงานมือถือโลก

Published on March 1, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทย อสมท. นำเสนอข่าวเช้า ที่ ModernNine TV  ดังรายละเอียด สเปน 28 ก.พ.2013 – ในนิทรรศการโทรศัพท์เคลื่อนที่และสมาร์ทโฟนโลก ซึ่งจัดขึ้นที่นครบาร์เซโลนาของสเปน มีการนำเสนอนวัตกรรมสมาร์ทโฟนรูปแบบใหม่ๆ ให้ได้ชมกันอย่างคับคั่ง มีการเสนอสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีแอฟด้านตรวจวัดสุขภาพ เช่นวัดน้ำตาล วัดอัตราการเต้นหัวใจ รวมถึงแสดงชาร์จมือถือ ที่ใช้น้ำ หรือ น้ำเกลือ ชมภาพข่าววิดิโอได้ที่  http://www.mcot.net/site/content?id=512ea80e150ba0e91b0002ac#.UTAohFdhsa8– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสำรวจสุขภาพ บริเวณโรงนิวเคลียร์ฟูคูชิมะ

Published on March 1, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดบุคคล -   จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูคูชิมะ รั่วไหล หลังจากเกิดคลื่นสึนามิถล่ม เมื่อปี 2011 ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้มีโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนที่บริเวณนั้น โดยหัวหน้าทีมวิจัยการสำรวจสุขภาพประชาชน Shunichi Yamashita นักฟิสิกส์ด้านรังสี จากมหาวิทยาลัย นากาซากิ จะก้าวลงจากตำเหน่งหัวหน้าทีมวิจัยชุดนี้ ในปลายเดือนมีนาคม 2013 นี้ ด้วยสัญญาว่าจ้างหมดอายุลง และอยู่ในภาวะถูกกดดันจากนักเคลื่อนไหวท้องถิ่นในเรื่องที่เรียกร้องว่าอุบัติเหตุนี้ อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้  เขาจะยังคงทำงานเป็นที่ปรึกษาแบบไม่เต็มเวลาให้แก่ Fukushima Medical University ส่วนผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนนั้น ยังไม่มีการเสนอชื่อใดๆ อ้างอิง : Health survey .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7437), 286 – 287. http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12444!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/494286a.pdf– ( 62

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวีเดนคิดค้นแขนเทียมสุดไฮเทค

เว็บไซต์วิชการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ล่าสุด เรื่องแขนเทียม ดังรายละเอียดต่อไปนี้ นักวิจัยประสบความสำเร็จในการฝังขั้วอิเล็กโทรดเข้าไปในระบบประสาทและกล้ามเนื้อของผู้พิการ ทำให้ผู้พิการสามารถควบคุมแขนเทียมได้โดนตรงเป็นครั้งแรก นับเป็นความก้าวหน้า ของวงการหุ่นยนต์อวัยวะเทียมที่ทำให้คนพิการขยับแขนได้ใกล้เคียงกับของจริง ดร.ริคาร์ด เบรนมาร์ค แห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซาห์ลเกรนสก้า ประเทศสวีเดน สามารถผ่าตัดฝังขั้วอิเล็กโทรดประสาทกล้ามเนื้อลงไปที่ร่างกายของผู้พิการโดยถาวร จนผู้พิการสามารถ ขยับแขนเทียมได้อย่างเป็นธรรมชาติมาก “เทคโนโลยีใหม่นี้คือเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก ทำให้ผู้พิการที่ไม่มีแขนขาสามารถขยับแขนขาเองได้” ดร.เบรนมาร์คอธิบาย ปัญหาที่ท้าทายนักวิจัยด้านการพัฒนาแขนเทียมมีอยู่สองข้อใหญ่ๆคือ 1) จะติดแขนเทียมเข้ากับผู้พิการได้อย่างไรจึงจะลงตัว 2) จะให้ผู้พิการควบคุมแขนเทียมได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพอย่างไร เพื่อจะได้ใช้แขนเทียมนั้นเป็นประโยชน์มากที่สุด และกลับมาขยับแขนนั้นได้อีกครั้ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์วิชาการดอทคอม -  http://www.vcharkarn.com/vnews/154865 อ้างอิงเว็บไซต์ วิชาการดอทคอม – -  http://www.vcharkarn.com/vnews/154865– ( 140 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มีการใช้พลังงานลมเพิ่มมากขึ้น

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวด Trend watch -  เมื่อปี 2012 ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ต่างติดตั้งกังหันลมที่มีความสามารถผลิตพลังงานได้ประมาณ 13 Gigawatta , GW นี้เป็นข้อมูลจาก Global WindEnergy Council ที่เป็นสมาคมการค้าอุตสาหกรรม (Industry’s Trade Association) สำนักงานใหญ่ตั้งที่ กรุงบรัสเซสส์ เบลเยี่ยม สถิติของโลกในการติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อผลิตพลังงานจากลมนั้น พบว่า ยอดรวมของโลก เท่ากับ 282.4 GW โดยเป็นประเทศจีน 75.6 GW ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ส่วนของทั้งโลก และเป็นกำลังผลิตราว 5.4 GW  (คิดเป็นร้อยละ 2 ของทั้งโลก)  และเป็นกังหันที่ติดที่ชายฝั่งทะเล มากที่สุดที่ทิศเหนือของยุโรป สรุปถือว่ามีการเติบโตร้อยละ 18 ในปี 2012

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สเต็มเซลล์ iPS เดินหน้าต่อไป

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดวิจัย – เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2013 มีการศึกษาทางคลีนิกครั้งแรกของโลก ในการนำ pluripotent stem cell ให้แก่มนุษย์ คณะกรรมการแห่งสถาบัน National Institute of  Biomedical Innovation ที่กรุงโอซากา  ประเทศญี่ปุ่น  ได้อนุมัติให้ ทำการศึกษาเพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยโรคการเสื่อมสภาพของเซลล์เยื่อชั้นในของลูกตาในผู้สูงอายุ (macular degeneration) ที่อาจก่อให้ตาบอดได้  ผู้นำการวิจัย Masayo Takahashi แห่งสถาบัน RIKEN  เมืองโกเบ  กำลังรอการอนุมัติจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับการอนุมัติ ก่อนเดือน มีนาคม 2014 อ้างอิง :  Go-ahead for iPS.  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature.,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คำตัดสิน สิทธิบัตรยีนส์

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2013 ศาลของรัฐบาลกลาง ประเทศออสเตรเลีย ซิดนีย์  ได้ตัดสินคดีความที่สำคัญ ว่างสามารถจดสิทธิบัตรยีนส์ได้ จากเหตุผลที่ว่าขนวบการแยกออกในยีนส์มนุษย์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนธรรมชาติมนุษย์  โดยมีการสนับสนุนในการตัดสินใจเรื่องนี้ นี้เป็นสิทธิบัตรที่ยื่นขอที่ประเทศออสเตรเลีย โดยบริษัท Myriad Genetics ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับพันธุกรรม มีฐานอยู่ที่ Salt Lake City รัฐยูท่าห์ รวมทั้งกำลังมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตร ในศาลสหรัฐอเมริกาด้วย  มีการคาดว่าน่าจะมีคำตัดสินก่อนศาลสูงสุด ในปลายปีนี้ อ้างอิง : Gene-patent ruling .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7437), 286 – 287. http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12444!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/494286a.pdf– ( 151 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหรัฐอเมริกา ร่างกฎหมาย Open-access

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย เป็นร่างกฏหมายที่ต้องการให้มีการบังคับเปิดให้เข้าถึงข้อมูลผลงานวิจัยได้รับทุนวิจัยจากงบประมาณของรัฐบาลกลางให้แก่สาธารณชนได้แบบฟรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013 ได้มีการนำร่างกฎหมายเรื่องนี้เข้าที่ประชุมรัฐสภาสหรัฐอเมริกา  หากมีการอนุมัติเห็นชอบในร่างกฎหมายนี้ อาจจะมีการสั่งการให้หน่วยงานวิจัยผู้ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลกลางเปิดเผยข้อมูลผลงานวิจัยได้แบบฟรี ไม่ช้าไปกว่า 6 เดือน หลังจากบทความนั้นมีการตีพิมพ์ ในขณะนี้ หน่วยงานวิจัยหลัก  National  Institutes of  Health, NIH  มีระเบียบให้เปิดเผยผลงานวิจัย ภายใน 12เดือน ร่างกฎหมายนี้เป็นฉบับที่ 4 ของเรื่อง Open-access  ที่นำเข้ารัฐสภาสหรัฐอเมริกา  โดยที่ยังไม่มีออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนี้ อ้างอิง : US open-access bill .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7437), 286 – 287. http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12444!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/494286a.pdf–

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปิดตัวมือถือโปร่งแสงเตรียมวางจำหน่ายปีนี้

สำนักข่าวไทย เสนอข่าวเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน แบบใหม่ ดังรายละเอียด ไต้หวัน 21 ก.พ.2556-เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีการพัฒนาสมาร์ทโฟนโปร่งแสง เตรียมออกวางจำหน่ายในปีนี้ บริษัท โพลีตรอน เทคโนโลยี ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสหรัฐที่อยู่ในไต้หวัน ประกาศตัวว่าสามารถพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่โปร่งแสงเต็มรูปแบบได้เป็นรายแรก หลังใช้เวลาค้นคว้าพัฒนา มาถึง 6 ปี และตอนนี้มีคำสั่งซื้อเข้ามาแล้ว คาดว่าจะออกจำหน่ายได้ภายในปีนี้ – ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปิดตัววารสาร Open -Access ชื่อใหม่

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดธุรกิจ -   วารสารประเภท Open-access ชื่อใหม่ที่ชื่อ PeerJ. ได้เปิดตัวขึ้นมาใหม่ เปิดบริการที่เว็บไซต์  https://peerj.com/ สำนักพิมพ์มีข้อเสนอให้แก่ผู้แต่งบทความที่สนใจเสนอตีพิมพ์บทความ โดยยกเว้นค่าสมาชิกเพื่อการตีพิมพ์ในช่วง 1 ปีแรก ในจำนวนเงิน 299 เหรียญสหรัฐ  วารสารได้เริ่มตีพิมพ์บทความวิจัยชุดแรก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013  ผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มองว่าเป็นโมเดลทางธุรกิจที่ผิดจากธรรมดา ผู้ก่อตั้ง กล่าวว่าวารสารอาจมีการลดราคาค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ลงอย่างมากต่อไป อ้างอิง : Open-access launch .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature.,  494 (7436), 152 – 153. http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-february-2013-1.12412– ( 105 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความตกลงกันในงบประมาณของยุโรป

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย  -  เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2013 ผู้นำของกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีการตกลงกันในเรื่องงบประมาณ จำนวน 125.6 พันล้านยูโร (168 พันล้านเหรียญสหรัฐ)  เพื่อการริเริ่มการกระตุ้นส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของทวีปยุโรป ในช่วงปี 2014- 2020 ซึ่งรวมถึง โปรแกรมการวิจัย Horizon 2020 ด้วย อ้างอิง : EU budget deal .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7436), 152 – 153. http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-february-2013-1.12412– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments