magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by tipparat (Page 12)
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวโน้มทั่วโลกในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งคือการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเทศไทยไม่แค่เพียงต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพแต่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในอาเซียนและในโลก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบคือ มันสำปะหลัง อ้อย อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยขาดเทคโนโลยีและตลาด ในอาเซียนประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การลงทุนจากต่างประเทศไทยยังมีน้อยกว่าสิงคโปร์ ส่วนเมื่อมองระดับโลกยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ในเอเชียเกาหลี ญี่ปุ่น มีนโยบาย เทคโนโลยี แต่ไม่มีวัตถุดิบ – ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของทรัพยากรจุลินทรีย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา นอกจากก่อโรคมีประโยชน์มากมายต่อการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่น ผลิตสารหรือเอนไซม์ที่เป็นยา ราก่อโรคในแมลงใช้เป็นวิธีทางชีวภาพ (biocontrol) ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีความหลากหลายของชนิดของจุลินทรีย์สูงโดยมีประมาณมากกว่าหนึ่งแสนชนิด มีความพร้อมสูงในการมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ – ( 165 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยค้นพบเซลล์คัดลอกดีเอ็นเอได้อย่างไร

Published on March 22, 2013 by in S&T Stories

คนส่วนใหญ่รู้จักดีเอ็นเอว่าทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยผ่านการแปลลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็นลำดับกรดอะมิโนซึ่งเป็นตัวกำหนดชนิดของโปรตีนที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ ดังนั้นก่อนการแบ่งเซลล์ดีเอ็นเอต้องคัดลอกตัวเอง (replication) เพื่อให้ได้ดีเอ็นเอที่เหมือนกันเพิ่มขึ้นจาก 1โมเลกุลเป็น 2 โมเลกุล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โอกาสในการใช้เชื้อราแทนพลาสติก

Published on March 22, 2013 by in S&T Stories

เมื่อกลุ่มเส้นใย (mycelia) ของเชื้อราย่อยสลายวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ผลที่ได้รวมตัวยึดแน่นติดกันโดยกลุ่มเส้นใยเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีลักษณะคล้ายพรมหรือเสื่อ ซึ่งสามารถเจริญในแม่พิมพ์จนกลายเป็นกล่องบรรจุสิ่งของ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ระบุระดับความเสี่ยงในการเกิดโลกาวินาศของปี 2556

Doomsday Clock (นาฬิกาโลกาวินาศ) เป็นสัญลักษณ์ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อระบุระดับความเสี่ยงในการเกิดโลกาวินาศที่อาจเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศของโลก และหายนะที่เกิดจากมือมนุษย์อื่นๆ โดยที่เวลาเที่ยงคืนเป็นเวลาโลกาวินาศ ซึ่งคณะกรรมการจาก Atomic Scientists เป็นผู้พิจารณาตำแหน่งเข็มนาฬิกาในแต่ละปี โดยตำแหน่งเข็มนาฬิกาที่ยิ่งใกล้กับเวลาเที่ยงคืนบอกถึงความเสี่ยงที่มากขึ้นของมนุษย์ โดยการกำหนด Doomsday Clock เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูทำลายล้างประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2492 เป็นปีที่เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 2 นาทีก่อนเวลาเที่ยงคืนซึ่งเป็นผลมาจากการทดลองใช้ระเบิดไฮโดรเจน และปี พ.ศ. 2534 -2537 เป็นช่วงเวลาที่เข็มอยู่ห่างจากเวลาเที่ยงคืนมากที่สุด คือ 17 นาที ซึ่งในปีนั้นเป็นปีที่สงครามเย็นเริ่มบรรเทาและประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตยกเลิกคลังแสงสรรพาวุธ ส่วนปี พ.ศ. 2556 นักวิทยาศาสตร์ตัดสินให้เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 5 นาทีก่อนเวลาเที่ยงคืนซึ่งเป็นระดับเดิมจากปีที่ผ่านมา ซึ่ง Lawrence Krauss ประธานร่วมของคณะกรรมการกล่าวว่าตำแหน่งเข็มในปีนี้ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2555 เข็มนาฬิกาได้ขยับจาก 6 นาทีเป็น 5 นาทีก่อนเที่ยงคืน ซึ่งเป็นผลจากความแห้งแล้งและพายุที่มีความรุนแรงและในปีนี้ก็ยังไม่มีการพัฒนาใดๆ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2556 ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีการประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา โดยมีการหารือใน 2 ประเด็นคือการผลักดันให้มีการจัดตั้งมูลนิธิการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ (Thailand-U.S. Cooperative Foundation (TUSCO)) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา และประเด็นที่สองคือการหารือถึงกรอบแนวทางการจัดการประชุมประจำของสมาคมประจำปี 2556 โดยในเบื้องต้นที่ประชุมได้มีมติให้หัวข้อในการประชุมปีนี้คือ U.S.-Thailand Partnership for Advancing Competitiveness of Thailand in ASEAN Economic Community (AEC) ซึ่งการประชุมคาดว่าจะจัด ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในช่วงปลายเดือนเมษายน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

OriginOil พัฒนาวิธีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายที่มีประสิทธิภาพ

บริษัท OriginOil ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจอลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย พัฒนาวิธีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดแบคทีเรียออกจากสาหร่ายได้ถึงร้อยละ 99 ทำให้สามารถขยายระยะเวลาการเก็บรักษาสาหร่ายในรูปของเหลวที่มีความเข้มข้นได้นานยิ่งขึ้นจากเพียง 10-12 ชั่วโมงเป็น 12 วันหรือมากกว่า เพื่อรอการแปรรูปสาหร่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายครั้งสำคัญที่ทำให้การขนส่งสาหร่ายได้ในระยะทางที่ไกลมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องรีบทำการแปรรูป ส่งผลให้การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายมีต้นทุนที่ต่ำลง โดยกระบวนการเก็บเกี่ยวที่ใช้เรียกว่า Solid out of Solution (SOS) เป็นกระบวนการแยกของแข็งออกจากสารละลาย โดยการกำจัดน้ำออกจากสาหร่ายเพื่อทำให้สาหร่ายเข้มข้นขึ้นและใช้ไฟฟ้าเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ถึงร้อยละ 99 ส่วนเซลล์สาหร่ายที่มีผนังเซลล์หนาสามารถอยู่รอดได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

PCAST จัดทำรายงานทบทวนการประเมินเครือข่ายและ R&D ด้าน InfoTech

PCAST (the President’ s Council of Advisors on Science and Technology) หรือสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำรายงานทบทวนเสนอต่อประธานาธิบดีและสภาผู้แทนฯ ในหัวข้อ “การวางแผนอนาคตดิจิตอล: การวิจัยและพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ” (Designing a Digital Future: Federally Funded Research and Development in Networking and Information Technology) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลาง ภายใต้แผนงานการประเมินเครือข่ายภาครัฐและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและมีความเกี่ยวข้องกับสาขาการวิจัยและพัฒนาด้าน super-computing  high-speed networking  cybersecurity  software technology และ information management โดยรายงานให้ข้อสังเกตไว้ว่าการวิจัยในสาขาที่สำคัญของ NIT (networking and information technology, เครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ไม่ได้รับความสนใจและขาดการลงทุนที่เพียงพอ และเสนอแนะว่าควรมีการสร้างความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง NIT โดยเฉพาะในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments