Virginia M.-Y. Lee Kelvin C. Luk และคณะจากมหาวิทยาลัยเพนซิเวเนียทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein ซึ่งเกิดมาจากก้อนโปรตีนเล็กๆ ที่เรียกว่า Lewy bodies มารวมตัวกัน ซึ่งผลการศึกษายืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการตายของเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine จากโปรตีน alpha-synuclein กับอาการสั่นของร่างกายและความไม่หยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูที่มีสุขภาพสมบูรณ์แล้วทำการตรวจสอบสมองของหนู เมื่อผ่านไป 30 วันพบว่าโมเลกุล alpha-synuclein แพร่กระจายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ ข้างเคียง ซึ่งพอสรุปได้ว่าโมเลกุล alpha-synuclein สามารถเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ และหลังจากนั้นอีก 30 วันพบว่าการแพร่กระจายของโมเลกุล alpha-synuclein ขยายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ มากขึ้น และเมื่อผ่านไป 6 เดือนหลังจากฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูพบว่ามี Lewy bodies ในเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine ทำให้ผลิตสาร dopamine น้อยลง ส่วนการทดสอบลักษณะภายนอกพบว่าหนูวิ่งบนท่อนไม้ได้ไม่ดีเท่าเดิมเนื่องจากสมดุลไม่ดีและเกาะกรงน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับการฉีดน้ำเกลือแทน ซึ่งผลการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยบางกลุ่มสนับสนุนว่าการแพร่กระจายจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์เกิดขึ้นได้ในคน โดยปลูกถ่ายเซลล์สมองของเด็กทารกเข้าไปในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อผ่านไป 14 ปี
เชื้อเพลิงชีวภาพอาจไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) เป็นทางเลือกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ในวารสาร the journal Nature Climate Change รายงานว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนตายก่อนเวลาอันสมควรและลดปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งรายงานเกิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในการใช้พลังงานชีวภาพที่มากขึ้นในสหภาพยุโรป โดยต้นปอปลาร์ (Poplar) ต้นวิลโลว์ (Willow) และต้นยูคาลิปตัส (Eucalyotus) ซึ่งนิยมนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในยุโรป เนื่องจากมีการเจริญเติบโตเร็วเหมาะสำหรับการนำมาใช้ผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการปล่อยสารไอโซพรีน (Isoprene) ในขณะเจริญเติบโต ซึ่งถ้ารวมตัวกับมลภาวะทางอากาศอื่นๆ แล้วโดนแสงแดดทำให้เกิดการสร้างก๊าซโอโซนที่เป็นพิษขึ้นมา โดยจากรายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 จะมีคนตายก่อนเวลาอันควรประมาณ 1,400 คนในยุโรปต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินกว่า 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังลดผลผลิตต่อปีของข้าวสาลีและข้าวโพด โดยคิดเป็นเงินกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากโอโซนทำให้การเจริญเติบโตเสียหาย รายงานยังเสนอว่าควรมีการจำกัดสถานที่ในการปลูกต้นไม้ที่ใช้ผลิตพลังงานชีวภาพให้ห่างจากบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศ ซึ่งช่วยจำกัดปริมาณของก๊าซโอโซนที่มีผลต่อปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายกว่า 22,000 คนต่อปีในยุโรป และพันธุวิศวกรรมอาจนำมาใช้เพื่อลดการปล่อยสารไอโซพรีน นอกจากนี้เชื้อเพลิงชีวภาพมักถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุการสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาอาหาร เนื่องจากการปลูกต้นไม้ที่ใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะไปแย่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลิตผลทางการเกษตร ดังนั้นกรรมการของยุโรปออกมาประกาศว่าจะจำกัดการปลูกต้นไม้ที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นร้อยละ 5 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 108
รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการเจริญเติบโตของกลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก
กลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็กมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาทางนวัตกรรมและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กภายในประเทศทำให้มีการจ้างงานหลายสิบล้านคนหรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของการจ้างงานในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี มีผลที่สำคัญต่อการสร้างงานในทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯ มีแผนที่ต้องการสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานของรัฐบาลส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ขึ้น เช่น Apple ซึ่งทำให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลสหรัฐฯ แถลงรายละเอียดแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มคือ บริษัทที่เพิ่งเปิดและกำลังเติบโต และตลาดที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งแผนปฏิบัติการนี้อยู่ในวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Cross-Agency Priority (CAP) Goals ที่ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐบาลในนโยบายที่มีการจัดลำดับความสำคัญแล้ว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 90 Views)
FDA เสนอกฎระเบียบใหม่ 2 เรื่อง ด้านความปลอดภัยทางอาหาร
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration, FDA) เสนอกฎระเบียบใหม่ 2 เรื่อง ด้านความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหาร (Foodborne illness) ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยทางด้านอาหารให้ทันสมัย (The FDA Food Safety Modernization Act, FSMA) เป็นผลสืบเนื่องมาจากความคืบหน้าภายใต้รัฐบาลโอบามาในด้านความปลอดภัยทางอาหาร โดยขยายกฎระเบียบออกไปยังอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ สมาคมผู้บริโภค หน่วยงานราชการอื่นๆ และสมาคมนานาชาติ ซึ่งกฎระเบียบทั้งสองเรื่องเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของประเทศที่จะพัฒนาวิธีการป้องกัน และการจัดระบบความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และอาหารที่นำเข้า โดยกฎระเบียบเรื่องแรกต้องการให้ผู้ผลิตอาหารที่จะจำหน่ายในสหรัฐฯ ทั้งที่ผลิตในและนอกประเทศมีการพัฒนาแผนการป้องกันอย่างเป็นทางการเพื่อไม่ให้อาหารเป็นสารก่อโรคได้ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในหนึ่งปีหลังจากกฎระเบียบเสร็จสิ้น โรงงานผลิตอาหารขนาดใหญ่ส่วนมากพร้อมปฏิบัติตาม ส่วนธุรกิจขนาดเล็กให้เวลามากกว่า ในขณะที่กฎระเบียบเรื่องที่สองเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานตามหลักวิทยาศาสตร์และความเสี่ยงที่เป็นพื้นฐานเพื่อการผลิตและการเก็บเกี่ยวผักผลไม้อย่างปลอดภัย โดยตั้งเป้าหมายว่าฟาร์มขนาดใหญ่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามภายใน 26 เดือน หลังจากกฎระเบียบเสร็จสิ้นและมีการลงทะเบียนกับรัฐบาลกลาง ส่วนฟาร์มขนาดเล็กให้เวลามากกว่า และสำหรับฟาร์มทุกขนาดให้เวลาเพิ่มเพื่อดำเนินการข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556 – ( 69 Views)
สหรัฐฯ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 2012 เป็นปีที่สหรัฐฯ พยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย และประเทศไทย ในการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น การก่อการร้าย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งจากการทำงานร่วมกันทำให้กองกำลังสหรัฐฯ ในเอเชียแปซิฟิกมีความยั่งยืนทางการเมืองมากขึ้น มีความอดทนในการปฏิบัติการ และกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติในภูมิภาค และยังส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศฟิลิปปินส์ทางทะเล และประธานาธิบดีโอบามายังเดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งบ่งชี้ถึงความก้าวหน้าในความสนใจในความร่วมมือของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเข้มแข็งในความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศนิวซีแลนด์ โดยร่วมมือด้านความมั่นคงทางการทหารในภูมิภาค มีความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การแก้ปัญหาภัยพิบัติ และการรักษาสันติภาพ และยังร่วมมือกับประเทศปาเลา ไมโครนีเวีย และหมู่เกาะมาแชล เพื่อร่วมแก้ปัญหาด้านต่างๆ เช่น สุขอนามัย การศึกษา เศรษฐกิจ ในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมามีการประชุมหารือที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนคนของทั้งสองประเทศในด้านการศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กีฬา และยังมีการประชุมเรื่องบทบาทสตรี โดยผลจากการประชุมทำให้กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ดำเนินการหลายเรื่อง เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การเพิ่มจำนวนนักศึกษาสหรัฐฯ ในประเทศจีน ส่วนประเทศพม่าสหรัฐฯ ยอมให้มีการลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ การส่งออกบริการด้านการเงิน และการนำเข้าสินค้าจากพม่า นอกจากนี้การเยือนประเทศพม่าของประธานาธิบดีโอบามายังแสดงว่าสหรัฐฯ สนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศพม่า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ในปี ค.ศ. 2100 จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
คงอยู่ในความสนใจของใครหลายคนว่าอนาคตข้างหน้าโลกใบนี้จะเป็นอย่างไร คนส่วนใหญ่ชอบบอกว่าแน่นอนประชากรโลกเพิ่มขึ้น อุณหภูมิโลกร้อนมากขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันมีแหล่งน้ำ น้ำมัน แร่ธาตุ พื้นที่เพาะปลูก ไม่เพียงพอต่อความต้องการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 69 Views)