magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by tipparat (Page 14)
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมน (hormone) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

ฮอร์โมนเป็นที่รู้จักว่าหลั่งโดยเซลล์ของต่อมไร้ท่อแล้วเข้าสู่กระแสโลหิตเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังเซลล์เป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของเซลล์ แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญอะไรบ้างเกี่ยวกับฮอร์โมนในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 การค้นพบเริ่มต้นเมื่อค.ศ. 1902 โดย William Maddock Bayliss และ Ernest Henry Starling ค้นพบฮอร์โมน secretin ซึ่งหลั่งโดยผนังของลำไส้เล็กเพื่อควบคุมตับอ่อน (pancreas) หลังจากนั้นอีก 12 ปี Edward Kendall ค้นพบฮอร์โมน thyroxin ซึ่งหลั่งโดยต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ต่อมามีการค้นพบฮอร์โมนอีกหลายชนิด เช่น ฮอร์โมน parathormone (ค.ศ. 1926) ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 116 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์ (enzyme) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

เอนไซม์เป็นที่รู้จักว่าคือโปรตีนที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์อะไรบ้างจนถึง ค.ศ. 2003 การค้นพบเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1833 ในขณะนั้น Anselme Payen ค้นพบเอนไซม์ diastase ซึ่งสกัดได้จากข้าวมอลต์ (malt) โดยทำหน้าที่เร่งการเปลี่ยนแป้ง (starch) เป็นน้ำตาล (sugar) หลังจากนั้นมีการค้นพบเอนไซม์อีกหลายชนิด เช่น เอนไซม์ invertase (ค.ศ. 1871)  เอนไซม์ reverse transcriptase (ค.ศ. 1970) เอนไซม์ gyrase (ค.ศ. 1976) การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์จนถึง ค.ศ. 2003 ได้รวบรวมไว้ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 173 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามิน (vitamin) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

หลายคนคงรู้จักวิตามินว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยและถ้าร่างกายขาดวิตามินทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ เช่น ถ้าขาดวิตามินซี (vitamin C) ทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน แต่อาจสงสัยว่ามีการค้นพบอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามินในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 วิตามินเริ่มรู้จักเมื่อ ค.ศ. 1906 ในขณะนั้น Frederick Hopkins ค้นพบว่า อาหารมีส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตซึ่งไม่ใช่สารอาหาร เช่น โปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต  โดยอีก 6 ปีต่อมา Casimir Funk เรียกส่วนประกอบนี้ว่า วิตามิน หลังจากนั้นมีการค้นพบวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ (vitamin A, ค.ศ. 1913) วิตามินซี (ค.ศ. 1928) วิตามินเค (vitamin K, ค.ศ. 1935) ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามินในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

คำว่า พันธุวิศวกรรมเป็นคำที่รู้จักอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะตามต้องการโดยอาศัยการส่งถ่าย DNA ที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวเข้าไปในสิ่งมีชีวิตนั้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบอะไรบ้างที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรม การค้นพบที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรมเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 ในขณะนั้น Albrecht Kossel ค้นพบ DNA และ RNA ซึ่งส่งผลให้อีก 31 ปีต่อมา Kossel ได้รับรางวัลโนเบล หลังจากนั้นมีการค้นพบเกิดขึ้นมากมายจนกระทั่งใน ค.ศ. 1973 Stanley Cohen และ Herbert W. Boyer ได้ทำการทดลองทางพันธุวิศวกรรมเป็นครั้งแรก โดยตัดโมเลกุล DNA ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) แล้วแทรกชิ้น DNA นั้นเข้าไปในแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) หลังจากนั้นพันธุวิศวกรรมได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากการค้นพบอีกหลายครั้ง จนกระทั่งใน ค.ศ. 2003 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human genome project) เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้งานด้านพันธุวิศวกรรมขยายวงกว้างขึ้นมาก ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรมตั้งแต่ ค.ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลาสมิด ดีเอ็นเอพาหะนิยมใช้ในงานพันธุวิศวกรรม

พลาสมิดตามธรรมชาติที่แยกได้จากแบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายเป็นดีเอ็นเอพาหะที่เหมาะสมใช้ในงานพันธุวิศวกรรม โดยพลาสมิดทำให้ดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการสามารถเพิ่มจำนวนและแสดงออกได้ในเซลล์ที่ต้องการแสดงออกซึ่งลักษณะนั้น เริ่มแรกตัดพลาสมิดและดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ แล้วเชื่อมต่อดีเอ็นเอทั้ง 2 ตัวอย่างด้วยเอนไซม์ ligase หลังจากนั้นส่งถ่ายเข้าสู่เซลล์ (transformation) ตัวอย่างพลาสมิดที่นิยมใช้ได้แก่ พลาสมิด pUC ซึ่งมีส่วนประกอบคือ ยีน B-galactosidase (lac Z) ยีนต้านทานต่อยาปฏิชีวนะแอมพิซิลิน ลำดับเบสที่จำเพาะของเอนไซม์ตัดจำเพาะหลายชนิดเรียงตัวซ้อนกันอยู่ในบริเวณยีน lac Z โดยมีลำดับเบสที่จำเพาะของเอนไซม์เพียง 1 ตำแหน่งต่อ 1 เอนไซม์ ดังนั้นบริเวณนี้จึงใช้เป็นที่เชื่อมต่อกับดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการเรียกบริเวณนี้ว่า multiple cloning site ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “เวกเตอร์” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 77-105. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.– ( 267 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เบสของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ

เบสเป็นส่วนประกอบย่อยหนึ่งของนิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โดยต่ออยู่กับน้ำตาลซึ่งต่ออยู่กับหมู่ฟอสเฟต เบสแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ พิวรีน (purine) ได้แก่ adenine (A) guanine (G) และไพริมิดีน (pyrimidine) ได้แก่ cytosine (C) thymine (T) uracil (U) เบส T พบเฉพาะในดีเอ็นเอ ในอาร์เอ็นเอพบเบส U แทน เบสเหล่านี้ต่อกับน้ำตาลดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอ ส่วนในอาร์เอ็นเอต่อกับน้ำตาลไรโบส เบสในดีเอ็นเอช่วยให้สายโพลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนเป็นเกลียวคู่ โดยเบส A เกิดพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะกับเบส T และเบส G เกิดพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะกับเบส C ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 5-41. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Transcription และ Translation มีความสำคัญในกระบวนการสร้างโปรตีน

ลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็นตัวกำหนดลักษณะที่แสดงออกในสิ่งมีชีวิตโดยอาศัย 2 กระบวนการคือ transcription และ translation เพื่อให้ได้โปรตีนจำนวนหนึ่งซึ่งทำให้เกิดลักษณะต่างๆ ขึ้น เริ่มจากกระบวนการ transcription เป็นการถอดรหัสลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็น messsenger RNA (mRNA) ต่อมาเข้าสู่กระบวนการ translation เป็นการแปลรหัส mRNA เป็นโปรตีน ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) transfer RNA (tRNA มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) เมื่อผ่านกระบวนการแปลรหัสได้โปรตีนตามชนิดที่เซลล์ต้องการ ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่แสดงออกต่างๆ เกิดขึ้น ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 685 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Genome ยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต

เนื่องจากการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิตอาศัยการทำงานของโปรตีนมากมายหลายชนิด ดังนั้นดีเอ็นเอจึงประกอบด้วยรหัสสำหรับการสร้างโปรตีนจำนวนมาก รหัสหนึ่งชุดของดีเอ็นเอสำหรับการสร้างโปรตีนแต่ละชนิดเรียกว่า ยีน (gene) ในกระบวนการสร้างโปรตีนเริ่มต้นด้วยยีนถอดรหัสเป็น messenger RNA (mRNA) เรียกกระบวนการนี้ว่า transcription หลังจากนั้นรหัสของ mRNA แปลเป็นกรดอะมิโนเรียกกระบวนการนี้ว่า translation เมื่อกรดอะมิโนที่ได้มาต่อกันจะกลายเป็นโปรตีนตามชนิดที่เซลล์ต้องการ สำหรับยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตเรียกว่า จีโนม (genome) ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

RNA มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างโปรตีน

ในกระบวนการสร้างโปรตีนตามลำดับเบสของดีเอ็นเออาศัย RNA ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ messenger RNA (mRNA) และ transfer RNA (tRNA) กระบวนการดังกล่าวเริ่มจากการถอดรหัสลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็น mRNA เรียกว่า transcription หลังจากนั้นลำดับเบสทีละ 3 เบสที่เรียงติดกันของ mRNA แปลรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละตัวเรียกว่า translation ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) และ tRNA (มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อมาเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) หลังจากผ่านการแปลรหัสได้โปรตีนที่เซลล์ต้องการ ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ (www.aseanthai.net)

หัวข้อที่น่าสนใจจำนวนมากพบได้ในหน้าหลัก เช่น ข่าวสารอาเซียนรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนจำนวนมาก เช่น กงสุลใหญ่มาเลเซียพบปะสื่อมวลชนไทย – มาเลเซีย (26/12/2555) บทความพิเศษ เช่น ไทยกับการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน สื่อเผยแพร่ ได้แก่ หนังสือประเทศไทยกับอาเซียน คำศัพท์น่ารู้ เช่น คำศัพท์สวัสดีปีใหม่อาเซียน รอบรู้อาเซียน เช่น 10 เมนูเด็ดของประเทศอาเซียนที่ห้ามพลาด ASEAN Songs กรมประชาสัมพันธ์กับอาเซียน รายการสวัสดีอาเซียน ASEAN Videos นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นเผยแพร่ในเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลพื้นฐานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศไทย หน่วยงานด้านอาเซียนของไทย เช่น กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศเกี่ยวข้องในประชาคมการเมืองและความมั่นคง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวข้องในประชาคมเศรษฐกิจ – ( 316 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments