จากเผยแพร่ในวารสาร Trends in Biotechnology ความก้าวหน้าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงของจีโนมทำได้อย่างแม่นยำ ทำให้เป็นไปได้ที่ผลไม้และพืชอื่นๆ อาจจะได้รับการพัฒนาทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป ผลไม้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป (genetically edited fruits) อาจได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปมากกว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organisms, GMOs) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป นี่สามารถหมายความว่าผลไม้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป เช่น กล้วยชนิดพิเศษซึ่งผลิตวิตามิน เอ มากขึ้นสามารถปรากฏบนชั้นของร้านขายของชำ ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ : Cell Press (2014, August 13). Coming soon: Genetically edited ‘super bananas’ and other fruit?. ScienceDaily. Retrieved September 30, 2014, from http://www.sciencedaily.com/releases/2014/08/140813131044.htm– ( 41 Views)
ค้นพบสารประกอบเกลือแกงชนิดใหม่
นักเคมี Artem Oganov ของมหาวิทยาลัย Stony Brook University รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองในสภาวะที่มีอุณหภูมิและความดันสูง แล้วพบว่า เกิดสารประกอบชนิดใหม่ โดย Oganov กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักเคมี ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากทฤษฎี ซึ่งโดยปกติแล้วอะตอมโซเดียมและคลอไรด์จับกันแบบ 1 ต่อ 1 (NaCl) ซึ่งมีพันธะภายในจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ในขณะที่ในสภาวะสุดขีด (Extreme condition) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดัน สามารถเปลี่ยนปฏิกิริยาและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม เช่น ความดันสูงจะสามารถเปลี่ยนพันธะไอออนนิคในสารจำพวกเกลือที่ยอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น หรือพันธะโลหะ ซึ่งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนย้ายโดยรอบอย่างอิสระ ส่งผลให้อะตอมโซเดียมและคลอไรด์สามารถจับกันได้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3, 3 ต่อ 2 และ 1 ต่อ 7 เช่น สารประกอบโซเดียมไตรคลอไรด์ (NaCl3) ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า ถึงอย่างไรก็ตามการค้นพบสารประกอบใหม่นี้ยังไม่มีความเสถียร ถ้าหากมีการปรับสภาวะ เช่น ลดความดัน ลดอุณหภูมิ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา: