magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by tipparat (Page 3)
formats

โรคดิสเล็กเซียกับความด้อยในการเชื่อมโยงของสมอง

โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) หรือโรคความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่าน จากการศึกษาของ Bart Boets และคณะจาก Katholieke Universiteit Leuven ประเทศเบลเยี่ยม ได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองโดยคลื่นไฟฟ้า (Functional magnetic resonance imaging) คณะนักวิจัยได้เปรียบเทียบรูปแบบการทำงานของสมองปกติกับรูปแบบการทำงานของสมองที่มีความบกพร่องในการอ่าน หลังจากทดสอบการฟัง พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีสมองในส่วนกระบวนการพูดมีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ผู้ที่มีความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่านยังคงมีความสามารถในการจำแนกเสียงได้เหมือนคนปกติ ในขณะที่ความผิดปกติเกิดจากการส่งสัญญาณไปยังประสาทส่วนอื่น และนักประสาทวิทยา Daniel Brandeis ของมหาวิทยาลัย Zurich ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงของสมองในการอธิบายความสามารถในการอ่านและการพูด นอกจากนี้ Franck Ramus จาก Ecole Normale Superieure ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้แรกที่เสนอว่าผู้ที่มีความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่านเกิดจากความด้อยในการเชื่อมโยงของสมอง ในปี 2551 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคลำไส้อักเสบรักษาด้วยยา Thalidomide

ในปี 2551 Marzia Lazzerini และคณะนักวิจัยจาก Institute for Maternal and Child Health เมือง Trieste ประเทศอิตาลี ได้ทำการศึกษาในเด็กวัยรุ่นที่ป่วยด้วยอาการโรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease) โดยให้รับประทานยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide และยาที่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา (ยาหลอก) หลังจากนั้น 8 สัปดาห์ เด็กที่รับประทานยาหลอกส่วนใหญ่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ส่วนเด็กส่วนใหญ่ที่รับประทานยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide มีอาการดีขึ้น และเด็กบางส่วนยังคงมีอาการของโรค ในเด็กบางส่วนที่มีการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ เพื่อลดอาการบวมของลำไส้ ส่งผลให้การศึกษาล้มเหลวไม่สามารถรักษาและวัดผลได้ คณะนักวิจัยทำการทดลองในผู้ป่วยได้ขยายเวลาในการใช้ยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide พบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้ก่อให้เกิดผลดีและยังไม่พบว่ามีผลข้างเคียงในการใช้ยาประเภทนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 14

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบจุดหนาวเย็นที่สุดในโลกที่ใหม่ที่ขั้วโลกใต้

จากการรายงานของ Ted Scambos จาก National Snow and Ice Data Center (NSIDC) รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ทางด้านทิศตะวันออกของขั้วโลกใต้เป็นเทือกเขาสูงมีอุณหภูมิต่ำถึง -93.2 องศาเซลเซียส ซึ่งทำลายสถิติเดิมที่ได้มีการจดบันทึกอุณหภูมิต่ำสุดในปี 2526 ที่ -89.2 องศาเซลเซียส บริเวณ Vostok ขั้วโลกใต้ จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) กล่าวว่า การวัดอุณหภูมินี้สูงจากพื้นผิวเพียง 2 เมตร คณะนักวิจัยใช้สัญญาณดาวเทียมในการศึกษาอุณหภูมิบนพื้นผิวน้ำแข็งจากปี 2525 ถึงปี 2556  และได้รวบรวมข้อมูลจากเครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermo sensor) จากระบบสัญญาณดาวเทียม NASA’s Landsat 8 ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงในเชิงพื้นที่ ส่งผลให้นักวิจัยสามารถระบุสภาวะอากาศและอุณหภูมิได้ว่า จุดที่อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเทือกเขาที่มีความสูง 4,000 เมตร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีหามวลดาวเคราะห์แบบใหม่

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะนักวิจัยได้พูดถึงการศึกษาเรื่องมวลของดาวเคราะห์ โดยศึกษาจากขนาดของดาวเคราะห์ และองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเรียกวิธีการนี้สั้นๆ ว่า MassSpec วิธีการนี้สามารถใช้ศึกษาดาวเคราะห์บางดวง และสามารถใช้วิเคราะห์ความหนาของชั้นบรรยากาศที่ปกคลุม โดยคำนวณมวลของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 189733b ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวหมาจิ้งจอก (Constellation Vulpecula) อยู่ห่างจากโลก 63 ปีแสง พบว่ามีกลุ่มก๊าซร้อนขนาดใหญ่ เพราะว่าดาวเคราะห์นอกระบบนี้มีขนาดใหญ่ การวิเคราะห์มวลจึงใช้วิธีวัดอัตราความเร็วแนวเล็ง หรือความเร็วในแนวรัศมี นอกจากนี้คณะนักวิจัยยังคงทำการศึกษามวล และประเมินความเป็นไปได้ในการดำรงชีวิตของสิ่งชีวิตบนดาวเคราะห์ต่อไป อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 18 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกอาคารสำนักงาน

คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ รายงานว่า แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสงสามารนำมาใช้กับหน้าต่าง ซึ่งแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์นี้ควรมีความสามารถสูงในการดูดกลืนแสงและสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้แสงยังคงทะลุผ่านได้ โดยคณะนักวิจัยได้ผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์จากแร่เพอรอฟสไกด์ (Perrovskites) โดยที่เป็นแร่ธาตุที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากท่ามกลางนักวิจัยพลังงงานแสงอาทิตย์ เพราะว่าแร่ชนิดนี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับวัสดุอนินทรีย์กึ่งตัวนำและมีประสิทธิภาพสูงในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า การศึกษาขั้นต่อไปของคณะนักวิจัยคือ การศึกษาเสถียรภาพของวัสดุที่ผลิตจากแร่เพอรอฟสไกด์ ระยะเวลาในการใช้ ถ้าหากแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกหยุดผลิตพลังงานไฟฟ้า สีและความโปร่งแสงควรมีประสิทธิภาพในการใช้งานต่อไปได้เป็นอย่างน้อย 10 ปี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 2

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 3 ท่านหลัง ดังนี้ 1. ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดเผาะในป่าชุมชน สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดเผาะเวลารับประทานจะกรอบ มีมากทางภาคอีสานและเหนือ มีราคาค่อนข้างแพง ในสภาพอากาศที่แห้งแล้งพืชอาศัยที่ดีสำหรับเห็ดเผาะเช่น กล้าไม้รัง ไม้พวง ส่วนในอากาศไม่แห้งแล้งไม้วงศ์ยางเป็นพืชอาศัยที่ดี ความรู้เกี่ยวกับเห็ดเผาะเหล่านี้จะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน เช่น 1. เห็ดเผาะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เห็ดเผาะฝ้ายและเห็ดเผาะหนัง โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เห็ดเผาะฝ้ายจะมีเส้นใยรอบดอกมาก ฟู เกิดเป็นกลุ่ม ผนังด้านนอกของดอกมีสีขาว ส่วนเห็ดเผาะหนังมีเส้นใยรอบดอกเรียบมีน้อย เกิดกระจัดกระจาย ผนังด้านนอกของดอกมีสีดำ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 1

เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 2 ท่านแรก ดังนี้ 1. นายกฤษชนะ นิสสะ โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อ.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกเหลืองในฤดูกาลและนอกฤดูกาล สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดระโงกแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ เห็ดระโงกเหลือง เห็ดระโงกขาว และเห็ดระโงกแดงส้ม ชื่อของเห็ดบ่งบอกถึงสีของเห็ดที่ปรากฏ เห็ดระโงกเหลืองมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมากอย่างชัดเจนกว่าเห็ดชนิดอื่นตามข้อมูลทางโภชนาการ เห็ดระโงกนิยมเพาะเลี้ยงมากทางภาคอีสานของประเทศ วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกคือ นำเห็ดระโงกที่แก่ผสมน้ำแล้วไปรดลงที่รากของต้นกล้าไม้วงศ์ยาง ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 เดือน แล้วจึงปลูกต้นกล้าลงดิน ปีที่ 3 เห็ดจะเริ่มออก ปีที่ 5-6

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันนี้ (31 มีนาคม 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการเสวนาพิเศษหัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน (แต่ละท่านมีเวลา 20 นาที) คือ 1. คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พูดถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  2. คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นยุทธศาสตร์ของภาคเอกชนคือการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  3. คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงกลยุทธ์เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยกตัวอย่างบริษัทน้ำตาลมิตรผลซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไม่ใช่ใช้แรงงานคนอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน ทำให้ในอนาคตอาจแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้  4. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงนวัตกรรมขับเคลื่อน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวอักษร Helvetica เป็นที่นิยมไปทั่วโลกได้อย่างไร

Mike Parker ผู้ช่วยทำให้ตัวอักษร Helvetica เป็นที่นิยมเสียชีวิตแล้ว (เสียชีวิตวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2014 (เกิดในปี 1929 อายุรวม 85 ปี))  ไม่มีนักออกแบบกราฟิกคนไหนไม่คุ้นเคยกับตัวอักษร Helvetica (เริ่มนำมาใช้ในปี 1957 ตอนนั้นเรียกตัวอักษรแบบนี้ว่า Neue Haas Grotesk) นอกจากนี้ตัวอักษร Helvetica ยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่ผู้ที่ไม่ได้ทำงานออกแบบด้วย แม้แต่ Steve Job ยังนำตัวอักษร Helvetica ใส่ในระบบปฏิบัติการของ Apple นักออกแบบชาวสวิส Emil Ruder (มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1914 ถึง 1970) และ Armin Hofmann (เกิดในปี 1920) เป็นอาจารย์สอนที่ Basel School of Design การสอนของพวกเขาทำให้เกิดงานการออกแบบสไตล์สวิสระหว่างปี 1950 ถึง 1969 – (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แนวโน้มของ ebook

Published on January 28, 2014 by in e-Book

ความต้องการของผู้บริโภค ebook ยังเป็นที่ยอมรับในทุกตลาด รวมทั้งห้องสมุดด้วย ห้องสมุดชุมชน 9 แห่ง จาก 10 แห่ง พบว่า ผู้ใช้บริการมีความต้องการ ebook มากขึ้น และด้วยงบประมาณที่ได้มาในห้องสมุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย บรรณารักษ์จัด ebook ไว้ในลำดับรายการที่เป็นที่ต้องการ (ในปี 2556 ห้องสมุด เพิ่มการได้มาซึ่ง ebook เป็น 39% จาก 19% ในปี 2554) นอกจากนี้การศึกษา The Library Resource Guide ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ProQuest และผลิตโดย Unisphere Research (ส่วนหนึ่งของบริษัท Information Today) ได้สอบถามและรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการ ผู้บริหารห้องสมุด รวมถึงบรรณารักษ์ของห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดอุดมศึกษา และห้องสมุดเฉพาะ จำนวน 796 คน พบว่า สิ่งหนึ่งที่ได้รับการตอบกลับคือ ความต้องการที่มากที่สุดของห้องสมุด คือ การส่ง

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments