วันนี้มีบทความน่าสนใจมาแนะนำซึ่งเป็นการเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสืบค้นและการใช้สารสนเทศระหว่างสภาพแวดล้อมที่คงที่และเคลื่อนที่ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือผ่าน Wi-Fi hotspots and 3G networks เพื่อสืบค้นและเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ อ่านบทความฉบับเต็มที่ Walsh, Andrew. (2012). “Mobile information literacy: a preliminary outline of information behaviour in a mobile environment”. Journal of Information Literacy [Online]. 6 (2), 56-69. http://ojs.lboro.ac.uk/ojs/index.php/JIL/article/view/PRA-V6-I2-2012-4/1698– ( 133 Views)
Top 10 หนังสือขายดีประจำปี 2012 ใน Amazon.com
Amazon.com สรุปหนังสือที่มียอดขายสูงสุด ประจำปี 2012 “Fifty Shades Freed: Book Three of the Fifty Shades Trilogy” โดย E. L. James “Gone Girl: A Novel” โดย Gillian Flynn “Fifty Shades Trilogy: Fifty Shades of Grey, Fifty Shades Darker, Fifty Shades Freed 3-volume Boxed Set” โดย E. L. James “Bared to You: A Crossfire Novel” โดย Sylvia Day “No
บริการหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ ให้บริการออนไลน์ฟรี
มากกว่า 1 ล้านหน้าของหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ถูกดิจิไทซ์และให้บริการออนไลน์ฟรี The State and University Library Lausanne (BCU Lausanne) ได้ดำเนินโครงการแปลง (Digitize) หนังสือพิมพ์หายากของสวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้บริการออนไลน์ฟรี โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงที่ http://scriptorium.bcu-lausanne.ch เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ หรือ ส่งผ่านทางอีเมล ตัวอย่างคอลเลคชั่นที่สำคัญ เช่น “Feuille d’Avis de Lausanne” and “24 heures” ซึ่งถูกตีพิมพ์ระหว่างปี 1762-2001 ทั้งนี้โครงการเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ the Swiss National Library and Edipresse (Tamedia) Archives of Canton of Vaud และ the Archive of the City of Lausanne ที่มาข้อมูล: Price, G.
Wikimedia Commons ทะลุเป้าเปิดบริการ 15 ล้านไฟล์ ฟรี
4 ธันวาคม 2555 Wikimedia Commons คลังที่รวบรวมสื่อออนไลน์ ทะลุเป้าการรวบรวมและให้บริการ 15 ล้าน ไฟล์มีเดีย นับจากการบรรลุเป้าหมายของการรวบรวม 10 ล้าน ไฟล์มีเดีย เมื่อ 15 เมษายน 2555 (599 วัน) เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานั้นมีแหล่งรวบรวมและให้บริการสื่อออนไลน์จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงและดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการ ดังนั้นชุมชน Wikimedia Commons จึงเกิดขึ้น ด้วยความพยายามที่จะเพิ่มโอกาสของการเข้าถึงสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะสื่อเพื่อประกอบการเรียนการสอนแก่สาธารณะ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่มาข้อมูล: Price, G. (2012). “Milestones: Wikimedia Commons Hits 15 Million Media Files, All Free”. infoDocket [Online]. http://www.infodocket.com/2012/12/10/milestones-wikimedia-commons-hits-15-million-media-files-all-free [Accessed 11 December 2012].– ( 107 Views)
ผลสำรวจเผย UK ปิดห้องสมุดมากกว่า 200 แห่ง ในปี 2012
จากรายงานของ The Chartered Institute of Public Finance and Accountancy (CIPFA) เผยจำนวนห้องสมุดในสหราชอาณาจักรที่ถูกปิดตัวลงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จาก 146 แห่ง ระหว่างปี 2010-2011 เป็น 201 แห่ง ระหว่างปี 2011-2012 (เพิ่มขึ้น 55 แห่ง) โดยในปี 2012 สหราชอาณาจักรมีห้องสมุดประมาณ 4,265 แห่ง ลดลงจาก 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งมี 4,612 แห่ง และมีแนวโน้มของการปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการลดลงของงบประมาณในการบริหารจัดการ ผลจากการปิดตัวลงของห้องสมุดส่งผลกระทบต่อการลดลงของจำนวนบรรณารักษ์ จาก 4.3% ในปี 2011 เป็น 8% ในปี 2012 นอกจากนี้การเข้าใช้บริการห้องสมุดทั่วสหราชอาณาจักรก็มีจำนวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จาก 2.4% สู่ 6.7% อีกทั้งวัยรุ่นยังมีอัตราการยืมหนังสือนวนิยายและมิใช่นวนิยายลดลง 5.4%
IEEE Computer Society เปิดตัว “TETC”วารสาร Open-Access
IEEE Computer Society เปิดตัววารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นใหม่ๆ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ วารสาร IEEE Transactions on Emerging Topics in Computing (TETC) คือ วารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ของ IEEE Computer Society ซึ่งเน้นเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งยังไม่เคยมีการตีพิมพ์ในวารสารของ IEEE ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ TETC จะเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกประมาณเดือนกรกฎาคม 2013 วารสาร TETC เป็นหนึ่งในวารสารที่เป็น Open-Access ของ IEEE ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียกร้องของชุมชนวิชาการในการเข้าถึงและใช้งานบทความวิชาการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับสาธารณะ โดยวารสารที่เป็น Open-Access นั้น ผู้อ่านไม่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึงและดาวน์โหลดบทความที่ตนต้องการ แต่ผู้เขียนบทความจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความของตนเองแทน โดยหนึ่งบทความมีราคาประมาณ $1,350 หรือ 4,1850 บาท ที่มาข้อมูล:
Top 3 กิจกรรม ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ
ห้องสมุด MIT เผยผลสำรวจกิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ โดย 3 อันดับแรก คือ ต้องการขอใช้หนังสือหรือบทความ 64.7% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 13% ต้องการต่ออายุการยืมหนังสือ 64.4% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 14.5% ต้องการสืบค้นหนังสือและวารสาร 59.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 17.5% กิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ คือ ต้องการฟังหรือดูการบรรยายย้อนหลัง 54.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 15.6% ต้องการอธิบายเอกสารหรือหนังสือ 51.8% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 10.1% ต้องการอ่านบทความวิชาการ 44.4% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 24.7% ต้องการจดหรือบันทึก 44.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 17% โดยปัจจุบันกิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ทำบนระบบออนไลน์มากที่สุด คือ การอ่าน e-book 29.5% ผลสำรวจดังกล่าวอาจช่วยสะท้อนถึงความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงความท้าทายของผู้ให้บริการคือห้องสมุดในการตอบสนองความต้องการดังกล่าวของผู้ใช้ ที่มาข้อมูล: Price, G. (2012). Survey Findings: Library
ผลสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตหนังสือของประเทศในสหภาพยุโรปปี 2011
FEP เผยตัวเลขการสำรวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตหนังสือของประเทศในสหภาพยุโรป ตลอดปี 2011 พบลดลง 22.8 ล้านยูโร หรือ 916.6 ล้านบาท โดยประเทศที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในแง่ของมูลค่าการซื้อขายหนังสือของสำนักพิมพ์ คือ เยอรมัน The Federation of European Publishers เผยผลการสำรวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตหนังสือของประเทศในสหภาพยุโรปและเขตเศรษฐกิจของยุโรป ตลอดปี 2011 พบว่ายอดการขายหนังสือสือลดลงจาก 23.5 ล้านยูโร หรือ 944.7 ล้านบาท ในปี 2010 เหลือ 22.8 ล้านยูโร หรือ 916.6 ล้านบาท ในปี 2010 โดยประเทศที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในแง่ของมูลค่าการซื้อขายหนังสือของสำนักพิมพ์ คือ เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ตามลำดับ ในปี 2011 มีการจัดพิมพ์หนังสือชื่อเรื่องใหม่ประมาณ 530,000 ชื่อเรื่อง โดยอังกฤษมียอดการพิมพ์หนังสือชื่อเรื่องใหม่มากที่สุด ประมาณ 149,000 ชื่อเรื่อง นอกจากนี้สำนักพิมพ์ในสหภาพยุโรปมีหนังสือชื่อเรื่องแตกต่างกันรวม
ห้องเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการค้นคืนสารสนเทศสำหรับเด็กประถมฯ
Google แนะนำ Search Education hub แหล่งรวบรวมบทเรียนและกิจกรรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนทักษะการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลวิชาการสำหรับเด็กๆ ชั้นประถมศึกษา โดยบทเรียนต่างๆ ที่นำเสนอนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานที่สำคัญทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกา คือ American Association of School Librarians (AASL) The International Society for Technology in Education (ISTE) National Educational Technology Standards for Students (NETS-S) The Common Core State Standards ในเว็บไซต์แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หมวดหลัก คือ Lesson Plans & Activities ดาว์นโหลดแผนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการค้นสารสนเทศของเด็กนักเรียน Power Searching เพิ่มพูนทักษะการค้นหาสารสนเทศและเรียนรู้เทคนิคการสืบค้นขั้นสูงด้วยบทเรียนและกิจกรรมออนไลน์ A Google a Day Challenges วัดระดับความสามารถในการค้นหาสารสนเทศด้วยแบบทดสอบหลากหลาย Live
ห้องสมุดประชาชนประเทศญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟู
จากรายงานของกระทรวงศึกษาธิการของประเทศญี่ปุ่นพบว่า ในปีงบประมาณ 2010 มีจำนวนหนังสือที่ถูกยืมออกจากห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศ 3,274 แห่ง โดยเด็กนักเรียนชั้นประถม ประมาณ 26 ต่อเด็กต่อคน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2007 อยู่ที่ 18.8 ต่อเด็กต่อคน ที่สำคัญตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนับว่าสูงที่สุดจากทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จำนวนรวมของหนังสือที่ถูกยืมออกจากห้องสมุดโดยผู้ใช้บริการทั้งหมดเพิ่มสูงสุดถึง 663.6 ล้านเล่ม ทั่วประเทศ หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิทางฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ห้องสมุดในหลายพื้นที่ของประเทศถูกทำลาย บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร และผู้อ่าน ต่างทำงานอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ ยังคงสามารถเข้าถึงหนังสือที่ต้องการ เพื่อให้การอ่านของพวกเขายังคงดำเนินต่อไปตามปกติแม้ในช่วงของโศกนาฏกรรม ห้องสมุดสมควรส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบใหม่ๆ ของการอ่าน เช่น การให้บริการ e-books พร้อมกับการให้บริการด้านอื่นๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ หนังสือจะต้องถูกนำเสนอต่อวัยรุ่น เพื่อรองรับความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของพวกเขา ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนนิสัยการอ่านให้คงอยู่ต่อไป ที่มาข้อมูล : Price, G. (2012). “Japan: “public libraries are thriving””. LJ