หลายหน่วยงานให้ความสนใจการจัดทำ/เผยแพร่หนังสือ สิ่งพิมพ์ในรูปแบบ eBook โดยคำถามที่ได้รับมากคำถามหนึ่งคือ ควรทำอย่างไร คำตอบที่ชัดเจนคงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ขอเสนอประเด็นพิจารณา ดังนี้ 1) ทราบกลุ่มเป้าหมายก่อน ใครคือผู้อ่าน .. นักวิชาการ นักการศึกษา กลุ่มเฉพาะ บุคคลทั่วไป เด็ก เยาวชน (ระดับใด อายุเท่าไร) เครื่องมือในการเข้าถึง … คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค Smart Phone หรือ eBook Reader หรือ Table PC 2) รู้จักสื่อของตนเอง ความยาวของเนื้อหา ความยาก ง่ายของเนื้อหา ความหลากหลายของสื่อในตัวเล่ม … ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว … ฟอร์แมตต้นฉบับของสื่อ … ตัวเล่ม, DTP, Microsoft Word ลิขสิทธิ์ 3) รู้เทคนิคที่ควรดำเนินการ ฟอร์แมตของ eBook ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
U. of Michigan แปลงจดหมายโบราณของ St. Paul พร้อมให้บริการบน iPad/iPhone
จดหมายโบราณหายากของ St. Paul ได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเปิดให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นแบบโต้ตอบ (Interactive app) บน iPad และ iPhone – ( 122 Views)
Cambridge Digital Library: digital library for the world
กว่าปีที่ผ่านมาหนังสือและเอกสารต้นฉบับหายากกว่าแสนรายการที่ The University of Cambridge รับผิดชอบดูแล อยู่ระหว่างการถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้บริการที่ the Cambridge Digital Library ด้วยความตั้งใจของทีมงานกว่า 30 คน พร้อมด้วยกล้องและสแกนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหาภายในหนังสือและเอกสารหายากเหล่านี้ Grant Young, Director of the Cambridge Digital Library project กล่าวว่าโครงการ Cambridge Digital Library นี้เปรียบเหมือนการเปิดห้องสมุดแบบเดิมๆ สู่โลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเปิดช่องทางเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินที่มีค่าของมหาวิทยาลัยที่มักหลบซ่อนอยู่ให้กับคนทั่วโลก ซึ่งห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Cambridge นี้ นับเป็นหนึ่งในห้องสมุดเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ใหญ่ที่สุด มีคอลเลคชั่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและใช้งานจากผู้ใช้ห้องสมุด Cambridge Digital Library ถูกเริ่มหลังจากได้รับเงินบริจาค ประมาณ 1.5 ล้านปอนด์จากมูลนิธิการกุศล Polonsky ปัจจุบันหนังสือและเอกสารหายากประมาณ 3,700 รายการ หรือ 35,000 หน้า ได้เปิดให้บริการในรูปแบบดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตฟรี
บริการหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ ให้บริการออนไลน์ฟรี
มากกว่า 1 ล้านหน้าของหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ถูกดิจิไทซ์และให้บริการออนไลน์ฟรี The State and University Library Lausanne (BCU Lausanne) ได้ดำเนินโครงการแปลง (Digitize) หนังสือพิมพ์หายากของสวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้บริการออนไลน์ฟรี โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงที่ http://scriptorium.bcu-lausanne.ch เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ หรือ ส่งผ่านทางอีเมล ตัวอย่างคอลเลคชั่นที่สำคัญ เช่น “Feuille d’Avis de Lausanne” and “24 heures” ซึ่งถูกตีพิมพ์ระหว่างปี 1762-2001 ทั้งนี้โครงการเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ the Swiss National Library and Edipresse (Tamedia) Archives of Canton of Vaud และ the Archive of the City of Lausanne ที่มาข้อมูล: Price, G.