กฤตภาค นับว่าเป็นวัสดุสารนิเทศของห้องสมุดอย่างหนึ่ง เป็นการนำข้อความหรือบทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์และวารสารฉบับล่วงเวลา โดยผู้ที่ต้องการจะเก็บบันทึกบทความ ข้อความที่น่าสนใจ บทบรรณาธิการ จดหมายถึงบรรณาธิการ ภาพถ่าย การ์ตูน รวมถึงเรื่องราวที่ยังไม่มีการรวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ฯลฯ มักรวบรวมเก็บเข้าแฟ้มไว้เป็นคอลเล็กชัน โดยจะมีการจัดเก็บด้วยหัวเรื่อง หรือวิธีการจำแนกอื่น เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้าและอ้างอิง นอกจากนี้ยังสามารถเป็นประโยชน์ในการจัดนิทรรศการ หรือรวบรวมเพื่อให้ทราบแนวโน้มความสนใจของประชาชนในเรื่องและช่วงเวลาต่างๆ ได้อีกด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 67 Views)
Non-fiction book
หนังสือสารคดี (Non-fiction book) คือ หนังสือที่แต่งขึ้นจากเรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ ไม่ได้เจาะจงให้ความเพลิดเพลิน ถึงแม้ว่าเนื้อหาในหนังสือบางเล่มจะให้ทั้งสาระความรู้ ความเพลิดเพลินและความจรรโลงใจในการอ่านด้วยก็ตาม ซึ่งครอบคลุมวิชาการสาขาต่างๆ เช่น หนังสือเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล การรักษาสุขภาพอนามัย ศาสนา ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ชีวประวัติ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 75 Views)
Gale เปิดตัว The National Geographic Virtual Library
Gale หนึ่งในบริษัทผู้นำด้าน Information solutions สำหรับห้องสมุด โรงเรียน และธุรกิจ ร่วมกับ The National Geographic Society องค์กรทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ที่มิหวังผลกำไรของสหรัฐอเมริกา เจ้าของนิตยสารชื่อดังอย่าง The National Geographic เปิดตัว ห้องสมุดเสมือน National Geographic เมื่อต้นปี 2012 Gale ประกาศว่า ห้องสมุดสามารถสืบค้นและเข้าถึง นิตยสาร National Geographic ฉบับย้อนหลัง ระหว่างปี 1888-1994 นอกจากนี้ยังได้มีการขยายปีที่พิมพ์ของนิตยสารเพื่อให้บริการเพิ่มจากปี 1995 เป็นต้นไป รวมถึงคอลเลคชั่นอื่นๆ คือ หนังสือ แผนที่ ภาพ และ National Geographic Traveler magazine ตั้งแต่ปี 2010 ถึงปัจจุบัน โดยตัวอย่างของหัวข้อที่น่าสนใจซึ่งเผยแพร่ เช่น Polar Obsession โดย Paul
คลังสิ่งพิมพ์ของชาติ
ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดว่า สำนักพิมพ์หรือผู้พิมพ์ สิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งหนังสือหรือสิ่งพิมพ์จำนวน ๒ ฉบับ ให้หอสมุดแห่งชาติภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเผยแพร่ เพื่อนำไปให้บริการค้นคว้าในหอสมุดแห่งชาติ ๑ ฉบับ และอีกฉบับเก็บเข้าสู่คลังสิ่งพิมพ์แห่งชาติ เพื่อเ็ป็นหลักฐานการพิมพ์ของชาติ รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลกรณีเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์– ( 92 Views)
การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีขั้นตอน ดังนี้ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ยื่นขอจดแจ้งการพิมพ์ที่หอสมุดแห่งชาติ ส่วนจังหวัดนอกจากนี้ ยื่่นขอจดแจ้งที่สำนักศิลปากรที่ 1-15 ที่มีเขตอำนาจในจังหวัดนั้น ผู้ยื่นคำขอจดแจ้งการพิมพ์จะต้องกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ซึ่งต้องระบุชื่อ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาการออก ภาษา ชื่อและที่ตั้งของโรงพิมพ์ ยื่นแบบฟอร์ม พร้อมเอกสารต่างๆ ที่กำหนด เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญของสำนักพิมพ์ ฯลฯ สิ่งสำคัญคือ ตัวอย่างหนังสือ พร้อมลายมือชื่อรับรอง เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ถูกต้องครบถ้วน เช้น ชื่อหนังสือไม่ซ้ำกับหนังสือพิมพ์ที่เคยจดแจ้งไว้ก่อนหน้า คุณสมบัติของบรรณาธิการ และเจ้าของกิจการเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ฯลฯ ผู้ยื่นจดแจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดแจ้งตามอัตราที่กำหนด ผู้ยื่นจดแจ้งจะได้รับหนังสือสคัญแสดงการจดแจ้งเป็นหลักฐาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการ
พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่ต่างกันของชาวอเมริกัน
The Pew Research Center’s Internet & American Life Project เผยผลสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่แตกต่างกัน (ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง และชุมชนชนบท) ของชาวอเมริกัน โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวอเมริกันจำนวน 2,986 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ระหว่างวันที 16 พ.ย. -21 ธ.ค. 2554 – ( 134 Views)
บทบาทใหม่ของการบริการข้อมูลวิจัย (Research Data) และแผนการจัดการข้อมูล (Data Management Plan)
มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The US National Science Founsation : NSF) ได้มีข้อเสนอกำหนดให้ผู้ขอทุนวิจัยต้องเสนอแผนการจัดการข้อมูล (Data Management Plan : DMP) ซึ่งถือว่าแผนการจัดการจัดข้อมูลเป็นความรับผิดชอบของผู้ขอทุนวิจัย อ่านรายละัเอียดเพิ่มเติม– ( 115 Views)
Top 3 กิจกรรม ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ
ห้องสมุด MIT เผยผลสำรวจกิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ โดย 3 อันดับแรก คือ ต้องการขอใช้หนังสือหรือบทความ 64.7% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 13% ต้องการต่ออายุการยืมหนังสือ 64.4% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 14.5% ต้องการสืบค้นหนังสือและวารสาร 59.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 17.5% กิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ คือ ต้องการฟังหรือดูการบรรยายย้อนหลัง 54.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 15.6% ต้องการอธิบายเอกสารหรือหนังสือ 51.8% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 10.1% ต้องการอ่านบทความวิชาการ 44.4% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 24.7% ต้องการจดหรือบันทึก 44.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 17% โดยปัจจุบันกิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ทำบนระบบออนไลน์มากที่สุด คือ การอ่าน e-book 29.5% ผลสำรวจดังกล่าวอาจช่วยสะท้อนถึงความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงความท้าทายของผู้ให้บริการคือห้องสมุดในการตอบสนองความต้องการดังกล่าวของผู้ใช้ ที่มาข้อมูล: Price, G. (2012). Survey Findings: Library