จมูกมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้กลิ่นหลายประการ จึงเกิดแนวคิดในการจำลองระบบการรับกลิ่นเพื่อเลียนแบบจมูกมนุษย์ ด้วยการสร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nose) ขึ้นมา และปัจจุบันได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้หลายด้าน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ การเสื่อมสภาพของอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร การปนเปื้อนหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต ด้านสิ่งแวดล้อมใช้ตรวจสอบคุณภาพอากาศ และแจ้งเตือนก๊าซมลพิษที่มีการเจือปนในอากาศ เป็นต้น “ทีมนักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบกลิ่นแบบพกพา ด้วยเทคนิคการคำนวณแบบใหม่ ช่วยลดผลกระทบจากความชื้นและอุณหภูมิ ลดความซับซ้อนส่วนประกอบของเครื่อง และเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ผล” – ( 245 Views)

ที่นี่ กม. 4.5: สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2555 เวลาประมาณ 18.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดระบบลำเลียงแสงที่ 5 มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา ระบบลำเลียงแสงที่ 5 มทส. นาโนเทค-สซ. (BL5: SUT-NANOTEC-SLRI Beamline) เกิดจากความร่วมมือแบบไตรภาคีของ 3 องค์กร คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน องค์การมหาชน (สซ.) ซึ่งเป็นสถานีทดลองด้านเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy, XAS) เทคนิคดังกล่าวสามารถวิเคราะห์สถานะทางเคมีและโครงสร้างอะตอมโดยรอบของธาตุ ที่สนใจศึกษาได้หลายชนิด ตั้งแต่ธาตุที่มีเลขอะตอมมากกว่าธาตุแมกนีเซียมขึ้นไป โดยที่ไม่ทำลายสารตัวอย่างและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในงานวิจัยด้านต่างๆ เช่น ด้านฟิสิกส์ เคมีวัสดุศาสตร์ ชีววิทยา สิ่งแวดล้อม และโบราณคดี ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถวิเคราะห์สารตัวอย่างได้ทั้งสภาวะของแข็ง ของเหลวก๊าซ รายการอ้างอิง : ที่นี่

3สถาบันหนุนการใช้แสงซินโครตรอน ผุดสถานีทดลองเพิ่มเสริมวิจัย นาโน
สถาบันแสงซินโครตรอน จับมือ ม.สุรนารีและนาโนเทค สร้างสถานีทดลองแสงซินโครตรอนเพิ่ม เน้นเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ รองรับงานวิจัยโดยเฉพาะด้านนาโนเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สถาบันฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการจัดตั้งและดำเนินการสถานีร่วมวิจัยเพื่อการใช้แสง ซินโครตรอน กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ซึ่งเป็นการสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมแบบไตรภาคี โดยมีความร่วมมือด้านงานวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัย การร่วมใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ การพัฒนาและแลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมกัน – ( 153 Views)

นาโนสร้างมูลค่าเปลือกไข่
เปลือกไข่ไม่ใช่ขยะ แต่เป็นวัสดุมีค่าเมื่อเปลี่ยนคุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีให้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ความสนใจทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นที่มาของความสำเร็จในการศึกษาวิจัยเปลือกไข่ เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตไบโอดีเซลของ ดร.นาวิน วิริยะเอี่ยมพิกุล – ( 605 Views)