magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "CERN"
formats

การเปิดฟรีให้เข้าอ่านบทความวิจัยสาขาฟิสิกส์

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 9  มกราคม  2014 ในเดือนมกราคมนี้ องค์กร CERN เป็นผู้นำในการเปิด บทความวิจัยาขาฟิสิกส์  ( particle-physics research articles) ให้ผู้อ่านเข้าอ่านได้ฟรี  โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ The Sponsoring Consortium for Open Access Publishing in Particle Physics (SCOAP3) เป็นผู้สนับสนุน โครงการนี้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ราบรื่นก่อนหน้านี้ด้วยมีวารสารชั้นนำในสาขานี้และมหาวิทยาลัยไม่เข้าร่วมในช่วงแรก อ้างอิง : Open Access. (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 505 (7482), 136-137 . Available at : http://www.nature.com/polopoly_fs/1.14471!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/505136a.pdf– ( 19 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริด คอมพิวเตอร์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริด คอมพิวเตอร์ ระหว่างจุฬาฯ สวทช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (CERN) ณ วังสระปทุม รายการอ้างอิง : 2556. พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริด คอมพิวเตอร์. ข่าวสด (กรอบบ่าย-ข่าวข้นคนเข้ม). ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม.– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับองค์การวิจัย นิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) พร้อมด้วยผู้บริหาร สวทช. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แถลงข่าวการลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ ของเซิร์น ณ อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ รายการอ้างอิง : 2556. การลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์. กรุงเทพธุรกิจ (ถนนรอบเมือง ). ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

องค์การเซิร์นตั้งไทยศูนย์สำรองข้อมูล

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปหรือเซิร์น ลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ (Worldwide LHC Computing Grid : WLCG) โดยให้ไทยเป็นศูนย์สำรองข้อมูลเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน นับเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยมีส่วนร่วมในการวิจัยขั้นสูง โดยใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ที่ลงทุนสูง เช่น เครื่องเร่งอนุภาค (LHC)ของเซิร์น– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตั้งไทยเป็นศูนย์สำรองเครือข่ายวิจัยเซิร์นแห่งแรกในอาเซียน

3 หน่วยงานหลัก จับมือ เซิร์น ใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ จัดตั้งศูนย์สำรองเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกเป็นแห่งแรกในอาเซียน ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช. ) และรองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดเผยว่า สวทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือเซิร์น (CERN) ลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ โดยร่วมดำเนินการศูนย์ระดับ  2 ซึ่งประเทศไทยถือเป็นศูนย์แรกในภูมิภาคอาเซียน ที่ทำหน้าที่สำรองข้อมูล เพื่อใช้งานในภูมิภาค– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.ร่วมมือ’เซิร์น’ยกระดับนักวิจัยไทย

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือเซิร์น (CERN) ลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ (Worldwide LHC Computing Grid: WLCG) โดยร่วมดำเนินการศูนย์ระดับ 2 ซึ่งประเทศไทยเป็นศูนย์แรกในภูมิภาคอาเซียน ที่ทำหน้าที่สำรองข้อมูล เพื่อใช้งานในภูมิภาค ศ.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สวทช. และรองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน ราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับเซิร์น เป็นการเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยมีส่วนร่วมในการวิจัยขั้นสูง โดยใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ที่ลงทุนสูง เช่น เครื่องเร่งอนุภาค (LHC) ของเซิร์น– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments