จากการเข้าร่วมฟังการบรรยายเรื่อง Scival Research Management Forum จัดโดยสำนักพิมพ์ Elsevier B.V. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรม Four Points by Sheraton, Bangkok ที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์การใช้แพลทฟอร์มการวิเคราะห์ Bibliometrics ของ Elsevier ที่ชื่อ SciVal ซึ่งการใช้งานต้องบอกรับเป็นสมาชิก SciVal เป็นแพลทฟอร์มที่ออกแบบเพื่อ Assessment Research Performance โดยเฉพาะ รวมทั้งเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน ในงานสัมมนาดังกล่าว หน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการใช้ SciVal รวม 3 แห่ง คือ Putra Malaysia University (UMP) มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอข้อมูล ซึ่งโดยภาพรวมมีการนำเสนอรายงานแสดงถึงสมรรถนะ ความสามารถ ในการใช้แพลทฟอร์ม SciVal ในการวิเคราะห์ผลงานวิจัยของหน่วยงานตนเอง มีการเปรียบเทียบ (Benchmark) จัดอันดับ
การบริหารจัดการการวิจัย และ SciVal
การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น การจำกัดการเพิ่มขึ้นของงบประมาณจากภาครัฐ ความจำเป็นของการเพิ่มหรือขยายขีดความสามารถเพื่อดึงดูดเงินทุนสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัยและวิชาการ คือ ความท้าทายที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย (โดยเฉพาะของภาครัฐ) ส่วนใหญ่กำลังเผชิญ โดยกิจกรรมสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว คือ การปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการการวิจัยที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสถานะ จุดอ่อนและจุดแข็งของความสามารถจากผลงานวิจัยและวิชาการ ทั้งในระดับรายบุคคล ทีม/ฝ่าย/คณะ และหน่วยงานใหญ่ รวมถึงหน่วยงานคู่แข่งและพันธมิตร – ( 154 Views)
Collection Analysis (ตอนที่ 3)
ที่ผ่านมาห้องสมุดมักจะวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือประเมินทรัพยากร สารสนเทศ เพียงมุมมองในด้านการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยหลักสถิติเบื้องต้น เช่น การวิเคราะห์การหาผลรวม ค่าเฉลี่ย การหาจำนวนการจัดหาหนังสือในแต่ละหมวดแต่ละสาขา หรือของจำนวนการยืมและคืนหนังสือ อ่านต่อได้ที่นี่– ( 54 Views)
Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด
ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 100 Views)