magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "NASA"
formats

พบดาวเคราะห์ใหม่ขนาดใกล้โลกอีกสามดวง

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จ่อเข้าไปอีก! พบดาวเคราะห์ใหม่ขนาดใกล้โลกอีกสามดวง กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซ่าได้ค้นพบระบบดวงเคราะห์ใหม่อีกสองระบบแล้ว มีดาวเคราะห์ถึง 3 ดวงที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมาก และยังอยู่ในระยะที่ห่างจากดาวแม่ที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวอาจจะเหมาะสมต่อการมีน้ำอยู่ด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446645– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบทรายบนดาวอังคารคล้ายทราย “หมู่เกาะฮาวาย”

หลังจากที่นาซ่าได้ส่งยานสำรวจที่ชื่อ “คิวริออซิตี” ขึ้นไปสำรวจดาวอังคาร และได้เปิดเผยภาพการสำรวจสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของดาวอังคารออกมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่น่าสนใจในหลายประเด็น และล่าสุดการทำงานของยานสำรวจดาวอังคาร คิวริออสซิตี้ ได้ผลคืบหน้าต่อเนื่อง จากที่ก่อนหน้านี้สามารถส่งภาพพื้นดินที่ชัดเจนของดาวกลับมาถึงโลก ล่าสุดได้วิเคราะห์สภาพดินบนพื้นผิว และพบว่าดินที่พบบนดาวอังคารที่ไกลโพ้นมีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายกับหินบะซอลต์บริเวณภูเขาไฟเคียงในรัฐฮาวายของสหรัฐ – ( 305 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้หรือไม่ว่า…ดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ

จากการศึกษาที่ชี้ว่าดาวอังคาร (อาจจะ) ไม่มีสภาพที่ชุ่มน้ำ หรืออบอุ่น แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยก็เชื่อว่าเมื่อนานมาแล้วดาวแดงเคยมีสภาพบรรยากาศที่หนาแน่นพอที่จะทำให้มีน้ำในรูปของเหลวอยู่บนพื้นผิวได้ และหากเป็นเช่นนั้นดาวอังคารก็น่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ของจุลินทรีย์ หากแต่ด้วยเหตุผลบางประการดาวอังคารได้สูญเสียบรรยากาศส่วนใหญ่ไปในอวกาศ ทำให้บรรยากาศที่บางเบาไม่สามารถรักษาน้ำไว้ที่พื้นผิวดาวเคราะห์ได้ สภาพปัจจุบันของดาวเพื่อนบ้านดวงนี้จึงมีลักษณะที่ทั้งแห้งแล้งและหนาวเหน็บ ยูนิเวอร์สทูเดย์ ได้ระบุไว้ว่า นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่แน่ใจว่าการสูญเสียบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเกิดขึ้นอย่างไรหรือเหตุใดจึงเกิดขึ้น แต่หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่จะอธิบายเรื่องนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า “สปัตเตอริง” (sputtering) ซึ่งในกระบวนการนี้อะตอมจะถูกกระแทกออกจากชั้นบรรยากาศเนื่องจากการพุ่งชน ของอนุภาคที่มีพลังงานสูง เหตุเพราะดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง บรรยากาศของดาวเคราะห์จึงถูกลมสุริยะกร่อนไปเรื่อยๆ ดังแสดงในคลิปจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) – ( 167 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments