Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) ปัจจุบันเรื่องคุณภาพ Open Access กำลังเป็นที่น่าสนใจในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับการตีพิมพ์บทความวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Jeffrey Beall บรรณารักษ์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมรายชื่อสำนักพิมพ์และรายชื่อวารสารที่เข้าข่ายลักษณะจอมปลอม หลอกลวง (Predatory) ที่เรียกว่า Beall’s List of Scholarly Open Access Publishers ไว้ ว่าผู้แต่งบทความควรจะเสนอตีพิมพ์บทความวิจัยภายในสำนักพิมพ์หรือวารสารดังกล่าวหรือไม่ Elsevier สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลก และเป็นเจ้าของฐานข้อมูล ScienceDirect มีวารสารที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ตนเอง จำนวน 2,500 รายชื่อ ได้เกาะติดกระแส Open Access โดยจัดบริการ Open Access ไว้ 3 เรื่อง คือ Open Access Journal, Open Access Articles และ
ควรลงพิมพ์ หรือเป็นบรรณาธิการ ในวารสารที่เป็น Open Access หรือไม่
จากการประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ประจำปี 2556 ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน นั้น รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ วิทยากรท่านหนึ่ง ได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อเรื่อง ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access (สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถติดตามได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/4134-predatory-publishers.html) ได้กรุณาส่งบทความเรื่อง Should I publish in, or be an editor for, an Open Access (OA) journal?: a brief guide (http://scitech.sla.org/pr-committee/oaguide/) มาให้เพิ่มเติมค่ะ เลยขอส่งต่อให้แฟนพันธุ์แท้ของ STKS และผู้ที่เข้าร่วมงานอ่านกันนะคะ ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านบทสรุปการบรรยายหัวข้อต่างๆ ของการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556 ได้ที่ http://stks.or.th/blog และติดตามสื่อนำสนอ (ที่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่) ได้ที่ http://stks.or.th/th/news/3686-annual-conference-2013.html– ( 83 Views)