magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

พริกสีม่วง…สีสวย รวยคุณค่าอาหาร

ที่บ้านซื้อพริกสีม่วงมาปลูก (ทางอีสานเขาเรียกว่า “บักพริกแหล่”) …ต้นหนึ่งรูปทรงคล้ายพริกขี้หนู เขาเรียกกันว่าพริกขี้หนูสีม่วง อีกต้นคล้ายพริกหยวกแต่เป็นสีม่วง เขาเรียกพริกประดับ มีคนถามว่ามันกินได้มั้ย

ที่บ้านซื้อพริกสีม่วงมาปลูก (ทางอีสานเขาเรียกว่า “บักพริกแหล่”) …ต้นหนึ่งรูปทรงคล้ายพริกขี้หนู เขาเรียกกันว่าพริกขี้หนูสีม่วง อีกต้นคล้ายพริกหยวกแต่เป็นสีม่วง เขาเรียกพริกประดับ มีคนถามว่ามันกินได้มั้ย เอ้อ… ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะซื้อมาประดับ เลยสืบค้นดูจากอินเทอร์เน็ตว่ามันมีคุณสมบัติ

คุณประโยชน์อะไรบ้าง ได้ความว่า…

กินได้ และรสชาติก็เผ็ดเช่นกัน แต่คนไทยยังคุ้นเคยกับพริกสีเขียว ๆ แดง ๆ เลยทำให้สีม่วงไม่เป็นที่นิยมสำหรับการนำมารับประทาน …คราวต่อไปหากจะซื้อส้มตำ หากนำพริกสีม่วงไปให้แม่ค้าตำให้ สีออกมาคงแปลกและน่ารับประทาน

สำหรับพริกขี้หนูสีม่วง เป็นพืชอยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีลักษณะทางพฤกษ ศาสตร์เหมือนกับพริกขี้หนูทั่วไป ผลพริกรูปกลมยาว ปลายเรียวแหลมเหมือนพริกขี้หนูทั่วไป แต่จะมีขนาดใหญ่เท่ากับพริกกะเหรี่ยง สีผลเป็นสีม่วงเข้ม ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก รสชาติเผ็ดเหมือนกับพริกขี้หนูทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำชุ่ม Read more…– ( 157 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสร้างรหัสผ่านที่ดี : ข้อแนะนำสำหรับบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด

Jessamyn West แนะนำการสร้างรหัสผ่านที่ดีให้แก่บรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด จากบทความ How to Use Better and Stronger Passwords for Yourself and Your Patrons ซึ่งตีพิมพ์ใน Computers in Libraries ปีที่ 24 ฉบับ 2 เดือนมีนาคม 2014 หน้า 19-21 หรือติดตามอ่านได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/mar14/West–How-to-Use-Better-and-Stronger-Passwords-for-Yourself-and-Your-Patrons.shtml

ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการของ MetaFilten.com ได้เขียนบทความนี้ เพื่อนำเสนอแนวทางสร้างรหัสผ่านให้กับบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด ครอบคลุมในเรื่องความสำคัญของความปลอดภัยของรหัสผ่านในการป้องกันการรุกล้ำจากบุคคลอื่นและการกระทำอันเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เคล็ดลับสำหรับการสร้างรหัสผ่านที่ดี

 – ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องฟอกอากาศ D.I.Y.

สำนักข่าวไทย นำเสนอสารคดี

จีน 22 เม.ย.2014   – มลภาวะทางอากาศนับเป็นปัญหาสำคัญของคนในเมืองใหญ่อย่างนครเซี่ยงไฮ้ของจีน โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถหาซื้อเครื่องฟอกอากาศราคาแพงมาใช้  จึงมีคนหาวิธีประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศราคาถูกขึ้นมาใช้งาน วิธีการเป็นอย่างไร ติดตามใน “สารคดีโลก” วันนี้

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=53560e0abe0470853c8b4585#.U1cpx1f9Hcs– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค้นพบสารประกอบเกลือแกงชนิดใหม่

นักเคมี Artem Oganov ของมหาวิทยาลัย Stony Brook University รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองในสภาวะที่มีอุณหภูมิและความดันสูง แล้วพบว่า เกิดสารประกอบชนิดใหม่ โดย Oganov กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักเคมี ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากทฤษฎี ซึ่งโดยปกติแล้วอะตอมโซเดียมและคลอไรด์จับกันแบบ 1 ต่อ 1 (NaCl) ซึ่งมีพันธะภายในจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ในขณะที่ในสภาวะสุดขีด (Extreme condition) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดัน สามารถเปลี่ยนปฏิกิริยาและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม เช่น ความดันสูงจะสามารถเปลี่ยนพันธะไอออนนิคในสารจำพวกเกลือที่ยอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น หรือพันธะโลหะ ซึ่งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนย้ายโดยรอบอย่างอิสระ ส่งผลให้อะตอมโซเดียมและคลอไรด์สามารถจับกันได้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3, 3 ต่อ 2 และ 1 ต่อ 7 เช่น สารประกอบโซเดียมไตรคลอไรด์ (NaCl3) ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า ถึงอย่างไรก็ตามการค้นพบสารประกอบใหม่นี้ยังไม่มีความเสถียร ถ้าหากมีการปรับสภาวะ เช่น ลดความดัน ลดอุณหภูมิ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคดิสเล็กเซียกับความด้อยในการเชื่อมโยงของสมอง

โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) หรือโรคความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่าน จากการศึกษาของ Bart Boets และคณะจาก Katholieke Universiteit Leuven ประเทศเบลเยี่ยม ได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองโดยคลื่นไฟฟ้า (Functional magnetic resonance imaging) คณะนักวิจัยได้เปรียบเทียบรูปแบบการทำงานของสมองปกติกับรูปแบบการทำงานของสมองที่มีความบกพร่องในการอ่าน หลังจากทดสอบการฟัง พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีสมองในส่วนกระบวนการพูดมีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ผู้ที่มีความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่านยังคงมีความสามารถในการจำแนกเสียงได้เหมือนคนปกติ ในขณะที่ความผิดปกติเกิดจากการส่งสัญญาณไปยังประสาทส่วนอื่น และนักประสาทวิทยา Daniel Brandeis ของมหาวิทยาลัย Zurich ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงของสมองในการอธิบายความสามารถในการอ่านและการพูด นอกจากนี้ Franck Ramus จาก Ecole Normale Superieure ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้แรกที่เสนอว่าผู้ที่มีความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่านเกิดจากความด้อยในการเชื่อมโยงของสมอง ในปี 2551

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคลำไส้อักเสบรักษาด้วยยา Thalidomide

ในปี 2551 Marzia Lazzerini และคณะนักวิจัยจาก Institute for Maternal and Child Health เมือง Trieste ประเทศอิตาลี ได้ทำการศึกษาในเด็กวัยรุ่นที่ป่วยด้วยอาการโรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease) โดยให้รับประทานยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide และยาที่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา (ยาหลอก) หลังจากนั้น 8 สัปดาห์ เด็กที่รับประทานยาหลอกส่วนใหญ่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ส่วนเด็กส่วนใหญ่ที่รับประทานยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide มีอาการดีขึ้น และเด็กบางส่วนยังคงมีอาการของโรค ในเด็กบางส่วนที่มีการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ เพื่อลดอาการบวมของลำไส้ ส่งผลให้การศึกษาล้มเหลวไม่สามารถรักษาและวัดผลได้ คณะนักวิจัยทำการทดลองในผู้ป่วยได้ขยายเวลาในการใช้ยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide พบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้ก่อให้เกิดผลดีและยังไม่พบว่ามีผลข้างเคียงในการใช้ยาประเภทนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบจุดหนาวเย็นที่สุดในโลกที่ใหม่ที่ขั้วโลกใต้

จากการรายงานของ Ted Scambos จาก National Snow and Ice Data Center (NSIDC) รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ทางด้านทิศตะวันออกของขั้วโลกใต้เป็นเทือกเขาสูงมีอุณหภูมิต่ำถึง -93.2 องศาเซลเซียส ซึ่งทำลายสถิติเดิมที่ได้มีการจดบันทึกอุณหภูมิต่ำสุดในปี 2526 ที่ -89.2 องศาเซลเซียส บริเวณ Vostok ขั้วโลกใต้ จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) กล่าวว่า การวัดอุณหภูมินี้สูงจากพื้นผิวเพียง 2 เมตร คณะนักวิจัยใช้สัญญาณดาวเทียมในการศึกษาอุณหภูมิบนพื้นผิวน้ำแข็งจากปี 2525 ถึงปี 2556  และได้รวบรวมข้อมูลจากเครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermo sensor) จากระบบสัญญาณดาวเทียม NASA’s Landsat 8 ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงในเชิงพื้นที่ ส่งผลให้นักวิจัยสามารถระบุสภาวะอากาศและอุณหภูมิได้ว่า จุดที่อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเทือกเขาที่มีความสูง 4,000 เมตร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีหามวลดาวเคราะห์แบบใหม่

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะนักวิจัยได้พูดถึงการศึกษาเรื่องมวลของดาวเคราะห์ โดยศึกษาจากขนาดของดาวเคราะห์ และองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเรียกวิธีการนี้สั้นๆ ว่า MassSpec วิธีการนี้สามารถใช้ศึกษาดาวเคราะห์บางดวง และสามารถใช้วิเคราะห์ความหนาของชั้นบรรยากาศที่ปกคลุม โดยคำนวณมวลของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 189733b ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวหมาจิ้งจอก (Constellation Vulpecula) อยู่ห่างจากโลก 63 ปีแสง พบว่ามีกลุ่มก๊าซร้อนขนาดใหญ่ เพราะว่าดาวเคราะห์นอกระบบนี้มีขนาดใหญ่ การวิเคราะห์มวลจึงใช้วิธีวัดอัตราความเร็วแนวเล็ง หรือความเร็วในแนวรัศมี นอกจากนี้คณะนักวิจัยยังคงทำการศึกษามวล และประเมินความเป็นไปได้ในการดำรงชีวิตของสิ่งชีวิตบนดาวเคราะห์ต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 19 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกอาคารสำนักงาน

คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ รายงานว่า แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสงสามารนำมาใช้กับหน้าต่าง ซึ่งแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์นี้ควรมีความสามารถสูงในการดูดกลืนแสงและสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้แสงยังคงทะลุผ่านได้ โดยคณะนักวิจัยได้ผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์จากแร่เพอรอฟสไกด์ (Perrovskites) โดยที่เป็นแร่ธาตุที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากท่ามกลางนักวิจัยพลังงงานแสงอาทิตย์ เพราะว่าแร่ชนิดนี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับวัสดุอนินทรีย์กึ่งตัวนำและมีประสิทธิภาพสูงในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า การศึกษาขั้นต่อไปของคณะนักวิจัยคือ การศึกษาเสถียรภาพของวัสดุที่ผลิตจากแร่เพอรอฟสไกด์ ระยะเวลาในการใช้ ถ้าหากแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกหยุดผลิตพลังงานไฟฟ้า สีและความโปร่งแสงควรมีประสิทธิภาพในการใช้งานต่อไปได้เป็นอย่างน้อย 10 ปี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยรั้งอันดับ28ภัยโลกคุกคามบนอินเทอร์เน็ต

ไทยรั้งอยู่ในอันดับที่ 28ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตพบพฤติกรรมแฮกเกอร์จ้องเล่นงานเหยื่อรายใหญ่

หลังจากที่แอบซ่อนตัวมาตลอดช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 ท้ายที่สุดอาชญากรไซเบอร์ก็ได้ปล่อยชุดการโจมตีที่สร้างความเสียหายมากที่ สุดในประวัติศาสตร์ของอาชญากรรมไซเบอร์

รายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (Internet Security Threat Report – ISTR) ของบริษัท ไซแมนเทค (Symantec) (Nasdaq: SYMC) ฉบับที่ 19 แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านพฤติกรรมของอาชญากรไซเบอร์ ซึ่งเผยให้เห็นว่าปฏิบัติการของคนร้ายใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่จะดำเนินการ โจรกรรมข้อมูลครั้งใหญ่ แทนที่จะดำเนินการโจมตีอย่างฉับไวเพื่อผลประโยชน์แต่สร้างผลตอบแทนได้น้อย กว่า Read more…

– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments