magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pensiri (Page 3)
formats

“รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส”กับไอทีควอนตัม (4)

เมื่อ“หลักความไม่แน่นอน” (Uncertainty Principle) เอามาใช้ในงานไอทีได้…แน่นอน การจะทำความเข้าใจเรื่องใหม่ๆ ที่ว่ายากหลายกรณีก็ต้องหาตัวช่วยเพื่อให้เกิด“ศรัทธา”ก่อน มิฉะนั้นกว่าจะเข้าใจได้ก็ยากเย็นแสนนาน หากใจไม่เอาก็หมดความพยายามจบลงอย่างง่ายดาย ศรัทธาในที่นี้หมายถึงแรงกระตุ้นให้อยากรู้อยากพิสูจน์ให้เกิดความเข้าใจกับเรื่องควอนตัมที่ว่ายากนั้นให้รู้สึกง่ายลงอีกมากๆหน่อย เนื่องจากประโยคแรกที่เกริ่นมาดูน่าแปลกใจ วกวน เหมือนวาทกรรมเล่นกับคำ“ความไม่แน่นอน”แบบนี้ หากไม่มีศรัทธาก็ชวนให้เลิกสนใจกันไปแล้วแน่ อย่างนั้นมาเริ่มกันใหม่ว่า “หลักความไม่แน่นอน”คือ ชื่อกลศาสตร์ควอนตัมมุมหนึ่งค้นพบโดย แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (Werner Heisenberg) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวเยอรมนีผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ในวัยหนุ่มมากเพียง26ปี กับอายุที่คนส่วนใหญ่เพิ่งจะเรียนจบปริญญาตรีมาได้ไม่นาน และรับรางวัลโนเบลเมื่ออายุย่าง 32 ปีเท่านั้น แสดงถึงอัฉริยะภาพของหนุ่มผู้นี้ที่คิดค้นหลายเรื่องรวมถึง“หลักความไม่แน่นอน”ที่ชวนหัวนั้นและภายหลังได้ถูกนำมาใช้กับวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (quantum cryptography) สร้างมูลค่ามหาศาลอยู่ในปัจจุบันด้วย แสดงว่าหลักการนามแปลกๆที่ว่ามานี้ต้องมีอะไรดีแน่นอน – ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยไทยเจ๋งพัฒนาสารต้านมาลาเรียชนิดใหม่ของโลก

วันนี้(21 เมษายน  2557 )ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ถนนโยธี  ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  ผู้อำนวยการสวทช.และศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์นักวิจัยอาวุโสสวทช. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมแถลงข่าวความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการพัฒนาสารต้านมาลาเรียชนิดใหม่ของโลก  โดยดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่าองค์การอนามัยโลก หรือWHO  ได้กำหนดให้วันที่ 25 เมษายน ของทุกปีเป็นวันมาลาเรียโลก หรือ World Malaria Day  สวทช. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคมาลาเรีย ซึ่งในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า200 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตมากกว่า 600,000 รายต่อปี สำหรับประเทศไทยจากรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2556ที่ผ่านมามีผู้ป่วยมากกว่า 25,000 รายประกอบกับเริ่มมีรายงานการเกิดเชื้อมาลาเรียดื้อยาในแถบชายแดนไทย-กัมพูชา สร้างความตื่นตัวให้แก่นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียทั่วโลกเป็นอย่างมาก– ( 70 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“Uber”แอพเรียกแท๊กซี่ลีมูซีน

Uber แอพพลิเคชั่นสำหรับเรียกรถแท็กซี่“ลีมูซีน” ที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยจากสหรัฐอเมริกาที่มีเครือข่ายรถเช่าในหลากหลายเมืองทั่วโลกเริ่มจากการดาวน์โหลดตัวแอพลิเคชั่น Uber ลงโทรศัพท์แล้วลงทะเบียน ซึ่งการใช้งานแอพตัวนี้นั้นจะต้องมีการ Add บัตรเครดิต/เดบิตเพื่อใช้ในการหักค่าบริการในการใช้บริการเพราะค่าใช้จ่ายจะถูกหักผ่านบัตรเครดิต/เดบิต ที่ Add เข้าระบบ สร้างความสะดวกและปลอดภัย ให้กับผู้ใช้บริการ ส่วนวิธีการใช้งานนั้นก็เหมือนกับแอพเรียกรถแท็กซี่ทั่วๆไป คือ ระบุพิกัดที่จะไป กดเรียกรถ ราคาสูงกว่า Taxi ปกติ 1.5-2 เท่า โดยผู้ใช้บริการจะสามารถเรียกใช้บริการรถมารับได้ภายใน 10 นาทีในระยะแรกจะเป็น UBER Black เจาะกลุ่มพรีเมี่ยมในอนาคตขยายฐานลูกค้าด้วยการนำเสนอ UBER X ที่ราคาถูกกว่าออกมาเสริมเพื่อเป็นอีกทางหนึ่ง รายการอ้างอิง : 2557. “Uber”แอพเรียกแท๊กซี่ลีมูซีน. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). ค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557. จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20140411/574599/Uberแอพเรียกแท๊กซี่ลีมูซีน.html.  – ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีใหม่จอภาพลอยได้

มหาวิทยาลัยโตเกียวคิดค้นจอภาพแบบอินเตอร์แอคทีฟลอยอยู่กลางอากาศ ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีจอภาพลอยได้ เพิ่มความสมจริงให้กับผู้เล่นเกมส์ การนำเสนอผ่านจอภาพในสถานการณ์ต่างๆ จอภาพแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่ลอยอยู่กลางอากาศได้ ส่วนแสงที่เห็นอยู่เกิดจากจอภาพแอลอีดีที่ซ่อนอยู่ และสะท้อนออกมายังพื้นผิวด้านหน้าผ่านทางกระจกแบบด้านเดียว ทำให้เกิดภาพขึ้นในพื้นที่ว่าง วิธีการที่ผู้ร่วมพัฒนาอย่าง “มาซาโตชิ อิชิกาวะ” ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้ร่วมพัฒนาผลงานชิ้นนี้บอกว่า เป็นการก้าวหน้าเข้าสู่ยุคใหม่ ของเทคโนโลยีจอภาพลอยได้ อิชิกาวะ อธิบายว่า ความแตกต่างมากที่สุดอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีใหม่นี้ คือ จอภาพมีมุมมองเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะได้มีการเพิ่มการรับรู้ท่าทางขึ้นมา และเป็นการรับรู้ในระดับที่รวดเร็วอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่ง – ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุฬาฯ เล็งผลิตผงส้มโอลดการดูดซึมไขมัน

Published on April 21, 2014 by in Uncategorized

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เผยผลวิจัย สารสกัดจากส้มโอลดการดูดซึมไขมันเตรียมต่อยอดเป็นผงส้มโอสกัดลงในอาหารที่มีไขมันสูงเพื่อตอบโจทย์ผู้ป่วยเบาหวานและไขมันสูง รศ.ดร.สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความแตกต่างของสายพันธุ์ในการต้านออกซิเดชั่นและความสามารถต้านไขมันสูงของเนื้อส้มโอในประเทศไทย เปิดเผยถึงงานวิจัยดังกล่าวว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการศึกษาถึงประโยชน์ของพืชผลไม้เศรษฐกิจของไทย เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลเป็นเอกสารอ้างอิงในการส่งเสริมการขายสู่ตลาดโลก เนื่องจากส้มโอ เป็นผลไม้ที่มีให้รับประทานทุกฤดู โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนจะมีส้มโอออกมาขายจำนวนมาก แต่ในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีคนศึกษาเรื่องส้มโอมากนัก ซึ่งนอกจากสารอาหารต่างๆ แล้ว ส้มโอยังมีสารพฤกษเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ สารกลุ่มโพลีฟีนอล และกลุ่มฟลาโวนอยด์ แต่ก็มีสิ่งที่ต้องระวังคือน้ำตาล จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยที่มีไขมันสูง– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยุคหุ่นยนต์กำลังจะกลับมา

ดร.อดิสร ฉายภาพความน่าจะเป็นของเทคโนโลยีในอนาคต วิเคราะห์จากความเคลื่อนไหวของ Google ที่กว้านซื้อบริษัทเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ รวดเดียวถึง 8 บริษัทภายในเวลาเพียงชั่วสัปดาห์เดียว Robotics หรือ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ คงไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่อะไรในยุคนี้ เด็กๆ สมัยนี้เกิดมาก็เจอหุ่นยนต์รอบๆ ตัวมากกว่ายุคก่อน ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ที่สามารถเดินและวิ่งได้เหมือนมนุษย์อย่าง Asimo ของฮอนด้า หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารของ NASA อย่าง Mar Rover แม้กระทั่งหุ่นยนต์เป็นของเล่นของเด็กยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ที่สร้างด้วย LEGO Mindstorm ที่สามารถประกอบขึ้นเองและโปรแกรมให้มันทำงานต่างๆ แต่ทำไมผมถึงจั่วหัวว่า ยุคหุ่นยนต์กำลังจะกลับมา มันจะกลับมาเป็น talk of the world ไม่ใช่แค่ talk of the town อีกครั้งหนึ่ง เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นข่าวดังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการบริษัทเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ รวดเดียวถึง 8 บริษัทภายในเวลาเพียงชั่วสัปดาห์เดียว โดย Google – ( 174

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฮอนด้าเปิดตัวหุ่นยนต์ อาซิโม รุ่นใหม่

Published on April 18, 2014 by in Uncategorized

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ว่าบริษัทฮอนด้า มอเตอร์ จากญี่ปุ่น เผยโฉมหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ “อาซิโม” รุ่นล่าสุด ในงานแสดงสินค้าที่เขตแมนฮัตตัน ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ ซึ่งฮอนด้ายืนยันว่า หุ่นยนต์รุ่นใหม่สามารถเคลื่อนไหวด้วยท่วงท่าที่คล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่า หุุ่นยนต์อาซิโมรุ่นก่อน ไม่ว่าจะเป็นการจับมือทักทาย โค้งคำนับ เดิน วิ่ง กระโดด หยิบจับสิ่งของ เต้น และเตะฟุตบอลได้อย่างคล่องแคล่ว หุ่นยนต์อาซิโมรุ่นล่าสุดยังมีรูปลักษณ์ภายนอกไม่ต่างจากหุ่นยนต์รุ่น ก่อน คือมีสีขาวและสวมหมวกนิรภัยที่มีกระจกสีดำ ตัวหุ่นเมื่อยืนเต็มที่มีความสูง 1.3 เมตร  หนัก 50 กิโลกรัม และสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้ ทีมงานของฮอนด้าหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ให้เป็นผู้ช่วยสำหรับ ผู้พิการและผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้นี้ รายการอ้างอิง : (2557). ฮอนด้าเปิดตัวหุ่นยนต์ อาซิโม รุ่นใหม่. เดลินิวส์ (ไอที), ค้นเมื่อวันที 18 เมษายน 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/foreign/230962/ฮอนด้าเปิดตัวหุ่นยนต์+_อาซิโม_+รุ่นใหม่.– ( 35

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘นาซ่า’เชื่อ พบการเกิดของดวงจันทร์ที่วงแหวนดาวเสาร์

นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าเชื่อว่า พวกเขาอาจเป็นพยานพบเห็นการกำเนิดของดวงจันทร์ดวงใหม่ในวงแหวนของดาวเสาร์ โดยมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายจากยานอวกาศที่โคจรรอบดาวเสาร์… สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ว่า นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าเปิดเผยว่าพวกเขาอาจเป็นพยานพบเห็นการกำเนิดของดวงจันทร์ดวงใหม่ในวงแหวนของดาวเสาร์ โดยพวกเขาตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการให้มันว่า ‘เพกกี้’ และมันจะกลายเป็นดวงจันทร์บริวารดวงที่ 63 ของดาวเคราะห์ลำดับที่ 6 ของระบบสุริยะจักรวาล หากเรื่องนี้ได้รับการยืนยัน – ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฝึกภาษาด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านแอพ

ด้วยเทรนด์ยุคดิจิตอลปัจจุบัน นักพัฒนามีการคิดค้นแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ขึ้นมาตอบสนองให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนยุคไอทีในการฝึกภาษาให้รวดเร็วทันใจมาก ขึ้น และยิ่งประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 นี้ ภาษาในการใช้สื่อสารถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่ประชาชนชาวไทยจะต้องปรับตัว โดยเฉพาะเด็กซึ่งกำลังจะเติบโตในโลกยุคอาเซียน เเละยุคดิจิตอลในเวลาเดียวกัน อ.อรภัค สุวรรณภักดี นักวิชาการอิสระ นักเขียนหนังสือทำตลาดบนเฟซบุ๊กฉบับประยุกต์แอพพลิเคชั่น เล่าว่า การที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน สิ่งสำคัญที่จะทำให้อุปสรรคทุกอย่างลุล่วงด้วยดีคือการปฏิสัมพันธ์ติดต่อ สื่อสาร ปัจจุบัน เด็กไทยนอกจากจะต้องเรียนภาษาอังกฤษที่ถือเป็นภาษากลางของทุกชาติแล้ว ผู้ปกครองส่วนมากมักต้องการให้เด็ก ๆ เหล่านี้เข้าใจ อ่านออก เขียนได้ในภาษาจีนด้วย  เเละนอกจากนี้เเล้วยังมีภาษาอาเซียนอีกหลายภาษาที่อาจจะจำเป็นที่จะใช้ ติดต่อสื่อสารต่อไป – ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัดพระแก้วครองที่ 1 คนนิยมไปทำบุญสงกรานต์

วันนี้ (15 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ทอปเท็นไทยแลนด์ (http://www.toptenthailand.com ) ได้จัดอับดับ 10 วัดดังที่คนนิยมไปทำบุญในวันสงกรานต์ ตามลำดับดังนี้ อันดับ 1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) โดยมีคติความเชื่อว่า จะทำให้ “แก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมา” และเป็นวัดที่มีผู้นิยมในการไปกราบไหว้บูชา “พระแก้วมรกต” กันเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่วนอันดับ 2.วัดอรุณราชวราราม, 3. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, 4.วัดสุทัศเทพวราราม, 5.วัดสระเกศ, 6.วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร, 7.วัดกัลยาณมิตร, 8.วัดระฆังโฆสิตาราม, 9.วัดบวรนิเวศวิหาร และ 10.วัดชนะสงคราม รายการอ้างอิง : (2557). วัดพระแก้วครองที่ 1 คนนิยมไปทำบุญสงกรานต์. เดลินิวส์ (ไอที), ค้นเมื่อวันที 17 เมษายน 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/IT/230527/วัดพระแก้วครองที่+1+คนนิยมไปทำบุญสงกรานต์.– ( 16 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments