อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของกลุ่มบริษัท ไอ.ที.ซี.ในชื่อ “คูลลิ่ง แบต” (Cooling Batt Building) โดดเด่นด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมสีแดงจัดจ้าน ภายในอาคารยังมีพื้นที่กักเก็บและใช้งานก๊าซโลกร้อนอย่างคาร์บอนไดออกไซด์อย่างคุ้มค่า ภายใต้ระบบปิดที่มิดชิด นอกจากจะสกัดก๊าซโลกร้อนออกสู่ชั้นบรรยากาศแล้ว ยังตอบโจทย์สังคมในเรื่องการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์โลก ความพิเศษของคูลลิ่ง แบต แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเปลี่ยนผู้ร้ายอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพระเอกในระบบทำความเย็น ส่วนที่สองคือ ชุดระบายความร้อนที่ใช้หลักธรรมชาติของลมบกลมทะเล สำหรับระบายความร้อนของระบบทำความเย็นโดยไม่ใช้พัดลม สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 20% อาคารหนึ่งเดียวในโลก อภิชัย ล้ำเลิศพงศ์พนา กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ไอ.ที.ซี.จำกัด กล่าวถึงความเป็นมาของ คลูลิ่ง แบต ว่า บริษัทมีแนวคิดที่จะสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ พร้อมทั้งกำหนดโจทย์ไว้ว่าอาคารนี้ต้องตอบโจทย์สังคมในเรื่องการอนุรักษ์โลกและต้องมีลักษณะเชื่อมโยงกับธุรกิจของไอ.ที.ซี. ซึ่งเป็นธุรกิจทำความเย็นถนอมอาหาร– ( 127 Views)
นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพน้ำ
การประปานครหลวง (กปน.) จับมือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านการประปา จัดงานแถลงข่าวโครงการประกวดนวัตกรรมการประปานครหลวง 2557 ในหัวข้อ “นวัตกรรมประปาเพื่อประชาชน” ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 3 แสนบาท ณ สำนักงานใหญ่ กปน. นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการ กปน. กล่าวว่า กปน.ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนากิจการประปาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสนองความต้องการใช้น้ำของประชาชนได้มาโดยตลอด ซึ่งการจัดประกวดครั้งนี้ถือเป็นการจุดประกายและเปิดโอกาสให้เยาวชนรวมถึงประชาชนทั่วไปในทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่น เกิดเป็นนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหา พัฒนากระบวนการสร้างมูลค่างานด้านประปาให้สังคมไทย โดยในปีนี้ได้กำหนดหัวข้อ “นวัตกรรมประปาเพื่อประชาชน” สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป และหัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อการลดน้ำสูญเสียและบริหารจัดการแรงดันน้ำ” สำหรับบุคลากรภายใน ผู้สนใจสามารถส่งผลงานนวัตกรรมรูปแบบสร้างกระบวนการ เทคโนโลยี หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนากิจการประปาได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ และจะประกาศผลผู้ชนะเลิศการประกวดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดการประกวดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://rd.mwa.co.th – ( 131 Views)
นักวิทย์พบแร่หายาก”ริงวูไดท์”มีน้ำประกอบ
วันนี้(14มี.ค.57)นักวิทยาศาสตร์รายงานในวารสาร “เนเจอร์” เมื่อวันพุธว่า ได้ค้นพบแร่หายากชนิดหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่า น่าจะมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวโลกลึกลงไป 400-600 กม. และเป็นไปได้ว่าจะปริมาณน้ำมหาศาลเท่ากับมหาสมุทรบนโลกรวมกัน ไม่ต่างจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “เจอร์นีย์ทูเดอะเซ็นเตอร์ออฟดิเอิร์ธ” ที่จูนส์ เวิร์น เขียน หลักฐานดังกล่าวมาจากการพบแร่ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเรียกว่าริงวูไดท์ ซึ่งอยู่ในเขตที่มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลกระหว่างผิวโลกชั้นบนและชั้นล่าง จากการวิเคราะห์หินที่ขุดเจอนั้นพบว่ามีโมเลกุลของน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 1.5% ซึ่งตรงกับทฤษฎีที่ว่าเขตที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะมีปริมาณน้ำอยู่มาก แกรห์ม เพียร์สัน จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาของแคนาดา ผู้นำการสำรวจครั้งนี้กล่าวว่า “ตัวอย่างหินที่เราพบเป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างหนักแน่นว่า ในบริเวณดังกล่าวมีส่วนที่เปื้ยกชื้น เขตที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลกอาจจะมีแหล่งน้ำในปริมาณเท่ากับมหาสมุทรทั่วโลกรวมกัน” – ( 42 Views)
ช้างแยกแยะอันตรายจากเสียงของมนุษย์ได้
วันนี้(13มี.ค.57)ผลการศึกษาของนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยซัสเส็กซ์ และศูนย์ดูแลช้างแอมโบเซลี ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาตอบสนองของช้างในเคนยา เมื่อได้ยินเสียงมนุษย์จากหลากหลายเผ่า พันธุ์ แล้วดูว่ามันมีปฏิกิริยาตอบอย่างไร พบว่า ช้างสามารถแยกแยะเสียงของ มนุษย์ได้ว่า คนคนนั้นเป็นภัยคุกคามต่อมันหรือไม่ โดยแยกแยะน้ำเสียงได้ทั้ง อายุ เพศ และเชื้อชาติ อย่างเช่นเมื่อเปิดเสียงของชนเผ่ามาไซ ชนเผ่า แอฟริกันตะวันออก ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ล่าช้างมานานหลายศตวรรษให้ช้างได้ ฟัง ปรากฏว่าพวกมันมีปฏิกิริยาที่ตื่นกลัวและพยายามรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้อง พื้นที่ของตัวเอง ในขณะที่เปิดเสียงของชนเผ่าอื่นๆ ให้ฟัง ช้างกลับไม่ รู้สึกตื่นกลัวเหมือนกับเสียงของชาวมาไซ อย่างไรก็ตาม ช้างยังสามารถแยกแยะได้มากกว่านั้น เช่นเสียงของชนเผ่ามาไซที่ เป็นผู้หญิง หรือเด็กผู้ชาย มันจะรู้สึกได้ถึงภัยคุกคามที่น้อยลง เมื่อ เทียบกับเสียงของผู้ชายมาไซทั้ง นี้ ผลการวิจัยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พิสูจน์ได้ว่า ช้างสามารถแยกแยะ เสียงที่ต่างกันของมนุษย์ได้ และทำให้เชื่อว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่มีสามารถ หลบหลีกนักล่าได้อาจจะมีการพัฒนาทักษะในการฟังเช่นเดียวกัน รายการอ้างอิง : ช้างแยกแยะอันตรายจากเสียงของมนุษย์ได้. (2557). TNN24 (วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี). วันที่ 16 มีนาคม 2557. จาก http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=24980&t=news.– ( 4 Views)
สาวๆฟังไว้..สารสกัดจาก“ผักโขม”ป้องกันโรคอ้วน
วันนี้(12มี.ค.57)ศาสตราจารย์ชาร์ลอตต์ เออร์แลนสัน-แอลเบิร์ท สัน อาจารย์ด้านโภชนาการอาหารแห่งมหาวิทยาลัย “ลุนด์” ในสวีเดน ค้นพบและ เปิดเผยว่า สารสกัดจากผักโขมสามารถช่วยป้องกันโรคอ้วนได้ โดยสารดังกล่าวมี ชื่อว่า “ไธลาคอยด์” สามารถยับยั้งฮอร์โมนหลักบางตัวที่สมองปล่อยออกมาเมื่อ เราหิว จึงทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ ศาสตราจารย์แอลเบิร์ทสัน กล่าวว่า ในตอนแรกเธอตั้งใจที่จะวิจัยหาทางที่ จะทำให้การย่อยของคนเราช้าลงและลดความหิวที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เธอเล่าให้ สามีของเธอเรื่องสารสกัดจากการวิจัยผักขมครั้งนี้ ทำให้เขาให้คำแนะนำจนเธอ วิจัยและได้ผลเป็นอย่างอื่นที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากครั้งแรกสารดังกล่าว ทำให้ระบบย่อยอาหารส่วนบนของลำไส้ไม่ทำงาน แต่คำแนะนำของสามีเธอทำให้เธอ ประสบความสำเร็จในการที่จะแค่ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงและยังคงมีส่วน ร่วมในกระบวนการย่อยเหมือนเดิม ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบสารดังกล่าวกับกลุ่มตัวอย่าง 15 คน โดยให้พวกเขา รับประทานสารสกัดดังกล่าวทุกเช้า ผลปรากฎว่าพวกเขาปฏิเสธอาหารเร็วกว่าที่ เคยอย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยได้ระบุว่า ร่างการคนเราไม่สามารถสกัดสารไธลาคอยด์ ออกมาจากผักโขมด้วยตัวเองได้ สารดังกล่าวจะต้องนำผักขมมาผ่านกระบวนการมาก มายเพื่อสกัดมันออกมา รายการอ้างอิง : สาวๆฟังไว้..สารสกัดจาก“ผักโขม”ป้องกันโรคอ้วน . (2557). TNN24 (วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี). วันที่ 16 มีนาคม 2557. จาก http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=24868&t=news.– ( 42 Views)
สวทช.ผลักดันวิทยาศาสตร์เคลื่อนศก.ไทย
วันนี้(12มี.ค.57)ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สวทช.ได้จัดประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีองค์ความรู้ และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่าย ที่มีศักยภาพให้ประเทศไทยแข็งแกร่งพร้อมพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนให้ภาคเอกชน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ พร้อมเป็นการผลักดันให้เกิดระบบการวิจัยของประเทศที่เข้มแข็งขึ้น ทั้งนี้ งาน NAC 2014 จัดขึ้นในวันที่ 31 มี.ค. – 3 เม.ย.นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ภายใต้แนวคิด วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนการพีฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นเวทีให้กับนักวิจัย เผยแพร่ข้อมูลความรู้และผลงานวิจัยถึงความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ อาทิ เทคโนโลยีเล่านิทาน 3 มิติ ระบบนำส่งเซลล์มีชีวิต ยางล้อประหยัดรถยนตร์ นอกจากนี้ ยังมีการสัมนาวิชาการ ในหัวข้อการเดินทางสู่อวกาศไทย จากวิศวกรดาวเทียมหญิงไทยคนแรกที่เดินทางสู่อวกาศ และมหกรรมรับสมัครงานกว่า 2000 อัตรา ในสาขานักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ด้านนางสาวพัชรี แขมโครต โปรดิวเซอร์ บริษัทซอฟต์บิส จำกัด 1ในบริษัทที่นำผลงานมาแสดงภายในงาน เปิดเผยถึง
สารกันบูดในคุกกี้
คุกกี้ ผลิตภัณฑ์ขนมอบทานเล่นที่หลายๆคนติดอกติดใจกับความหอม หวาน และมัน อันเกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวจากแป้งสาลี ไข่ เนย นม และน้ำตาล คุกกี้ เป็นอาหารที่เก็บไว้ไม่ได้นาน มีอายุการเก็บสั้น เพราะเป็นอาหารที่มีความชื้นค่อนข้างสูง อีกทั้งมีส่วนผสมของไข่และนม ที่เหมาะต่อการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์เป็นอย่างดี ผู้ผลิตบางรายที่ต้องการให้คุกกี้เก็บไว้ขายได้นาน จึงหันมาใช้สารกันบูดเติมลงไปในส่วนผสมชนิดที่นิยมก็อย่างเช่น กรดเบนโซอิก กรดเบนโซอิก เป็นสารกันบูดที่มีประวัติการใช้มายาวนาน มีประสิทธิภาพสูงในรูปของกรด จึงนิยมใช้ผลิตอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด เป็นต้น – ( 28 Views)
เพิ่มอาหารกากใยคู่ออกกำลังกายห่างไกลมะเร็งลำไส้
ทุกข์ของสาว ๆ มีมากมายหลายด้าน สำหรับสาว ๆ ออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานทั้งวัน การกินที่ง่าย ๆ เร็ว ๆ ในชั่วโมงที่เร่งรีบเพื่อทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาของเจ้านายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ เช้าแซนด์วิชจากร้านสะดวกซื้อ กลางวันไก่ทอดข้าวเหนียวป้าหน้าออฟฟิศ บ่ายขนมกรุบกรอบ เย็นตามด้วยพิซซ่า 1 ถาดกับเพื่อนสาวในออฟฟิศ จึงมีผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งปอด นพ.อิทธิชัย วัชรีคุปต์ แพทย์สาขาอายุรกรรมทั่วไป คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท กล่าวว่า พฤติกรรมการรับประทานฟาสต์ฟู้ดที่เรามักคิดไปว่า “สะดวก ง่าย รวดเร็ว” เป็นอาหารที่มีกากใยน้อย ไขมันสูง ยิ่งกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ พบประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคดังกล่าว, เคยมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่ ปากมดลูก, เคยมีติ่งเนื้อชนิดโพลิปส์ในลำไส้ใหญ่, เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ, สูบบุหรี่เป็นประจำ หรืออ้วน จะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่– ( 10 Views)
สวทช.เปิดระบบยื่นใบรับรองเว้นภาษีวิจัยออนไลน์
วันนี้(14 มีนาคม)ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ร่วมกับ กรมสรรพากร และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( สรอ. ) จัดงานแถลง ข่าว “เปิดตัวระบบ RDC Online” ให้บริการยื่นขอรับรองโครงการวิจัยฯ ยกเว้นภาษี 200% ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตามผลพร้อมรองรับการ เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า เนื่องจากผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความตื่นตัวของการทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น โดยข้อมูลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ในปีงบประมาณ 2554-2556) มีมูลค่า โครงการที่ได้รับการพิจารณารับรองเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากปีงบประมาณ 2552 สวทช. จึงร่วมกับ กรมสรรพากร และ สรอ. พัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่เรียกว่า “ระบบ RDC Online”
สวทช.โชว์นวัตกรรมใหม่สื่อโฆษณาบนล้อมอเตอร์ไซต์
วันนี้(12 มีนาคม)ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยรังสิต ปทุมธานี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) แถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ประจำปี 2557 หรืองานแนค 2014(NSTDA Annual Conference 2014 : NAC 2014) โดย ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า สวทช.จัด งานประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกิดจากองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่ายที่มีศักยภาพ ในการช่วยผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและพร้อมพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน สำหรับงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อน การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งนอกจากจะมีเวทีสัมมนาวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงแนวคิดในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนแล้วยังมีนิทรรศการการนำเสนอผลงานของนักวิจัยของ สวทช. จาก 4ศูนย์แห่งชาติ รวมถึงผลงานนวัตกรรมจากภาคเอกชนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการหน้าใหม่และบริษัทพื้นที่เช่าในอุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย และพันธมิตรต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะได้– ( 21 Views)