magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 8)
formats

ชีวิตก่อนและหลัง เมื่อมีโทรศัพท์มือถือใช้

ภาพการ์ตูนที่สะท้อนชีวิตที่เปลี่ยนไปเมื่อมีโทรศัพท์มือถือใช้ จากเว็บไซต์ 20px.com ค่ะ เราเป็นแบบนี้มั้ย รายการอ้างอิง: Life Before & After Cell Phones. Retrieve 29 April 2014 from http://20px.com/blog/2012/12/06/life-before-and-after-cell-phones/#.U13Eilfm6hM– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ร้านหนังสือในอนาคต

เว็บไซต์ 20px.com ทำภาพการ์ตูน ร้านหนังสือในอนาคต คุณดูแล้วมีความเห็นกันอย่างไรคะ     รายการอ้างอิง: A Future for Bookstores. Retrieve 29 April 2014 from http://20px.com/blog/2013/06/28/a-future-for-bookstores/#.U13EYVfm6hM – ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้ Email แบบผิดๆ

จากเว็บไซต์ http://www.nuttaputch.com/ ได้สรุปปัญหาต่างๆ ในการทำงานที่เกิดจากการใช้อีเมล ดังนี้ เช็คเมลบ่อยเกินไป เคลียร์เมลแบบไม่จัดลำดับ ใช้อีเมล “คุย” และ “ขอความคิดเห็น” ระบุ subject งง สับสน และไม่เคลียร์ เขียนอีเมลไม่รู้เรื่อง แนบไฟล์ใหญ่ เขียนอีเมลภาษาอังกฤษให้คนไทยด้วยกัน เขียนภาษาพูด ส่งเมลโดยยังเขียนเมลไม่เสร็จ ไม่เก็บอีเมลเข้า contact นอกจาก ปัญหา 10 ข้อแล้ว ยังมีข้อเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละข้อไว้ด้วย สนใจติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ http://www.nuttaputch.com/10-ways-of-using-email-wrongly/ รายการอ้างอิง: ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. 2557. 10 วิธีการใช้ Email แบบผิดๆ และไม่มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน จาก http://www.nuttaputch.com/10-ways-of-using-email-wrongly/– ( 169 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อิตาลีรีไซเคิลล้อรถยนต์เก่า

อิตาลี 23 เม.ย. 2014 – เมื่อวานเป็นวันคุ้มครองโลก วันนี้ขอนำตัวอย่างการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นวิธีที่ชาวอิตาลีนำล้อรถยนต์ที่ทิ้งขว้างปีละหลายล้านตันมารีไซเคิลใช้ประโยชน์ ติดตามใน  “สารคดีโลก” ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. http://www.mcot.net/site/content?id=535760c2be04700f6b8b45c9#.U1idU1f9Hcs– ( 14 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สปสช.จับมือกรมควบคุมโรคฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสังคม กทม. 23 เม.ย.-สปสช.จับมือกรมควบคุมโรค ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 ล้านโด๊สฟรี ให้ 4 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา เริ่ม 1 พ.ค.นี้ ที่ รพ.รัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันอันตรายโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ เผยปี 57 เริ่มฉีดเร็วขึ้น เหตุสถานการณ์ป่วยไข้หวัดใหญ่รุนแรง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. ร่วมกับกรมควบคุมโรค (คร.) และโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2557 ซึ่ง สปสช.ได้จัดสรรงบบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคระดับประเทศเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ ปี 2551 เพื่อเป็นค่าวัคซีนและการจัดการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในปี 2557 ใช้งบประมาณกว่า 400 ล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ฟรีในทุกสิทธิการรักษา ทั้งสิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้ 1.ทุกกลุ่มอายุที่มีโรคเรื้อรังสำคัญ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า

คุณ ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ได้แนะนำหลักการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า หรือ Valuable Content ไว้ 5 ประการ ดังนี้ มีประโยชน์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย มีคุณภาพที่ดี มีความเป็นต้นฉบับของตนเอง อ่านรายละเอียดที่คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง แนะนำได้ที่ http://www.nuttaputch.com/5-criteria-of-valuable-content/ รายการอ้างอิง: ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. 2557. หลัก 5 ข้อง่ายๆ ของ Valuable Content. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน จาก http://www.nuttaputch.com/5-criteria-of-valuable-content/ – ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Content Marketing เล่าให้คลิก พลิกแบรนด์ให้ดัง

ตอนได้รับการแนะนำให้อ่าน เรื่อง Content Marketing ตอนแรกนึกว่าเป็นภาษาอังกฤษ เพราะผู้ที่แนะนำบอกแต่ชื่อภาษาอังกฤษในส่วนแรกของชื่อเต็มๆ ของหนังสือนี้มาให้ เดินหาในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จากบูธเนชั่น ยังไม่ได้ เพราะเดินไม่ถึง  มัวแต่แวะบูธอื่นๆ จนดึก หลายบูธ เริ่มเก็บร้านแล้ว เลยต้องไปหาจากร้านหนังสือทั่วไป หลังจากงานสัปดาห์หนังสือฯ ผ่านไปแล้ว จริงๆ แล้ว หนังสือนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Content Marketing เล่าให้คลิก พลิกแบรนด์ให้ดัง เขียนโดย ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง พอเห็นชื่อหนังสือเต็มๆ อ้าว เป็นหนังสือทางการตลาดนี่นา แต่ก็น่าสนใจ เพราะโดยปรกติ เป็นคนต้องสร้างสาระ (Content) ขึ้นบล็อก และเว็บไซต์ของหน่วยงานอยู่แล้ว ความรู้ที่ได้จากหนังสือน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ ว่าแล้วก็เริ่มอ่าน อ่านแล้ว เข้าใจได้เร็ว ได้ง่าย เพราะผู้เขียนๆ ด้วยภาษาง่ายเริ่มต้นจากการปูพื้นเรื่องการทำการตลาดด้วยเนื้อหา เพราะหลายๆ คนอาจจะนึกไม่ถึง หรือไม่ได้นึกว่า เนื้อหามีความสำคัญมากอย่างไร แล้วโยงไปเรื่องอื่นๆ ได้อย่างน่าติดตาม แบบอ่านรวดเดียวจบ อ่านแล้วดูเหมือนจะมีแนวการทำคล้ายๆ กับที่คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Museum)

 ภาพจาก http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-post_9046.html ภาพจาก http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-post_9046.html พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคาร 4 ชั้น ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่จากอาคารเคมี 3 ซึ่งอยู่ระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมฉลองในวาระการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 100 ปี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล สิ่งของ จัดแสดงที่นำเสนอให้เห็นภาพรวม ของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีพัฒนาการ และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 100 ปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อรองรับนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557– ( 708 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
Comments Off  comments 
formats

USAID เปิดแล็บเพื่อการพัฒนาโลก

องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้เปิดตัวห้องแล็บเพื่อการพัฒนาโลก (U.S. Global Development Lab) ซึ่งเป็นความร่วมมือภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวนมากในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ สาธารณสุข ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ พลังงาน การศึกษา การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โดยมุ่งหวังให้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าถึงคนอย่างน้อย 200 ล้านคนภายในห้าปีข้างหน้า ภายใต้โครงการนี้ USAID จะเพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์จำนวน 65 คนจากสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของอเมริกา และเพิ่มทุนจาก 127 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2008 เป็น 161 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ เพื่อสนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นายราจีฟ ชาห์ ผู้บริหาร USAID กล่าวว่า “การจะแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาที่มีความยากและท้าทายนั้น USAID จะต้องหาวิธีการทำงานใหม่ ๆ โดยดึงเอาความสามารถที่ดีที่สุดจากเจ้าหน้าที่ของเราและองค์กรพันธมิตรรายใหม่ เพื่อทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาความยากไร้ โดยห้องแล็บนี้จะรวบรวมเอานักประดิษฐ์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการ นักลงทุน ผู้นำธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาค้นคว้า ทดลอง และขยายผลเทคโนโลยีที่คุ้มค่าและมีอนาคตในการแก้ไขปัญหาต่าง

Read More…

 
Tags:
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กรมธุรกิจพลังงานปรับเพิ่มน้ำมันปาล์มในไบโอดีเซลเป็น B7 เริ่มพ.ค.นี้

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ รร.มิราเคิลฯ 23 เม.ย. 2557 -นายสมนึก บำรุงสาลี อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า กรมธุรกิจพลังงานเตรียมเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มในไบโอดีเซลจากปัจจุบันผสมในสัดส่วนร้อยละ 3.5  เป็นร้อยละ 7 หรือ B7 เนื่องจากเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนจะมีปริมาณน้ำมันปาล์มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น  โดยมีประมาณ 300,000 ตันต่อเดือน ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มในไบโอดีเซล  เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูก เพราะสามารถดูดซับปาล์มส่วนเกินที่เหลือจากการบริโภคได้ประมาณ 80,000 ตันต่อเดือน  โดยการปรับเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มในไบโอดีเซลจะให้เวลา  ผู้ผลิตจัดหาวัตถุดิบในการผลิต 15-20 วัน และคาดว่าต้นเดือนพฤษภาคมจะสามารถผลิต B7 ออกมาจำหน่ายได้ – ( 5 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments