ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2014 ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดภัยแล้ง อย่างกว้างขวางที่ไม่มีจุดสิ้นสุดทางสายตา หน่วยงานแห่งชาติของสหรัฐด้านการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศ (NOAA) ได้รายงานในสิ่งพิมพ์ Spring Outlook Report เมื่อวันที่ 20 เดือนมีนาคม ว่า มลรัฐแคลิฟอร์เนียเกิดประสบการณ์ฤดูหนาวที่อบอุ่นที่สุด และแห้งแล้งที่สุดเป็นลำดับที่สามของที่มีการบันทึก ด้วยน้ำที่สำรองไว้หมด และอุณหภูมิตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ มีค่าเฉลี่ย 8.9 องศาซี ถือว่าเป็นองศาที่อุ่นกว่า เกือบครึ่งของข้อมูลที่บันทึกก่อนหน้านี้ในช่วงปี 1980-1981 NOAA ยังกล่าวอีกว่าแม่น้ำครึ่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา มีความเสี่ยงเล็กน้อยหรือปานกลางของการเกิดน้ำท่วมในฤดูใบไม้ผลินี้ โดยเฉพาะทางตอนใต้ของภูมิภาค Great lake จะมีความเสี่ยงมากที่สุด อ้างอิง : US drought. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 507(7493), 404-405. http://www.nature.com/news/seven-days-21-27-march-2014-1.14925– ( 6 Views)
เอลนิโน กำลังมา
ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2014 หน่วยงาน US National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) แถลงข่าว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ว่าในพื้นที่แถบตะวันออกของเส้นศูนย์สูตร ในมหาสมุทรแปซิฟิก อาจมีสภาพอากาศร้อนที่รู้จักกันว่า เอลนิโน เคลื่อนย้ายเข้ามา ในช่วงเดือนต่อไปนี้ การเกิดปรากฏการณ์นี้ จะก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อรูปแบบ สภาพภูมิอากาศของทั่วโลก และอาจเกิดบ่อยครั้งยิ่งขึ้นด้วยผลของโลกร้อนขึ้น NOAA กล่าวว่ามีโอกาสร้อยละ 50 ที่เอลนิโน จะพัฒนาขึ้นในฟดูร้อน และ ฤดูใบไม้ร่วงของแถบซีกโลกทางเหนือ แต่การพยากรณ์ที่แม่นยำจะต้องรอในอีก 2 เดือนข้างหน้า อ้างอิง : El Nino Cometh ? . (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 507(7491), 144-145.
อุณหภูมิโลก
ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2014 องค์การ US National Oceanic and Atmospheric Administration, NOAA ประกาศข่าวว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ในปี 2013 สูงขึ้นกว่า จากค่าเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20 เท่ากับ 0.62 องศาเซลเซียส ส่วนปริมาณน้ำฝนโดยทั่วไปใกล้เคียงเท่ากับค่าเฉลี่ย แต่ว่าในปี 2013 นี้เกิดสภาวะที่รุนแรงทั้งเรื่องน้ำท่วมและความแห้งแล้ง ที่ประเทศบราซิล แองโกล่า และ นามิเบีย ที่เป็นความแห้งแล้งรุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ รวมทั้งประเทศแถบแอฟริกา และยุโรป แถบเทือกเขาแอลป์ที่ประสบทั้งน้ำท่วมและฝนตกหนัก ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2014 อ้างอิง : Taking the globe’s temperature. (2014) Seven days : The News in brief. Nature.,
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2555
ขอสรุปข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประจำปี 2555 ที่ส่งผลกระทบอย่่างรุนแรง ท่านสามารถติตตามเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทางเว็บไซต์ http://technology.in.th/disaster ซึ่งจะประมวลเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในรอบปีที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง หรือส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย มิถุนายน สถาบันศึกษามหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) รายงานว่า สหรัฐฯกำลังเผชิญกับภัยแล้งกินบริเวณกว้างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1956 พื้นที่ร้อยละ 55 ของ 48 รัฐ โดยเฉพาะในแถบมิดเวสต์ประสบภัยแล้งรุนแรง อันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ พืชประเภทข้าวโพดและถั่วเหลืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก และเกิดไฟไหม้ป่าในหลายรัฐ โดยได้ขยายตัวไปในภาคตะวันตก เขตมิดเวสต์ และที่ราบทุ่งหญ้า เมื่อประเมินจากข้อมูลภาวะแห้งแล้งจากระดับอุณหภูมิและปริมาณฝนตก จึงนับว่าเป็นภัยแล้งขยายวงกว้างที่สุดในรอบ 56 ปี (ภาพจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342511304&grpid=03&catid=03) – ( 5158 Views)
Red Tide ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี
ปรากฏการณ์เรดไทด์ (red tide) หรือเรียกกันว่า ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ” แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดจากขี้ปลาวาฬแต่อย่างใด ปรากฏการณ์เรดไทด์ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจากการเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติของสาหร่ายเซลล์เดียว เช่น พันธุ์คาเรเนีย เบรวิส จึงทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไปเป็นสีเดียวกับสาหร่ายเซลล์เดียวที่ขึ้นในบริเวณนั้น เช่น สีน้ำตาล สีแดง หรือ สีเหลือง การเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเกิดเป็นวงกว้าง จากเหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ในท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ หรือ แม้กระทั่งมนุษย์ เนื่องจากสาหร่ายเหล่านี้เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็จะทำให้ออกซิเจนในน้ำทะเลนั้นลดลง และสาหร่ายเซลล์เดียวเหล่านี้ก็ได้ปล่อยสารพิษลงสู่น้ำทะเลรอบข้าง ส่งผลให้สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตาย หรืออาจจะมีสารพิษตกค้างอยู่ และหากเรารับประทานเข้าไปเราอาจจะได้รับพิษ หรือเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ ปรากฏการณ์เรดไทด์ เกิดขึ้นได้อย่างไรยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่คิดว่าอาจจะเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเล ความเค็ม และ ปริมาณสารอาหาร ก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรดไทด์ขึ้นได้ มนุษย์ก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ก็เพราะบางครั้งเผลอทิ้งขยะลงสู่ทะเลโดยไม่ตั้งใจ และเมื่อขยะมีจำนวนมากขึ้นก็จะเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ให้กับสาหร่ายเซลล์เดียว ทำให้สาหร่ายเซลล์เดียวนั้นสามารถแพร่ขยายประชากรได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นหากไม่อยากให้เกิดปรากฏการณ์เรด์ไทด์ เราต้องช่วยกันลดปัญหาขยะในท้องทะเลลง เพื่อให้สัตว์น้ำได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยตามระบบนิเวศ – ( 2507 Views)