magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน”

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน”

หากพูดถึง “ฮอร์โมน”  เวลานี้เหล่าบรรดาวัยรุ่นทั้งหลายคงนึกถึงละครซีรีย์ชื่อดังอย่าง  “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น”  ละครซีรีย์ฮอตเกาะกระแสสังคม  ผลิตโดยจีทีเอช และนาดาวบางกอก  ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์จานดาวเทียมจีเอ็มเอ็มวัน  ละครซีรีย์เรื่องนี้มีการนำเสนอเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่น โดยตีแผ่ด้านมืดของชีวิตวัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบันอย่างชัดเจน  โดยมีการนำเอาชื่อของฮอร์โมนต่าง ๆ มาใช้เปรียบเทียบและสะท้อนบุคลิกของตัวละครนั้น ๆ แต่ในความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ฮอร์โมนไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเราแค่ในเฉพาะวัยว้าวุ่นอย่างวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตและใช้ชีวิตในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งแก่เฒ่าอีกด้วย แต่หากจะกล่าวถึงประวัติการค้นพบฮอร์โมนนั้นคงเริ่มจากการทดลองของ ศาสตราจารย์ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Professor Arnold A. Berthold) นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57149– ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Kleptospider แมงมุมตัวเล็กๆ มีวิธีหาอาหารที่น่าสนใจ

หลายคนคงยังไม่รู้จัก kleptospider เจ้าแมงมุมตัวเล็กๆ ที่อาศัยเกาะกับใยของแมงมุมตัวอื่นเพื่อหากินอาหาร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง  การผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย

วิธีการรักษาคนไข้ที่แพทย์ใช้รักษานั้นมีหลากหลายวิธี  เริ่มจากการใช้สมุนไพร  ยารักษาโรค  การฉีดวัคซีนป้องกัน  หรือแม้กระทั่งใช้วิธี “การผ่าตัด”  หรือที่เรียกกันว่าการแพทย์ด้าน “ศัลยศาสตร์”   ซึ่งเป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือการผ่าตัดเข้าในร่างกายของผู้ป่วย  เพื่อค้นหาอาการหรือรักษาความผิดปกติของโรคหรืออาการบาดเจ็บ

การผ่าตัด  นับเป็นวิธีการที่แพทย์ใช้รักษาคนไข้ซึ่งมีวิวัฒนาการมายาวนาน   รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว  มนุษย์รู้จักการผ่าตัดมานานกว่า 6500 ปีแล้ว  โดยมีการค้นพบหลักฐานการใช้เครื่องมือโบราณเพื่อเจาะกระโหลกศีรษะทั้งสองข้างให้เป็นรู  เรียกวิธีการนี้ว่า ทรีแพนนิ่ง (Trepanning)   ซึ่งเชื่อว่าสามารถรักษาโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก ปวดศีรษะ ไมเกรน  และโรคทางจิตเวชได้  โดยมีการขุดพบโครงกระดูกโบราณที่มีการเจาะกระโหลก ทั้งในยุโรป เอเชีย และชาวอินเดียนแดง  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57358– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แมงมุมใยทองลายจุดจับคู่ผสมพันธุ์กันอย่างไร

หลายคนอาจสงสัยแมงมุมมีการจับคู่ผสมพันธุ์กันอย่างไร ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการจับคู่ผสมพันธุ์ของแมงมุมใยทองลายจุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ถ้าอยากเห็นแมงมุมใยทองลายจุดง่ายนิดเดียว

หลายคนอาจเคยสังเกตเห็นใยออกสีเหลืองทองอยู่ตามต้นไม้หรือสายไฟริมถนน แต่คงไม่รู้ว่านี่คืออะไร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ขาวๆ ด่างๆ กับ โรโดดีนอล

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง ขาวๆ ด่างๆ กับ โรโดดีนอล (RHODODENOL)

จากข่าวการเรียกคืนสินค้าของบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางยี่ห้อ คาเนโบ (Kanebo) ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปรับผิวขาวกระจ่างใสดังกล่าวอาจผสมสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ 4-HPB หรือโรโดดีนอล (RHODODENOL) จาก 10 ประเทศทั่วเอเชีย โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะทำให้ผิวหน้าเกิดรอยด่างหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57435– ( 57 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โลมา สัตว์ที่มีความจำเป็นเลิศ

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง โลมา สัตว์ที่มีความจำเป็นเลิศ

บนโลกของเรานี้มีสัตว์หลายชนิดที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำได้ดีอย่างคาดไม่ถึง   โดยมีผลวิจัยออกมาแล้วว่า  สัตว์ในตระกูลเลี้ยงลูกด้วยนมที่เรารู้จักกันดีอย่าง “โลมา” เป็นสัตว์ที่มีความจำดีเป็นเลิศกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ

โลมา  สัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา  แต่ไม่ใช่ปลา  เพราะเป็นสัตว์ที่มีรกและออกลูกเป็นตัว  จึงถูกจัดอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมาก  โดยสมองของโลมามีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับลำตัว  ซึ่งล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก  ได้วิจัยแล้วว่า  โลมาสามารถมีความจำได้ยาวนานมากถึง 20 ปี รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57413– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

4 ปรสิตที่พร้อมจะเข้าสมอง หากคุณไม่ระวัง

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง 4 ปรสิตที่พร้อมจะเข้าสมอง หากคุณไม่ระวัง

เมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้มีเด็กอายุ 12 ปีเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดหัว หลังจากกลับจากการไปเล่นน้ำที่ Sandy-Bottom Lake ใน Willow Springs Water Park เมื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงพบว่า สมองของเด็กกำลังถูก “อะมีบ้า” กัดกิน

เชื้ออะมีบ้าใน Genus Naegleria เช่น Naegleria fowleri  เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบ้า (Amoebic meningoencephalalitis)  พบได้ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติเช่น ลำธาร ลำคลอง หนองน้ำ บ่อ บึง ทะเลสาบน้ำจืด ฯลฯ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำไหลช้าๆ  หรือบริเวณที่เป็นดินโคลน อะมีบ้าเหล่านี้ชอบน้ำอุ่นๆ จึงพบมากในฤดูร้อน หรือพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำร้อนออกมา แต่จะไม่พบในน้ำกร่อยหรือน้ำทะเล โดยปกติอะมีบ้าเหล่านี้ดำรงชีพอิสระในสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกินของเสียจากแบคทีเรีย แต่เมื่ออะมีบ้าดังกล่าวมีโอกาสเข้าสู่คนจะก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงโดยเฉพาะที่สมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบที่มีอาการรุนแรงถึงแก่ความตายได้ ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบ้าเหล่านี้ไม่มากนัก มีรายงานพบในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยียมและเช็คโกสโลวาเกีย เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57302– ( 1106 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคนิคการนำเสนอมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนอมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques) โดย อาจารย์ จรีพร กิตติวิมล ได้เสนอแนะวิธีและเคล็ดลับต่างๆ ในการนำเสนออย่างมืออาชีพ ให้กับพนักงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556  ดังนี้

  • ผู้ฟัง ต้องมั่นใจว่ารู้รายละเอียดของผู้ฟังเป็นอย่างดี เพื่อสร้างเนื้อหาหรือเรื่องในการนำเสนอให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น กลุ่มผู้ฟังเป็นใคร ผู้ฟังสนใจในเรื่องอะไร ผู้ฟังต้องการอะไร ผู้ฟังรู้ข้อมูลอะไร และต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติม ผู้ฟังคาดหวังอะไรจากผู้นำเสนอ และผู้ฟังจะได้รับประโยชน์อะไรจากการนำเสนอ
  • จุดมุ่งหมายของการนำเสนอ แจกแจงจุดมุ่งหมาย เช่น เพื่อการสอน การกระตุ้น การทบทวน การสร้างความประทับใจ ความบันเทิง หรือ ต้องการให้หลับ Read more…

– ( 1267 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสื่อ (สาร) วิทยาศาสตร์ ด้วยงานเขียน

ผู้เขียนมีโอกาสเข้ารับการอบรม เรื่อง ขีดเขียนงานวิทย์ ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดขึ้น  เพราะอยากรู้ว่า จะมีวิธีการเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ให้ได้ดี อย่างไร  สำหรับคนไม่ได้จบมาทางสาขาวิทยาศาสตร์ แต่ต้องดูแลการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ข้อมูล และองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ วิทยากรท่านหนึ่งของหลักสูตรนี้ ได้แบ่งปันประสบการณ์ความเป็นนักเขียนของอาจารย์ ในหัวข้อ “การสื่อ (สาร) วิทยาศาสตร์ ด้วยงานเขียน”  ความว่า การเขียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น หมายถึง เขียนอย่างถูกต้อง เขียนอย่างน่าอ่าน ซึ่งการเขียนอย่างถูกต้อง เป็นศาสตร์ ส่วนการเขียนอย่างน่าอ่านนั้น เป็นศิลป์ ต้องมีทั้งสองส่วนอยู่ด้วยกัน การเขียนอย่างถูกต้องนั้นเริ่มจากการเขียนคำ สะกดคำให้ถูกต้อง และควรใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทย ปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยนสถาน เป็นฉบับปี พ.ศ. 2554 Read more…– ( 982 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments