magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

น้ำบนดวงจันทร์และบนโลกมาจากแหล่งเดียวกัน

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง น้ำบนดวงจันทร์และบนโลกมาจากแหล่งเดียวกัน

หลังจากที่ใช้เครื่องตรวจจับไอออนเพื่อดูอัตราส่วนของดิวทีเรียมไฮโดรเจนในหินจากดวงจันทร์และหินบนโลก นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ข้อสรุปว่า น้ำบนดวงจันทร์ไม่ได้มาจากดาวหาง แต่เป็นน้ำที่อยู่บนโลกเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน ตั้งแต่ยุคที่ก้อนหินยักษ์มาชนโลกจนเศษจากการชนครั้งนั้นไปรวมตัวเป็นดวงจันทร์ในเวลาต่อมา 

นักวิจัยยืนยันแล้วว่า น้ำในชั้นแมนเทิลของดวงจันทร์มาจากหินยุคดั้งเดิม และมีแหล่งที่มามาจากแหล่งเดียวกับน้ำส่วนใหญ่บนโลก โดยการค้นพบนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกครั้งหนึ่งว่า ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446830– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การหัวเราะแต่ละแบบส่งผลต่อสมองไม่เหมือนกัน

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การหัวเราะแต่ละแบบส่งผลต่อสมองไม่เหมือนกัน

การหัวเราะอาจหมายถึงการหัวเราะเยาะ รู้สึกตลก สนุก หรืออาจจะโดนจั๊กจี้ก็เป็นได้ แต่การหัวเราะแต่ละประเภทที่แตกต่างกันนั้นอาจทำให้ “โครงข่ายรับรู้การหัวเราะ” ในสมองของผู้ฟังนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการหัวเราะนั้น

งานวิจัยจาก เดิร์ค ไวลด์กรูเบอร์ และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยทูบิงเกน เยอรมนีครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ PLOS ONE แล้ว เผยถึงกิจกรรมในสมองขณะที่รับฟังการหัวเราะในแต่ละแบบ โดยการหัวเราะของสัตว์เป็นรูปแบบของการสื่อสารแบบหนึ่งที่ในขั้นแรกเป็นเพียงการตอบสนองต่อการจั๊กจี้เท่านั้น แต่การหัวเราะของมนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมานานจากความสนุก รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446834– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยกลไกสมองในการควบคุมอารมณ์ตนเอง

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกลไกสมองในการควบคุมอารมณ์ตนเอง

การระงับอารมณ์ของตัวเอง กับการได้รับคำสั่งให้เก็บอารมณ์ของตัวเองนั้น ส่งผลให้สมองถูกกระตุ้นไม่เหมือนกัน จากการค้นพบของนักวิทยาสตร์อังกฤษและเบลเยี่ยม 

งานวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาการรับรู้ มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ และมหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเยี่ยม ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Brain Structure and Function แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสแกนสมองของอาสาสมัครแล้วพบว่า ระบบสมองบางส่วนจะถูกกระตุ้นเมื่อคนๆหนึ่งเลือกที่จะเก็บอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ด้วยการตัดสินใจของตัวเอง ”ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การควบคุมความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวข้องกับสมองคนละส่วนกับที่เมื่อได้รับคำสั่งให้ตอบสนองต่ออารมณ์อย่างไร” ดร.ไซม่อน คุห์น แห่งมหาวิทยาเกนท์ หัวหน้าทีมวิจัยเผย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446838– ( 163 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง รู้แล้ว ทำไมฟลูออไรด์ถึงป้องกันฟันผุ

กว่าสิบปีสำหรับการวิจัยเพื่อหาว่า ฟลูออไรด์ช่วยปกป้องฟันได้อย่างไร บัดนี้นักวิจัยได้ทราบแล้วว่าจริงๆ แล้วฟลูออไรด์มีส่วนช่วยอย่างไร งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เริ่มแรกนักวิจัยเชื่อว่าฟลูออไรด์จะไปเติมแร่ธาตุให้กับชั้นเคลือบฟัน ทำให้คนเรามีฟันที่แข็งแรงสามารถต้านทานต่อกรดที่เกิดจากแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดฟันผุได้ จนกระทั่งมีงานวิจัยใหม่ๆ ที่ค้นพบว่าจริงๆ แล้วฟลูออไรด์ไม่ได้ทะลุเข้าไปถึงชั้นของเนื้อฟันไม่ได้ไปเสริมชั้นเคลือบฟันให้แข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด ทำให้นักวิจัยต่างพากันงุนงงว่าแล้วฟลูออไรด์สามารถปกป้องฟันจากสารเคมีต่างๆ ได้อย่างไรกันแน่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446771– ( 26 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประเทศอาเซียนประชุมเวิร์คช็อปความปลอดภัยนิวเคลียร์

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวการเกษตร

โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ 20 พ.ค. 2556 – ประเทศอาเซียนร่วมประชุมเวิร์คช็อปย้ำความปลอดภัยพลังงานนิวเคลียร์ในระดับภูมิภาค ขณะที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ระบุโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทยยังเลื่อนออกไป 6 ปี ตามนโยบายรัฐบาล

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียน ระหว่างวันที่ 20-23 พฤษภาคมนี้  มีผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างความตระหนัก ต่อการบริหารจัดการและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ให้เกิดขึ้นในทุกประเทศภูมิภาคอาเซียน เพื่อย้ำเน้นความปลอดภัย หากในอนาคตจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
Read more…– ( 101 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10% ของผู้ใช้เฟซบุค “ไม่ใช่คน” แต่เป็นสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ม้า

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวไลฟ์สไตล์

เว็บไซต์ dailymail รายงานว่า 10% ของผู้ใช้เฟซบุค “ไม่ใช่คน” แต่เป็นสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซึ่งตอนนี้มีผู้ติดตาม 1.5 ล้านคน และสิ่งอื่น เช่น แบรนด์สินค้า และบริษัท
- ปัจจุบันมีเฟสบุคมีจำนวน user 1,000 ล้านราย แต่ user ที่เป็นมนุษย์จริงๆ มีจำนวน 889.3 ล้านคน
- ประเทศที่่มีอัตราการใช้ Facebook เพิ่มขึ้น คือในประเทศอินเดีย, บราซิล, รัสเซีย,  ประเทศทางตะวันออกกลางและแอฟริกา
Read more…– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวบ่งชี้ถาวรดิจิทัลกับการทำงานข้ามระบบ

เป็นเพราะทรัพย์สินดิจิทัลหรือสารสนเทศดิจิทัล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำให้การบ่งชี้ดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสงวนรักษา การบริหารจัดการ การเข้าถึงและการนำกลับมาใช้ใหม่ของจำนวนข้อมูลมหาศาล หน้าที่ในการบ่งชี้การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสัมพันธ์กับเจ้าของผลงาน และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น สถาบัน/องค์กร กลุ่มวิจัย โครงการ) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงการอ้างอิง การค้นคืน และการสงวนรักษาของทรัพยากรสารสนเทศทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้

ข้อสรุปบางประการสำหรับตัวบ่งชี้สารสนเทศดิจิทัลได้มีการเสนอในหลายๆ แห่งแตกต่างกัน เช่น ห้องสมุด สำนักพิมพ์ เป็นต้น และอีกหลายๆ มาตรฐานที่ยังอยู่ในระยะที่เริ่มได้ที่ของการพัฒนา (เช่น DOI, Handle, NBN, ARK, Scopus Id, ResearcherID, VIAF เป็นต้น) แต่ข้อด้อยสำคัญที่ยังคงทำให้ตัวบ่งชี้ถาวรเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งบางครั้งมีความเห็นที่ตรงกันข้ามในหลายประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป และด้วยความที่มีตัวบ่งชี้ดิจิทัลหลายตัว จึงเป็นเรื่องท้าทายไปถึงการหาข้อสรุปในการให้ตัวบางชี้เหล่านั้น สามารถทำข้ามระบบกันได้ (interoperability)

APARSEN (Alliance for Permanent Access to the Records of Science Network) ได้สำรวจความสามารถในการทำงานข้ามระบบระหว่างตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifiers-PIs) เพื่อจะเสนอกรอบความสามารถในการทำงานข้ามระบบ (Interoperability Framework-IF) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบทางออกใหม่ในการสนับสนุนการทำงานข้ามระบบต่อไป รายงานนี้น่าสนใจมากทีเดียว แนะนำท่านที่สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.alliancepermanentaccess.org/wp-content/uploads/downloads/2012/04/APARSEN-REP-D22_1-01-1_9.pdf– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แผนงานระดับชาติล่าสุดของสหรัฐ : Brain Initiative

เป็นการวิจัยในนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบประสาทโดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้นัก วิจัยหาวิธีการใหม่ๆ ในการรักษาหรือป้องกันความผิดปกติทางสมอง เช่นโรคอัลไซเมอร์ โรคลมบ้าหมู หรือโรคบาดเจ็บที่สมอง โครงการนี้จะเร่งการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสร้างระบบการแสดงภาพเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาตอบสนองของ สมอง ซึ่งมีความเชื่อว่า เทคโนโลยีตัวนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาระบบการทำงานและโต้ตอบทั้งหมด ของสมองอย่างแท้จริง รายละเอียดโดยสังเขปมีดังนี้

  1. การลงทุนหลักเพื่อเริ่มต้น โครงการอย่างรวดเร็ว
  2. การสร้างผู้นำจากฝ่ายการศึกษาที่เข้มแข็ง
  3. การสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน
  4. รักษามาตรฐานทางจริยธรรม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11998-science-and-technology-news

 – ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มุ่งสู่อิเล็กทรอนิกส์แบบยั่งยืน

สังคมสมัยใหม่ล้วนนิยมใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และทีวีจอแบน เป็นต้น แต่ปัญหาก็คืออุปกรณ์เหล่านี้มีอายุขัยที่สั้นและไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อการนำ กลับมาใช้ใหม่ ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หมดอายุขัย มีจำนวนเพียงเล็กน้อยที่ได้รับการรีไซเคิล ขณะที่ส่วนมากจะถูกเผาหรือนำไปทิ้งอย่างผิดกฎหมายในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งการจัดการที่ไม่ถูกวิธีนี้ ทำให้สารเคมีจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11998-science-and-technology-news– ( 57 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Big Data ปัญหาใหญ่ของการวิจัยด้านชีวการแพทย์

ในเดือนมีนาคม 2556 รัฐบาลโอบามาได้ริเริ่มโครงการ Big Data Research and Development Initiative ซึ่งมีมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายคือการพัฒนาความสามารถในการคัดกรองความรู้และ ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลดิจิตอลที่มีจำนวนมหาศาลและอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อน เพื่อเร่งให้เกิดการค้นพบในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ การปฏิรูปการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ในขณะเดียวกันก็สามารถลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11998-science-and-technology-news– ( 94 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments