magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

เซลล์เชื้อเพลิงจากแปลงเพาะปลูก

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวทันสถานการณ์
เนเธอร์แลนด์ 7 พ.ค.2013- นักวิจัยเนเธอร์แลนด์กำลังพัฒนาเทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าจากแปลงเพาะปลูกพืช เทคโนโลยีจะก่อให้เกิดพลังงานได้อย่างไร ติดตามในสารคดีโลก

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51889d1a150ba02b0500018b#.UYi30cphsa8– ( 57 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้เชี่ยวชาญระบุมีความเป็นไปได้ที่จะส่งมนุษย์ไปสำรวจดาวอังคารในอีก 20 ปีข้างหน้า

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี

วอชิงตัน 5 พ.ค. 2013 – เจ้าหน้าที่นาซาและผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนต่างระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จะส่งมนุษย์เดินทางสำรวจยังดาวอังคารในอีก 20 ปีข้างหน้า ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ

ผู้มีชื่อเสียงในวงการสำรวจอวกาศ ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (นาซา) และเอ็ดวิน อัลดริน อดีตนักบินอวกาศยานอพอลโล 11  ซึ่งเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์เป็นคนที่ 2 เมื่อปี 2512 จะร่วมกันหารือในการจัดตั้งโครงการใหม่ ในการประชุมเป็นเวลา 3 วันที่กรุงวอชิงตัน ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้  นายชาร์ลส์ โบลเดน  ผู้อำนวยการองค์การนาซากล่าวย้ำหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาว่า โครงการที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของนาซา คือการส่งมนุษย์ไปสำรวจบนดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม วิกฤตกาณ์ทางการเงิน
ที่สหรัฐกำลังเผชิญอยู่ เป็นอุปสรรคสำคัญในการริเริ่มโครงการดังกล่าว
Read more…– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กับการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กับการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมอาเซียน” วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “World without Malaria: A Grand hallenge?” (โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ สวทช.) ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “ปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำกับแรงงานข้ามชาติ” (โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “Zoonosis กับการเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงสุดท้าย เป็นเรื่อง รวมพลังขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ รับมือประชาคมอาเซียนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว” (โดย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
 
ช่วงที่หนึ่ง “World without Malaria: A Grand Challenge?” โดย ศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ได้พูดในหัวข้อ โลกที่ไร้ซึ่งมาลาเรีย : ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่?? ซึ่งเริ่มต้นด้วยประวัติความเป็นมาของโรคมาเลเรียในอดีต ตามด้วยสถานะการของการควบคุม การขจัด และ การกำจัด โรคมาเลเรีย รวมถึงสถานการณ์เป็นไปได้ในอนาคต ตามด้วยเรื่องของเครื่องมือที่ใช้ต่อสู่กับมาเลเรีย นั้นคือ ยาที่ได้จากธรรมชาติ จากนั้นต่อด้วย สถานการณ์ของยาต้านมาเลเรียโดยภาพรวมและวัคซีนที่ใช้ สุดท้ายจบด้วยการสรุปสถานการณ์ของงานวิจัยเกี่ยวกับมาเลเรีย โดยภาพรวม

ช่วงที่สอง “ปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำกับแรงงานข้ามชาติ” โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
โรคไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งได้กล่าวถึงสถานการณ์โดยภาพรวม และประสบการณ์การป้องกันและรักษาที่โรงพยาบาลจุฬา ตามด้วยความชุกของโรคไวรัสตับอักเสบบีในแรงงานต่างด้าว จากนั้นได้กล่าวถึงโรคคอตีบ ตามด้วยโรคเท้าช้าง โรคโปลิโอ ในช่วงท้ายได้แสดงถึงผลงานที่ได้ตีพิมพ์

ช่วงที่สาม “Zoonosis กับการเปิดประชาคมอาเซียน” โดย รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร
โรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คน เช่นโรคฉี่หนู โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดนก โรคไข้สมองอักเสบ ไวรัสอีโบล่า โรคสเตรปโทคอกโคสิส ตามด้วยสถานการณ์โดยภาพรวมของโรคที่กล่าวมาทั้งหมดในอาเซียน ตามด้วยการต่อสู่กับโรคดังกล่าว
Read more…– ( 1200 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558

หัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ เรื่อง รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่  AEC ในปี 2558 เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ หัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี  เนื้อหาการบรรยายโดยสรุป

ประเด็นร้อนของภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ คือการเปิดเสรีของประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งระบบรางเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ระบบรางที่ถูกกล่าวขานกันมากในภูมิภาคอาเซียน คือรถไฟความเร็วสูง

ปี 2552 ประเทศเวียดนามตกเป็นข่าวอย่างร้อนแรงในการที่จะเป็นชาติแรกที่สร้างทางรถไฟความเร็วสูง แต่ในที่สุดรัฐสภาเวียดนามก็มีมติไม่เห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียวที่รัฐบาลรับรัฐสภามักจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหลังจากเวียดนามชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ก็เกิดกระแสรถไฟความเร็วสูงขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทยโดยคาดหวังว่าจะมีการสร้างรถไฟทางกว้าง 1.435 เมตรจากคุณหมิงมายังเวียงจันทน์ แล้วเลยเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งหากเป็นจริงแล้วก็จะเป็นการเชื่อมทางรถไฟจากประเทศจีนเข้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งใช้ทางรถไฟเป็นขนาดกว้าง 1 เมตร แนวคิดเรื่องการสร้างรถไฟความเร็วสูง ทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยุติการเจรจากู้เงินจากรัฐบาลไทยเพื่อใช้ก่อสร้างทางรถไฟต่อจากสถานีท่านาแล้งไปยังเวียงจันทน์ ทั้งที่รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการสำรวจออกแบบไว้แล้ว

อย่างไรก็ดี ผลการเจรจาการสร้างทางรถไฟระหว่างจีนกับสาธารณรัฐประชาธืปไตยประชาชนลาวกลับไม่ราบรื่นเท่าที่ควร จากที่เป็นข่าวว่า สปป.ลาวจะหวนกลับมาเจรจาเรื่องกู้เงินกับประเทศไทยเพื่อสร้างทางรถไฟจากท่านาแล้งถึงเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นอย่างไรกันแน่

ในส่วนของประเทศไทยนั้น หลังจากรัฐบาลปัจจุบันเข้าบริหารประเทศตั้งแต่ปี 2554 แล้ว นโยบายเรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศก็ได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลได้ผ่าน พรบ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศและการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็เป็นแผนการใช้เงินดังกล่าว

โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของภูมิภาคอาเซียนในอดีตมีสภาพค่อนข้างล้าหลังตรงกันข้ามกับการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ถนนเป็นระบบขนส่งหลักมาอย่างย่าวนาน ได้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์การใช้ที่ดินใบแบบ ” Ribbon Development” ซึ่งเมืองขยายออกตามแนวถนนสายหลักในขณะที่ยังมีที่ดินว่างเปล่าในเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก ปรากฎการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย อาทิ ปัญหาสภาพแวดล้อมและสังคม ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างรุนแรงและปัญหาเมืองรุกชนบท (Urban Sprawl) ที่กำลังเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น

ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มองเห็นปัญหาดังกล่าวจึงดำเนินนโยบายเรื่อง Transit-oriented(TOD)อย่างจริงจังมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันทั้งสองประเทศมีระบบขนส่งทางราง ทั้งระบบขนส่งมวลชนในเมืองและรถไฟขนส่งทางไกลที่ค่อนข้างสมบูรณ์และกำลังเกิดการปรับตัวของการใช้ที่ดิน (Land Use reform)เพื่อให้เข้ากับระบบขนส่งทางราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เพิ่งปรากฏเป็นข่าวเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาคือการสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างกังลาลัมเปอร์ – สิงคโปร์ กำหนดแล้วเสร็จในเวลา 7 ปี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นขั้นตอนสูงสุดของการพัฒนาระบบขนส่งทางราง

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-4seminar.php

 – ( 451 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร

การเสวนาเรื่อง ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร เป็นหนึ่งในหัวข้อการเสวนาหัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปการเสวนาได้ดังนี้
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จึงต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติมากที่สุด แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปรวมถึงเกิดปัญหาต่างๆ มากมาย จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในปัจจุบัน โดยการหาวิธีการ กระบวนการ ตลอดจนแนวความคิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลผลิตให้ดีขึ้น เพื่อผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ในการเสวนาดังกล่าวมีการกล่าวถึงการทำเกษตรอย่างไรให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมตลอดถึงผลตอบแทนที่จะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำนาข้าว  การปลูกพืชและผักอินทรีย์และการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

  • การทำนาโดยวิธีแกล้งข้าว เพื่อให้ผลผลิตของข้าวได้มากขึ้น ไม่ว่าข้าวนั้นจะปลูกในนาใดก็ตาม คุณศุภชัย ปิติวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการขาย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และชาวนาวันหยุด ได้คิดวิธีการปลูกข้าว ด้วยวิธี”ระบบผลิตเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” ซึ่งวิธีการก็คือ การควบคุมระดับน้ำในแปลงนา ผสมผสานเทคโนโลยีที่ทำได้ด้วนตนเอง ซึ่งวีธีนี้จากเดิมเป็นการทำนาที่ต่างคนต่างทำ วิธีนี้เปลี่ยนเป็นรวมกลุ่มกันทำซึ่งเป้าหมายมีทั้งคุณภาพ และปริมาณ ตั้งแต่การคัดพันธ์ข้าวปลูก ข้าวที่ได้เป็นข้าวปลอดสารพิษ เป็นข้าวอินทรีย์  ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถช่วยให้ ลดเมล็ดพันธ์  ลดน้ำ ลดปุ๋ยเคมี ลดยาเคมี และลดแรงงาน  แต่จะช่วยเพิ่มคุณภาพข้าว  เพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มกำไรและสะสมทุน เพิ่มความสามัคคีชุมชน
  • การทำเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น โดยคุณลุงโชคดี ปรโลกานนท์ เกษตรกรที่วังน้ำเขียว หรือที่รู้จักกันในนาม สวนลุงโชค วังน้ำเขียวซึ่งสวนลุงโชคนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้คุณลุงโชคต้องลองผิดลองถูกกับการทำไร่มาไม่น้อย ทั้งๆ ที่คุณลุงเองเรียนทางด้านเกษตร ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมุ่งสู่ความฝันของตัวเองไม่ทำงานกินเงินเดือน แต่ตั้งใจที่จะทำการเกษตรอย่างที่ร่ำเรียนมาสุดท้ายคุณลุงก็ประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แนวทางวนเกษตร ในการจัดระบบนิเวศเกษตรสูธรรมชาติสมดุล เริ่มจากการพลิกฟื้นผืนดินจากการปลูกพืชไร่ สร้างดินให้มีชีวิต สร้างปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว มีข้าวในนา มีผัก มีปลาอาหาร มีไม้ไว้ใช้สอย ปัจจุบันสวนลุงโชคมีความหลากหลายพรรณพืชในแปลงเกษตรมากกว่า 350 ชนิด
  • การปลูกพืชและผักอินทรีย์ โดยคุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองมัง จ.อุบลราชธานี เหตุผลในการปลูกพืชและผักอินทรีย์เนื่องจากผู้บริโภคสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น มีความต้องการผัก-ผลไม้ปลอดสารพิษมากขึ้น จึงหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตัวเอง มีการลองผิด ลองถูกเช่นเดียวกัน ดองเลือกว่าจะปลูกพืชอะไรในฤดูไหน ที่ปลูกแล้วได้ผลดี มีความต้องการทางการตลาด เปลี่ยนการใช้ปู๋ยเคมีมาเป็นปุ๋ยที่หมักเอง ก็จะได้ทั้งพื้นอินทรีย์และลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้และทั้งนั้น คุณปิยะทัศน์ บอกว่า จะทำเกษตรให้ได้ผลดีต้องมีแนวคิดที่ชัดเจนและถูกต้องมีอุดมการณ์ ว่าเรารักเกษตรจริงหรือไม่

บทสรุปจากทั้ง 3 ท่านการทำการเกษตรที่ได้ผลดีคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ทำเกษตรแบบ
พึ่งพาตนเอง ไม่ใช้ปุ๋เคมี ลดต้นทุน ทำให้ดินดี สุขภาพดี สุดท้ายเศรษฐกิจจะดีตามมา ในการที่เกษตรกรรมของเราเมื่อเข้าสู่ AEC แล้ว จะสู้ประเทศอื่นได้
เมื่อมีการพัฒนาเรื่องคุณภาพของพันธ์พืช สงวนรักษาพันธ์พืชที่เป็นของประเทศจริงๆ ก็จะสามารถสู้ประเทศอื่นได้แน่นอน  สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-3seminar.php– ( 219 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน  วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช.  ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การบรรยายแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ “นกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย ศ.ดร. พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “มะเร็งท่อน้ำดี: ปัญหาร่วมของประชากรลุ่มน้ำโขง” (โดย รศ.ดร. โสพิศ วงศ์คำและคณะ ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ช่วงที่หนึ่งนกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน
นกเงือกเป็นสัตว์ป่าที่เป็นดัชนีชี้ ความสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังมีบทบาทที่สาคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าหลายชนิด ซึ่งถือเป็นการช่วยรักษาโครงสร้างป่า และผดุงพันธุ์ไม้ป่า โครงการศึกษาวิจัยนี้ กำเนิดขึ้นจากความห่วงใยต่อสถานสภาพของนกเงือก ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจสถานภาพและอนาคตของนกเงือกในประเทศไทยตั้งแต่ระดับพันธุกรรมประชากร จนกระทั่งถึงระดับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นงานบุกเบิกสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของนกเงือก 13 สายพันธุ์ และได้พบว่ามีนกเงือก 3 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ
นกเงือกหัวหงอก นกชนหิน และนกเงือกคอแดง อาจเป็นบรรพบุรุษของนกเงือกเอเชีย จากการศึกษาพบว่า นกเงือกหัวหงอก มีประชากรขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 100 ตัว)  แม้ว่าจะมีการอนุรักษ์อย่างเข้มข้นก็มีโอกาสสูญพันธุ์ไปจากป่าผืนในอนาคต

และช่วงที่สอง มะเร็งท่อนาดี:ปัญหาร่วมของประชากรลุ่มน้ำโขง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นแหล่งที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในโลก แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่า
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญ แต่มะเร็งท่อน้ำดียังคงเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิต ชาวอีสานแม้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ยังไม่ทราบแน่ชัด ขาดการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะต้น ขาดความรู้ ในกระบวนการพัฒนาของมะเร็งสู่ระยะแพร่ลุกลาม รวมทั้งขาดความเข้าใจในพฤติกรรมของมะเร็งท่อน้ำดีในการสนองตอบต่อยาเคมีบำบัด ทำให้การรักษามะเร็งท่อน้ำดีไม่ได้ผล ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงศึกษาในมิติต่างๆ ดังที่กล่าวมาควบคู่กัน เพื่อลดความสูญเสียจากมะเร็งท่อน้ำดี

ติดตามสื่อนำเสนอของหัวข้อนี้ได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-2seminar.php– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตื่น!หิมะตกดอยอินทนนท์ขาวโพลน

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 4 พ.ค. 56 นางสาวพรนภา ทองเทพ เวรพยากรณ์อากาศ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เปิดเผยว่าคลื่นกระแสลมตะวันตกกำลังเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองกระจายกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยพื้นที่ภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่จะมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่

นายคมสัน สุวรรณอัมพา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่าตั้งแต่เมื่อเย็นวันที่ 2 พ.ค.56 จนถึงเช้าวันนี้ทางสำนักงานเราได้รับรายงานว่าเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกรรโชกแรง มีพายุลูกเห็บตกลงมาใส่หลังคาบ้านเรือน และพื้นที่ทางการเกษตรของประชาชนได้รับความเสียหายรวมแล้ว 5 อำเภอคืออำเภอฝาง แม่อาย พร้าว สะเมิง และล่าสุดที่ อ.จอมทอง Read more…

– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ขุยมะพร้าว บำบัดน้ำเสีย

กระทรวงวิทย์ฯ ห่วงสถานการณ์มลพิษทางน้ำ หวั่นทำลายสุขภาพประชาชน เผยนักวิจัยใช้แสงซินโครตรอนตรวจสอบ พบขุยมะพร้าวช่วยกรองโลหะหนักในน้ำเสียได้ เล็งต่อยอดกำหนดแนวทางลดมลพิษจากอุตสาหกรรม ลดต้นทุนระบบบำบัดน้ำเสีย เพิ่มมูลค่าขุยมะพร้าวเหลือทิ้ง

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะมลภาวะทางน้ำ จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปริมาณโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งยังขาดระบบการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะปัจจัยในการลงทุนของระบบบำบัดมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
Read more…– ( 86 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ข้อมูลน้ำ ป้องน้ำท่วม

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เล็งจัดตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการน้ำ พร้อมทั้งเฝ้าระวังและสนับสนุนการแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ เบื้องต้นเตรียมนำร่องที่จังหวัดแพร่และสุโขทัย

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นได้มีระบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (Internet GIS) และระบบเว็บไซต์ (Website) ติดตามสถานการณ์น้ำประกอบการปฏิบัติงานวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ และใช้สนับสนุนการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่ โดยเบื้องต้นจะเริ่มนำร่องที่จังหวัดแพร่และสุโขทัย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านน้ำมาโดยตลอด
Read more…– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Open Archival Information System (OAIS) : ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด

Open Archival Information System Reference Model หรือ OAIS Reference Model พัฒนาโดย The Consultative Committee for Space Data Systems (CDSDS) เป็นกรอบแนวความคิด (conceptual framework) เพื่ออธิบายคุณลักษณะที่จำเป็นของระบบสารสนเทศจดหมายเหตุ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกในการจัดทำมาตรฐานอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศในระยะยาว (Long –term archiving) กับข้อมูลทางอวกาศ

คำว่า Open Archival Information System หรือ ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด บางครั้งอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ จากคำว่า “Open” เพราะว่า “Open” ในที่นี้ หมายถึง การพัฒนา คำแนะนำ และมาตรฐาน ที่ถูกสร้างขึ้นในกลุ่มที่มีความสนใจเดียวกันอย่างเปิดเผย แต่ไม่ได้หมายความว่า การเข้าถึงระบบนั้นจะไม่มีการจำกัด

กล่าวได้ว่า OAIS คือ ระบบจดหมายเหตุที่ประกอบด้วย กลุ่มคนและระบบ ที่ได้ทำข้อตกลงและรับผิดชอบร่วมกันในการสงวนรักษาสารสนเทศ และทำให้สามารถเข้าถึงได้ในกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ซึ่งทำให้ OAIS นี้ แตกต่างจากระบบอื่นที่ใช้คำว่า “archive”  อ่านรายละเอียด

– ( 118 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments