magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

‘แพร่’ทอผ้าท้องถิ่น-เคลือบนาโน

นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผวจ.แพร่ เปิดเผยว่า ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดศูนย์รับเคลือบผ้านาโนและร้านผลิตภัณฑ์ต้นแบบนาโนที่ร้านบายศรี จ.แพร่ โดยได้ดำเนินการตามนโยบายยุทธศาสตร์ประเทศ ด้วยการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้กับสิ่งทอของท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าขยายโอกาสทางการค้าให้กับภูมิภาค และเตรียมความพร้อมรองรับการแข่งขันเสรี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอนับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 ล้านบาท

นายอภิชาติกล่าว อีกว่า ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเปิดศูนย์รับเคลือบผ้านาโน เพื่อเป็นการอัพเกรดสิ่งทอไทยและขยายโอกาสทางการค้าในตลาดนานาชาติ

รายการอ้างอิง :
‘แพร่’ทอผ้าท้องถิ่น-เคลือบนาโน. ข่าวสด (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมัน สู่เกษตรกร

รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตและการจัดจำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ภายใต้โครงการต้นแบบในการขยายผลปาล์มน้ำมันไปสู่เกษตรกร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง และเพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน และ น.ส.เกษชฏา มีความสุข ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก. ร่วมลงนาม

ทั้ง นี้ ความร่วมมือดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มแบบก้าว กระโดด เพื่อมุ่งพัฒนาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปาล์มที่ดี คือ ให้ผลผลิตสูงและน้ำมันที่สูง ซึ่งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค้นพบเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและดี เอ็นเอ ทำให้ได้ยีนจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ดีเช่นเดียวกับพ่อแม่พันธุ์ โดยในระยะแรกนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จะร่วมกันผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันจำนวน 100,000 ต้น และดำเนินการขยายผลสู่เกษตรกรต่อไป

รายการอ้างอิง :
ผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมัน สู่เกษตรกร. บ้านเมือง. ฉบับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

waterforthai เว็บไซต์ที่คนไทยต้องเข้า!

เว็บไซต์  http://www.waterforthai.go.th/  เป็นเว็บไซต์ที่เปิดเพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติ ในช่วงอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี  2554 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยรัฐบาล และบริหารจัดการข้อมูลโดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)

ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์  http://www.waterforthai.go.th/ มียอดผู้เข้าชมโหลดหน้าเว็บ จำนวน 207,606/ครั้ง และในปี 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน มียอดผู้เข้าใช้งานดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์จำนวน 168,021/ครั้ง
Read more…

– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มูลนิธิสยามกัมมาจลจับมือเนคเทค’ต่อกล้าให้เติบใหญ่’

สำหรับปีนี้มี 10 ผลงานเด่นด้านไอทีของเยาวชนไทยเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล และ เนคเทค ในโครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่”

ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้จัดโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย  ต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 15 ซึ่งมูลนิธิสยามกัมมาจล พบว่า ผลงานของเยาวชนที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีหลายโครงการเป็นนวัตกรรม หากได้รับการพัฒนาไปสู่การใช้ประยุกต์ใช้ได้จริง จะเกิดประโยชน์อย่างมาก ทั้งต่อกลุ่มเป้าหมายและสังคม รวมทั้งต่อเยาวชนเจ้าของผลงานเอง ที่อาจจะต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือพัฒนาเป็น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Read more…– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เช็กชีพจร 4 พืชเศรษฐกิจไทยแข่งขันยาก-จี้เร่งปรับตัวก่อนสายเกินแก้

ภาคการเกษตรของไทยเป็นอีกหนึ่งภาค ส่วนที่ต้องเร่งปรับตัวรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง หลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี แต่ดูเหมือนว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังนิ่งนอนใจ ทั้งๆ ที่หลายสินค้าเกษตรของไทยที่ถูกแซงหน้าไปแล้ว ทั้งการสูญเสียตลาดส่งออกข้าว การมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าเพื่อนบ้าน ขณะที่ผลผลิตต่อไร่กลับลดลง ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.จึงได้ทำการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อม
นายสม ศักดิ์ กังธีระวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาชนเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. และภาคการเกษตรของไทย ซึ่งแน่นอนว่าภาคเกษตรของไทยมีทั้งส่วนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ที่เห็นชัดๆ คือจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน อาจทำให้ภาคเกษตรของไทยขาดแคลนแรงงาน และมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงต้องเร่งปรับตัวในการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของผลผลิตแทน โดยเฉพาะในพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิดของไทย อย่าง ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และอ้อย
จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยลดลง เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ลดลง แต่ต้นทุนการผลิตกลับสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยต่ำกว่าเวียดนาม ในด้านประสิทธิภาพการผลิตพบว่า ปี 2553 ผลผลิตต่อไร่ของไทยน้อยกว่าเวียดนาม 48.1% และต้นทุนการผลิตของเวียดนามน้อยกว่าไทยเกือบเท่าตัว
ส่วน ปาล์มน้ำมัน ขณะนี้ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดส่งออกน้ำมันปาล์มเพียง 2.2% โดยผู้ครองตลาดโลกคือ อินโดนีเซีย มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% รองลงมาคือมาเลเซียมีส่วนแบงการตลาด 30% การเข้าสู่เออีซีทำให้มีการลดภาษีนำเข้าปาล์มน้ำมัน จึงส่งผลกระทบต่อการผลิตปาล์มและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ อาจทำให้น้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซียและมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก ขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย
ขณะที่ยางพารานั้น พบว่าไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซีย พื้นที่ปลูกของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 5.35% ผลผลิตรวมเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.53% ต่อปี โดยในปี 2554 อินเดียเป็นประเทศที่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกจำนวน 303 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือเวียดนาม 275 กก.ต่อไร่ และไทย 262 กก.ต่อไร่
ขณะที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตสำคัญกลับมีผลผลิตเฉลี่ยที่น้อยกว่าอยู่ที่ 146 กก.ต่อไร่และ 107 กก.ต่อไร่ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไทยจำเป็นต้องปรับกระบวนการผลิตที่เป็นจุดแข็งในการเป็นผู้ผลิตและส่งออกราย ใหญ่ เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับยางพารา สร้างอำนาจการต่อรองและเป็นผู้กำหนดราคายางได้เองในอนาคต รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรปลายน้ำของยางพาราและอุตสาหกรรมที่ สร้างมูลค่าเพิ่ม
สุดท้ายสินค้าเกษตรประเภทอ้อย และน้ำตาลทรายถือว่า ไทยเป็นผู้ส่งออกผลผลิตจากอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน มีการส่งออกไปประเทศในอาเซียนประมาณ 2.73 ล้านตันในปี 2554 ขณะที่ตลาดดังกล่าวมีความต้องการนำเข้าประมาณปีละ 2.9 ล้านตัน ยิ่งเมื่อเปิดเออีซีจะเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดในภูมิภาคนี้มากขึ้นแต่ ไทยจำเป็นต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุน ที่จะเข้าสู่การแข่งขันและความร่วมมือในการลงทุนในประเทศอาเซียนด้วยกัน
ทั้ง นี้ ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.มองว่าผลกระทบต่อภาคเกษตร อาจทำให้มีการแข่งขัน Read more…– ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลิตภัณฑ์สารชีวบำบัด

กระแสของโลกในวันนี้ก้าวเดินหน้าหา ธรรมชาติอย่างที่สุด การทำธุรกิจสีเขียวเช่นกันมีทิศทางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัญหาของคราบน้ำมันในการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นปัญหาที่ยังหาทางออกไม่ได้ ส่งผลต่อดินและน้ำ จากจุดนี้ทำให้นำไปสู่การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาทางแก้ปัญหา ผลิตภัณฑ์สารชีวบำบัด แบรนด์ คีนน์ มีคุณสมบัติพิเศษในการย่อยสลายโมเลกุลน้ำมัน ล้างชิ้นส่วน บำบัดน้ำเสีย ขจัดไอระเหยและคราบสกปรกที่กำจัดยาก หรือ แม้กระทั่งกลิ่นเหม็นในภาคอุตสาหกรรมได้ ครบวงจร โดยไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างออกไปทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิจัยจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากการคิดค้น โครงการของบริษัท คีนน์ จำกัด ที่ ร่วมทุนวิจัย พัฒนากับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รวมทั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read more…– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการอีวายเอช ปั้นนักวิทย์หญิงรุ่นเยาว์

ซีเกทร่วมมือกับเนคเทคและมทร.นครราชสีมา จัดโครงการอีวายเอชครั้งที่ 5 สร้างนักวิทย์หญิงไทยรุ่นใหม่

นางเพียงฤทัย ศิวารัตน์ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ โรงงานโคราช บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานโคราช กล่าวว่า บริษัท ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา (มทร.อีสาน นครราชสีมา) ร่วมกันจัดโครงการ อีวายเอช: ขยายขอบข่ายความรู้สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5 สำหรับนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2-3 จำนวนกว่า 100 คน ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดสระบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนหญิงได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนหญิงสนใจศึกษาต่อและประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
Read more…– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘คีนน์’ชูสารสกัดคราบน้ำมัน โชว์นวัตกรรมเด็ดเล็งยอดขาย500ล้าน

“คีนน์” วาดฝันปั้นแบรนด์ขึ้นแท่นระดับโลก ชูผู้นำรายแรกของเอเชียด้านนวัตกรรมสารชีวบำบัด  หลังกวาด 9 รางวัลคุณภาพ  มั่นใจ 3 ปีกวาดยอด 500 ล้าน  พร้อมเป็นผู้นำในอาเซียนก่อนเป็นเออีซี  ไตรมาส 2 เล็งออกสินค้าใหม่อีก 3 สูตร เล็งอีก 2 ปีลุยตลาดคอนซูเมอร์
นายวสันต์ อริยพุทธรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คีนน์ จำกัด ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์สารชีวบำบัด (Bioremediation Agent) ภายใต้แบรนด์คีนน์ (KEEEN) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่มองเห็นปัญหาเรื่องของน้ำมันรั่วไหลในธรรม ชาติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เกิดแนวคิดที่จะขจัดปัญหาคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกด้วยการใช้จุลินทรีย์ ตั้งแต่ 10 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัท หลังจากนั้นจึงได้มีการทำ งานวิจัยร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รวมทั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อต่อยอดแนวคิดดังกล่าวจนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สารชีวบำบัด ที่ใช้ขจัดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรก ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายกับผู้ใช้ออกมาจำหน่ายนับเป็นรายแรกของเอเชีย  โดยเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล Read more…– ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยูคาฯเอช4 แก้จนแก้เค็ม

ดินเค็มเป็นปัญหาหนักอกของเกษตรกรในภาคอีสานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้การทำเกษตรได้ผลผลิตต่ำ รายได้น้อย และทำให้พื้นที่การเกษตรบางแห่งถูกทิ้งร้าง   เกษตรกรละทิ้งถิ่นฐาน กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคม

แม้กรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปดูแลเยียวยา แต่ก็แก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง เห็นจากตัวเลขการแก้ไขปัญหาดินเค็มในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ที่มีพื้นที่ดินเค็มกว่า 8 หมื่นไร่ ช่วง 10 ปีที่ผ่านไป (2543-2553) สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียง 1.4 หมื่นไร่เท่านั้น และก็แก้ปัญหาได้แค่ในระดับปรับปรุงดินจากเค็มมากให้เหลือเค็มปานกลางและ เค็มน้อยเท่านั้น เพื่อให้ชาวบ้านสามารถใช้ที่ดินทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ยังไม่สามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพปกติได้ เนื่องด้วยงบประมาณและบุคลากรมีจำกัด

Read more…– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไม้ประดับช่วยลดมลพิษ

นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่าได้ทดสอบความสามารถของพืชพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 50 ชนิด พบว่าพืชบางชนิดมีความสามารถในการดูดสารพิษ และแนะนำให้ไปใช้ในอาคารที่ทำงาน และที่บ้าน เพื่อช่วยลดมลพิษ

  • ดอกเบญจมาศ สามารถขจัดสารมลพิษได้มากกว่าร้อยละ 90 เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง
  • หมากเหลือง เป็นไม้ประดับที่แนะนำให้ปลูกภายในอาคาร หรือ บ้านเรือน เนื่องจาก มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคาร และคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้มาก และยังมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ปริมาณมากเมื่อเทียบกับไม้ประดับด้วยกัน
  • สาวน้อยประแป้ง  สามารถช่วยลดไซลีน โทลูอีน ที่เกิดจากไม้อัด เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ สีทาห้องในอัตราสูงได้  เพราะหากสูดดมสารนี้ในระยะสั้นจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ วิงเวียน หน้ามืด สามารถปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

แหล่งที่มา : นักวิทยาศาสตร์เผยไม้ประดับช่วยลดมลพิษ.thaipbs online วันที่ 5 เมษายน 2556.– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments