magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

“Renewable Energy Policy and PV Product Certification”

ดร.นพวรรณ ตันพิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Renewable Energy Policy and PV Product Certification” ซึ่งจัดให้กับผู้ประกอบการที่ใช้น้ำมันโซลาเซลล์ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ ห้องแซฟไฟร์ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ วันอังคารที่ 19 ก.พ.56 เวลา 09.00 น.

รายการอ้างอิง :

“Renewable Energy Policy and PV Product Certification”. บ้านเมือง. ฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘พระรามเก้าเน็ตเวิร์ค’ เดินหน้าลุยตั้งเป้ารายได้ 100 ล.เข้มฝึกอบรม

“พระรามเก้าเน็ตเวิร์ค”ประกาศรุกตลาดอย่างเต็มที่หลังควบปีที่ผ่านมาอยู่ ช่วงบ่มเพาะความพร้อมตลาดตอบรับสินค้าด้วยดี โดยเฉพาะยาจีนสูตรโบราณเป็นธงนำ ตั้งเป้าปี 2556 กวาดรายได้ 100 ล้านบาทพร้อมออกสินค้าใหม่อีกหลายประเภท”กาแฟผู้ชาย”เปิดตัวปลายเดือนแห่งความรักนี้ Read more…– ( 229 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แขนกลเกี่ยวอะไรกับการหุบใบของต้นกาบหอยแครง

เรียกความสนใจจากการนำเสนอผลงานภายในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

และเป็น 1 ใน 3 โครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC.CS  ปีนี้ ซึ่งจะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลกในงานอินเทล ไอเซฟ ( Intel ISEF) ครั้งที่ 64 ที่เมืองฟินิกส์ มลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา Read more…– ( 197 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

100 เหตุการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ในปี 2012

แมกกาซีนด้านวิทยาศาสตร์   Discover – Science, Technology and The Future   เป็นแมกกาซีนวิทยาศาสตร์สำหรับผู้อ่านทั่วไป ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา  ในฉบับ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2013  หน้าปก แสดงข้อความหลัก – The Year in Science : 100 Top Stories of  2012. นำเสนอเรื่องราว เหตุการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ ของโลก 100 เรื่อง ของปี 2012

เนื้อหาภายในเล่มนำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่สำคัญ ทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลก  100 เรื่อง ที่เกิดขึ้นในปี 2012  โดยเหตุการณ์ที่ 1-10  ได้แก่
เหตุการณ์ที่ 1 – Found : The God Particle  นักฟิสิกส์ค้นพบ อนุภาคพระเจ้า หรือ อนุภาคฮิกส์
เหตุการณ์ที่ 2 – Mars Rover Stickd Its landing    การนำยาน Rover ลงจอดบนดาวอังคาร ภารกิจขององค์การนาซ่า
เหตุการณ์ที่ 3 -  A Census of your Inner Ecosystem  การสำรวจหาจุลินทรีย์ภายในร่างกายของเรา ที่อาจต่อสู้กับการอักเสปของลำใส้ใหญ่ ภูมิแพ้ และมะเร็ง
เหตุการณ์ที่ 4 -  Enivironmental Extreames of  the Year   สภาพแวดล้อมโลกของโลกมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การละลายน้ำแข็งขั้วโลก น้ำท่วม  ความแห้งแล้ง พายุ
เหตุการณ์ที่ 5 – Old Dads drive Evolution  ยีนส์ของคุณพ่อสูงวัย อาจก่อให้เกิดวิวัฒนาการได้
เหตุการณ์ที่ 6 – Space Taxis Take Off  บริษัทกำลังแก่งแยกกันเอาชนะในธุรกิจท่องอวกาศ
เหตุการณ์ที่ 7 – Q&A Mind-Control Robots  การควบคุมหุ่นยนต์ด้วยการปลูกฝังสมอง
เหตุการณ์ที่ 8 – Dark Matter Comes Into  View  แผนที่ของจักรวาลสีดำ ทำให้เราเห็นภาพใหม่
เหตุการณ์ที่ 9 -  Social jet Lag  รูปแบบการนอนหลับที่ผิดปกติ อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมถึง ความเครียด อัลไซเมอร์ หรือแม้แต่มะเร็ง
เหตุการณ์ที่ 10 – The Case for Fracking  การเจาะขุดก๊าซธรรมชาติที่เกิดปัญหาการปนเปื้อน

อ้างอิง – แมกกาซีน Discover – January / February 2013– ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วารสารเนเจอร์ : ภาพถ่ายวิทยาศาสตร์สุดยอดแห่งปี 2012

วารสารเนเจอร์ฉบับส่งท้ายปี 2012  นำเสนอภาพถ่ายสุดยอดแห่งปี  (Nature / News – 366 days: Images of  the year in Science.)
ในคอลัมน์ข่าว  ประกอบด้วยภาพถ่าย จำนวน 11  ภาพ  ได้แก่
1. ภาพ Freeze Frame  ภาพธารน้ำแข็งที่ทะเลอาร์คติก ที่มีการวิจัยพบว่ามีอัตราการละลายสูงมากกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา
2. ภาพ From the Wombs of  Bats. ภาพตัวอ่อนจากมดลูกของค้างคาว ใน 3 ระยะแสดงพัฒนาการของตัวอ่อน
3. ภาพ Thunder God  ภาพดวงดาวบนท้องฟ้า ที่ถ่ายจากกล้อง Very Large Telescope จากภูเขา Paranal ประเทศชิลี ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ขององค์กร European Southern Observatory
4. ภาพ Coffee Culture เป็นรูปภาพผลึกของคาเฟอีน (caffeine crustals) ในกาแฟ ที่นักดื่มกาแฟทุกวันไม่เคยเห็นมาก่อน
5. ภาพ Epic Plunge   ภาพนักกระโดดร่มกำลังก้าวพุ่งออกมาจากแคปซูลของบอลลูน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2012 ที่สูงเหนือรัฐนิวเม็กซิโกราว 39 กิโลเมตร เป็นการทดสอบการกระโดด และทำลายสถิติการกระโดดร่มสูงที่สุด

Read more…– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ระบุระดับความเสี่ยงในการเกิดโลกาวินาศของปี 2556

Doomsday Clock (นาฬิกาโลกาวินาศ) เป็นสัญลักษณ์ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อระบุระดับความเสี่ยงในการเกิดโลกาวินาศที่อาจเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศของโลก และหายนะที่เกิดจากมือมนุษย์อื่นๆ โดยที่เวลาเที่ยงคืนเป็นเวลาโลกาวินาศ ซึ่งคณะกรรมการจาก Atomic Scientists เป็นผู้พิจารณาตำแหน่งเข็มนาฬิกาในแต่ละปี โดยตำแหน่งเข็มนาฬิกาที่ยิ่งใกล้กับเวลาเที่ยงคืนบอกถึงความเสี่ยงที่มากขึ้นของมนุษย์ โดยการกำหนด Doomsday Clock เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูทำลายล้างประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2492 เป็นปีที่เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 2 นาทีก่อนเวลาเที่ยงคืนซึ่งเป็นผลมาจากการทดลองใช้ระเบิดไฮโดรเจน และปี พ.ศ. 2534 -2537 เป็นช่วงเวลาที่เข็มอยู่ห่างจากเวลาเที่ยงคืนมากที่สุด คือ 17 นาที ซึ่งในปีนั้นเป็นปีที่สงครามเย็นเริ่มบรรเทาและประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตยกเลิกคลังแสงสรรพาวุธ ส่วนปี พ.ศ. 2556 นักวิทยาศาสตร์ตัดสินให้เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 5 นาทีก่อนเวลาเที่ยงคืนซึ่งเป็นระดับเดิมจากปีที่ผ่านมา ซึ่ง Lawrence Krauss ประธานร่วมของคณะกรรมการกล่าวว่าตำแหน่งเข็มในปีนี้ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2555 เข็มนาฬิกาได้ขยับจาก 6 นาทีเป็น 5 นาทีก่อนเที่ยงคืน ซึ่งเป็นผลจากความแห้งแล้งและพายุที่มีความรุนแรงและในปีนี้ก็ยังไม่มีการพัฒนาใดๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556

 

 – ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2556 ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีการประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา โดยมีการหารือใน 2 ประเด็นคือการผลักดันให้มีการจัดตั้งมูลนิธิการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ (Thailand-U.S. Cooperative Foundation (TUSCO)) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา และประเด็นที่สองคือการหารือถึงกรอบแนวทางการจัดการประชุมประจำของสมาคมประจำปี 2556 โดยในเบื้องต้นที่ประชุมได้มีมติให้หัวข้อในการประชุมปีนี้คือ U.S.-Thailand Partnership for Advancing Competitiveness of Thailand in ASEAN Economic Community (AEC) ซึ่งการประชุมคาดว่าจะจัด ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในช่วงปลายเดือนเมษายน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

OriginOil พัฒนาวิธีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายที่มีประสิทธิภาพ

บริษัท OriginOil ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจอลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย พัฒนาวิธีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดแบคทีเรียออกจากสาหร่ายได้ถึงร้อยละ 99 ทำให้สามารถขยายระยะเวลาการเก็บรักษาสาหร่ายในรูปของเหลวที่มีความเข้มข้นได้นานยิ่งขึ้นจากเพียง 10-12 ชั่วโมงเป็น 12 วันหรือมากกว่า เพื่อรอการแปรรูปสาหร่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายครั้งสำคัญที่ทำให้การขนส่งสาหร่ายได้ในระยะทางที่ไกลมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องรีบทำการแปรรูป ส่งผลให้การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายมีต้นทุนที่ต่ำลง โดยกระบวนการเก็บเกี่ยวที่ใช้เรียกว่า Solid out of Solution (SOS) เป็นกระบวนการแยกของแข็งออกจากสารละลาย โดยการกำจัดน้ำออกจากสาหร่ายเพื่อทำให้สาหร่ายเข้มข้นขึ้นและใช้ไฟฟ้าเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ถึงร้อยละ 99 ส่วนเซลล์สาหร่ายที่มีผนังเซลล์หนาสามารถอยู่รอดได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มือถือตรวจ’สมองเสื่อม’

ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่สังคมไทยเราไม่ควรมองข้ามคือ งาน “สร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5″ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดขึ้น ณ สวนสุขภาพ ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรณรงค์กระตุ้นให้คนไทยรู้จักโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุและรู้จักโรคอัล ไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบในคนไทยมากถึงร้อยละ 30 หวัง ปลุกจิตสำนึกร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไข ป้องกันหรือชะลอการป่วยเป็นโรคนี้ เนื่องจากในอนาคตสังคม ไทยจะไม่ต่างจากอีกหลายประเทศทั่วโลกที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น อย่างไรก็ดี เวลานี้คนไทยมีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยตรวจคัดกรองโรคนี้ได้อีกทาง ได้แก่ ตรวจผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟน  ทั้งนี้ งาน “สร้างสรรค์สังคม ไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5″ มีกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งการให้ความ รู้เรื่องโรคอัลไซเมอร์ การบริการตรวจคัดกรองความจำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การเล่นเกมฝึกการใช้สมอง โปรแกรมคำนวณอายุสมอง นิทรรศการเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ มีทีมแพทย์ให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น กิจกรรมสอนทำยาหม่อง รวมถึงการสาธิตการเต้นเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนแบ่งกลุ่มเล่นกีฬาสี และบรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ผ่านภาพยนตร์ Read more…– ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ผัดไทยแช่แข็ง นวัตกรรม ซีพีเอฟ”

คุณวิโรจน์ คัมภีระ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวถึงงานเวที CPF AWARDS 2012 ที่จัดขึ้นในวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ ที่ สวทช. จัดเป็นปีที่ 4 แล้ว ดูรายละเอียด

รายการอ้างอิง :

“ผัดไทยแช่แข็ง นวัตกรรม ซีพีเอฟ”. เส้นทางเศรษฐี. ฉบับวันที่ 16 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.

 – ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments