magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

แนะนำโลกออนไลน์จีน และ พาลุย Thailand Mobile Expo

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวไอทีใน คุยโขมงข่าวเช้า

โลกอินเทอร์เน็ตของจีนที่มีผู้ใช้เกิน 564 ล้านคนไปแล้ว เขามีเว็บไซต์ลักษณะเหมือน ๆ กับที่เราใช้นั่นแหละ แต่เป็นภาษาจีนและ คนจีนทำเอง มีตัวอย่างเว็บดัง   มาเทียบให้ดูกัน  เบอร์ 1 ของโลกอย่าง Google พอมาจีน ก็ต้องยอมให้ Baidu เป็นผู้นำเว็บค้นหาแทน เพราะเขามีเนื้อหาเป็นภาษาจีนให้ค้นหาได้แทบทุกอย่าง คนจีนจึงนิยมกว่า / หรือเว็บดูวิดีโอแบบ  YouTube ที่จีนเขามี Youku ชื่อคล้ายกัน แต่เนื้อหาจีนเน้น ๆ
Read more…– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

PCAST จัดทำรายงานทบทวนการประเมินเครือข่ายและ R&D ด้าน InfoTech

PCAST (the President’ s Council of Advisors on Science and Technology) หรือสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำรายงานทบทวนเสนอต่อประธานาธิบดีและสภาผู้แทนฯ ในหัวข้อ “การวางแผนอนาคตดิจิตอล: การวิจัยและพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ” (Designing a Digital Future: Federally Funded Research and Development in Networking and Information Technology) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลาง ภายใต้แผนงานการประเมินเครือข่ายภาครัฐและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและมีความเกี่ยวข้องกับสาขาการวิจัยและพัฒนาด้าน super-computing  high-speed networking  cybersecurity  software technology และ information management โดยรายงานให้ข้อสังเกตไว้ว่าการวิจัยในสาขาที่สำคัญของ NIT (networking and information technology, เครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ไม่ได้รับความสนใจและขาดการลงทุนที่เพียงพอ และเสนอแนะว่าควรมีการสร้างความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง NIT โดยเฉพาะในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การรักษาความลับของข้อมูล การพลังงาน การคมนาคม นอกจากนี้ยังเสนอมาตราการสร้างความเข้มแข็งแก่กำลังคนของประเทศด้าน NIT โดยเน้นการพัฒนาแผนงานฝึกอบรม โอกาสการศึกษาต่อ และกลไกอื่นๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดำเนินการผ่านองค์กรที่มีลักษณะเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นได้หลากหลายและมีการสนับสนุนงบประมาณในสาขา NIT อย่างจริงจัง และยังเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการ PCAST ระดับสูงเพื่อให้ข้อแนะนำเชิงยุทธศาสตร์ โดยเชื่อว่าการนำข้อเสนอแนะและมาตรการในรายงานไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม จะทำให้สหรัฐฯ คงความเป็นผู้นำด้าน NIT และแข่งขันในระดับโลกได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein

Virginia M.-Y. Lee  Kelvin C. Luk และคณะจากมหาวิทยาลัยเพนซิเวเนียทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein ซึ่งเกิดมาจากก้อนโปรตีนเล็กๆ ที่เรียกว่า Lewy bodies มารวมตัวกัน ซึ่งผลการศึกษายืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการตายของเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine จากโปรตีน alpha-synuclein กับอาการสั่นของร่างกายและความไม่หยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูที่มีสุขภาพสมบูรณ์แล้วทำการตรวจสอบสมองของหนู เมื่อผ่านไป 30 วันพบว่าโมเลกุล alpha-synuclein แพร่กระจายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ ข้างเคียง ซึ่งพอสรุปได้ว่าโมเลกุล alpha-synuclein สามารถเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ และหลังจากนั้นอีก 30 วันพบว่าการแพร่กระจายของโมเลกุล alpha-synuclein ขยายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ มากขึ้น และเมื่อผ่านไป 6 เดือนหลังจากฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูพบว่ามี  Lewy bodies ในเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine ทำให้ผลิตสาร dopamine น้อยลง ส่วนการทดสอบลักษณะภายนอกพบว่าหนูวิ่งบนท่อนไม้ได้ไม่ดีเท่าเดิมเนื่องจากสมดุลไม่ดีและเกาะกรงน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับการฉีดน้ำเกลือแทน ซึ่งผลการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยบางกลุ่มสนับสนุนว่าการแพร่กระจายจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์เกิดขึ้นได้ในคน โดยปลูกถ่ายเซลล์สมองของเด็กทารกเข้าไปในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อผ่านไป 14 ปี พบว่ามี Lewy bodies ในเซลล์สมองสมบูรณ์ที่ได้รับการปลูกถ่ายเมื่อ 14 ปีก่อน นอกจากการศึกษานี้ Lee และคณะกำลังศึกษาหาวิธีสร้างภูมิต้านทานเพื่อหยุดการแพร่กระจายของโมเลกุล alpha-synuclein ในสมอง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อเพลิงชีวภาพอาจไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) เป็นทางเลือกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ในวารสาร the journal Nature Climate Change รายงานว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนตายก่อนเวลาอันสมควรและลดปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งรายงานเกิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในการใช้พลังงานชีวภาพที่มากขึ้นในสหภาพยุโรป โดยต้นปอปลาร์ (Poplar) ต้นวิลโลว์ (Willow) และต้นยูคาลิปตัส (Eucalyotus) ซึ่งนิยมนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในยุโรป เนื่องจากมีการเจริญเติบโตเร็วเหมาะสำหรับการนำมาใช้ผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการปล่อยสารไอโซพรีน (Isoprene) ในขณะเจริญเติบโต ซึ่งถ้ารวมตัวกับมลภาวะทางอากาศอื่นๆ แล้วโดนแสงแดดทำให้เกิดการสร้างก๊าซโอโซนที่เป็นพิษขึ้นมา โดยจากรายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 จะมีคนตายก่อนเวลาอันควรประมาณ 1,400 คนในยุโรปต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินกว่า 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังลดผลผลิตต่อปีของข้าวสาลีและข้าวโพด โดยคิดเป็นเงินกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากโอโซนทำให้การเจริญเติบโตเสียหาย รายงานยังเสนอว่าควรมีการจำกัดสถานที่ในการปลูกต้นไม้ที่ใช้ผลิตพลังงานชีวภาพให้ห่างจากบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศ ซึ่งช่วยจำกัดปริมาณของก๊าซโอโซนที่มีผลต่อปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายกว่า 22,000 คนต่อปีในยุโรป และพันธุวิศวกรรมอาจนำมาใช้เพื่อลดการปล่อยสารไอโซพรีน

นอกจากนี้เชื้อเพลิงชีวภาพมักถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุการสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาอาหาร เนื่องจากการปลูกต้นไม้ที่ใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะไปแย่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลิตผลทางการเกษตร ดังนั้นกรรมการของยุโรปออกมาประกาศว่าจะจำกัดการปลูกต้นไม้ที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นร้อยละ 5 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 109 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการเจริญเติบโตของกลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก

กลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็กมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาทางนวัตกรรมและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กภายในประเทศทำให้มีการจ้างงานหลายสิบล้านคนหรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของการจ้างงานในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี มีผลที่สำคัญต่อการสร้างงานในทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯ มีแผนที่ต้องการสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานของรัฐบาลส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ขึ้น เช่น Apple ซึ่งทำให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลสหรัฐฯ แถลงรายละเอียดแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มคือ บริษัทที่เพิ่งเปิดและกำลังเติบโต และตลาดที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งแผนปฏิบัติการนี้อยู่ในวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Cross-Agency Priority (CAP) Goals ที่ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐบาลในนโยบายที่มีการจัดลำดับความสำคัญแล้ว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้อำนวยการ DOE ลาออก

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 7 กุมภาพันธ์  2556
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์  Steven Chu (แสดงรูปภาพ)  ผู้อำนวยการ  กระทรวงพลังงาน สหรัฐอเมริกา (US Department of Energy, DOE)  ประกาศจะลาออกจากตำเหน่งเร็วๆ นี้ ซึ่งได้มีการทำนายไว้อย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมมา
ในจดหมายถึงพนักงานของ DOE  – Chu ได้เน้นถึงความสำเร็จ ของการเรียงต่อเนื่องของเหตุการณ์ ที่เริ่มต้นด้วยโครงการ  Advanced Research Project Agency-Energy ที่เป็นการหลอมฮับการประยุกต์งานวิจัยเพื่อนวัตกรรมพลังงาน 5 ประเภท ที่ทำให้ประเทศมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในพลังงานโซล่าเซลล์ และ พลังงานลม

อ้างอิง :  Chu to step down .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7435), 10 – 11.
http://www.nature.com/news/seven-days-1-7-february-2013-1.12364– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักประดิษฐ์ชิงช้าสวรรค์คนแรกของโลก จอร์จ เฟอร์ริส

กูเกิ้ลร่วมฉลองวาเลนไทน์และวันเกิด จอร์จ เฟอร์ริส ด้วยการให้คนเล่นสนุกกับเกมส์กดปุ่มเสี่ยงทายเนื้อคู่ เพียงแค่กดปุ่มรูปหัวใจ เครื่องเล่นก็จะจับคู่สัตว์แต่ละชนิดในคณะละครสัตว์ บ้างก็ได้กระต่ายคู่กับเต่า บ้างก็ได้ลิงคู่กับช้าง ดูน่ารักน่าชัง หรือ บางทีกดแล้วไม่มีคู่ก็มี ดูอย่างเจ้าหมาป่าที่ไร้คู่แต่ก็นอนดูทีวีสบายใจเฉิบนั่นไง

 

จอร์จ เฟอร์ริส  วิศวกรชาวอเมริกาผู้ประดิษฐ์ชิงช้าสวรรค์คนแรกของโลก เกิด 14 กุมภาพันธ์ 1859 เสียชีวิตวันที่ 22 พฤศจิกายน 1896

รายการอ้างอิง :

นักประดิษฐ์ชิงช้าสวรรค์คนแรกของโลก จอร์จ เฟอร์ริส. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556.– ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

FDA เสนอกฎระเบียบใหม่ 2 เรื่อง ด้านความปลอดภัยทางอาหาร

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration, FDA) เสนอกฎระเบียบใหม่ 2 เรื่อง ด้านความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหาร (Foodborne illness) ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยทางด้านอาหารให้ทันสมัย (The FDA Food Safety Modernization Act, FSMA) เป็นผลสืบเนื่องมาจากความคืบหน้าภายใต้รัฐบาลโอบามาในด้านความปลอดภัยทางอาหาร โดยขยายกฎระเบียบออกไปยังอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ สมาคมผู้บริโภค หน่วยงานราชการอื่นๆ และสมาคมนานาชาติ ซึ่งกฎระเบียบทั้งสองเรื่องเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของประเทศที่จะพัฒนาวิธีการป้องกัน และการจัดระบบความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และอาหารที่นำเข้า โดยกฎระเบียบเรื่องแรกต้องการให้ผู้ผลิตอาหารที่จะจำหน่ายในสหรัฐฯ ทั้งที่ผลิตในและนอกประเทศมีการพัฒนาแผนการป้องกันอย่างเป็นทางการเพื่อไม่ให้อาหารเป็นสารก่อโรคได้ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในหนึ่งปีหลังจากกฎระเบียบเสร็จสิ้น โรงงานผลิตอาหารขนาดใหญ่ส่วนมากพร้อมปฏิบัติตาม ส่วนธุรกิจขนาดเล็กให้เวลามากกว่า ในขณะที่กฎระเบียบเรื่องที่สองเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานตามหลักวิทยาศาสตร์และความเสี่ยงที่เป็นพื้นฐานเพื่อการผลิตและการเก็บเกี่ยวผักผลไม้อย่างปลอดภัย โดยตั้งเป้าหมายว่าฟาร์มขนาดใหญ่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามภายใน 26 เดือน หลังจากกฎระเบียบเสร็จสิ้นและมีการลงทะเบียนกับรัฐบาลกลาง ส่วนฟาร์มขนาดเล็กให้เวลามากกว่า และสำหรับฟาร์มทุกขนาดให้เวลาเพิ่มเพื่อดำเนินการข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556
– ( 70 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยค้นพบโปรตีนที่เป็นกุญแจสำคัญของการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์มะเร็ง ดังต่อไปนี้

ถ้าเซลล์มะเร็งไม่มีการแพร่กระจาย เช่นเดียวกับเนื้องอกหลายๆ ชนิด ก็จะไม่มีใครตายเพราะโรคมะเร็งอีกต่อไป

Zhi-Ren Liu ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัย Georgia State University ใน Atlanta กล่าวว่าในหลายๆ กรณีก้อนเนื้อหรือมะเร็งจะไม่ไปรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ  ในร่างกาย แต่เมื่อไหร่ที่เซลล์มะเร็งเหล่านั้นแพร่กระจายออกไป มันจะไปรบกวนระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ และนี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

ศาสตราจารย์ Liu และคณะนักวิจัยได้ค้นพบวิธียับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งโดยการรบกวนการสื่อสารระหว่างโปรตีนสองชนิดที่อยู่ภายในเซลล์ โปรตีน p68 และ calcium calmodulin โปรตีนทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่เหมือนสวิทช์เปิดปิดกระบวนการทำงานของเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่หรือการรักษาและการตอบสนองของ ระบบภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญโปรตีนทั้งสองชนิดนี้คอยสนับสนุนการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
Read more…– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รักษาโรคเบาหวานในสุนัขได้แล้ว

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์เรื่องใหม่ล่าสุด ในคอลัมน์ข่าววิทย์  มีรายละเอียดดังนี้
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Universitat Autnoma de Barcelona (UAB) ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคเบาหวานประเภท 1 ในสัตว์ใหญ่อย่าง

สุนัขได้แล้ว โดยใช้วิธีการบำบัดทางยีนเพียงเซสชันเดียว

สำหรับสุนัขที่ได้รับการบำบัดทางยีนนั้นสามารถมีสุขภาพดีและไม่มีอาการของการเป็นโรคเบาหวานอีกเลย และในบางตัวนั้น แม้จะเฝ้าดูอาการมาตลอด 4 ปี ก็ไม่ปรากฏพบอาหารของ โรคเบาหวานเลย ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Diabetes แล้ว

การบำบัดทางยีนเป็นการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อย และการรักษาครั้งนี้ก็เป็นการบำบัดโดยใช้ยีนเพียงเซสชันเดียวด้วยวิธีการฉีดยาไปที่ขาหลังของสุนัขด้วยเข็มฉีดยาธรรมดาที่ใช้กันในวงการศัลยกรรมตกแต่งทั่วไป การฉีดดังกล่าวจะทำให้เกิดเวกเตอร์การบำบัดทางยีนโดยมีเป้าหมายอยู่ 2 ประการคือ กระตุ้นอินซูลิน และกระตุ้นกลูโคไคเนส

อ้างอิง เว็บไซต์วิชาการดอทคอม – http://www.vcharkarn.com/vnews/154848– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments