magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

นักวิทยาศาสตร์ : อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. clarke)

เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 ที่ซัมเมอร์เซต สหราชอาณาจักร  และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2008 ที่ โคลอมโบ ศรีลังกา เป็นชาวอังกฤษ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็นนักเขียน, นักประดิษฐ์ ผลงานที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่ นิยายชุด จอมจักรวาล และชุดดุจดั่งอวตาร นิยายที่เขียนมีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ชาวศรีลังกา ถือว่า อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็น “ความภูมิใจของลังกา” มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคอย่างดาวเทียมจนได้รับเกียรติให้นำชื่อตั้งเป็นชื่อวงโคจรที่ดาวเทียม คือ “วงโคจร คลาร์ก อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ได้กล่าวไว้ว่า

“The only way to discover the limits of the possible is to go  beyond them into the impossible”
“หนทางเดียวที่จะค้นพบขีดจำกัดของความเป็นไปได้ นั่นคือ การก้าวข้ามไปสู่ความเป็นไปไม่ได้”

แหล่งที่มา :
น้องโนเนะ.  “วาทะนักวิทย์ : อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก”. Update. 26(280) : 105 ; มกราคม 2554.– ( 171 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ : โรเบิร์ต นอร์ตัน นอยซ์ (Robert Norton Noyce)

เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1927 รัฐไอโอวา และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1990 รัฐเทกซัส เป็นนักประดิษฐ์ ผู้มีความเชี่ยวชา ด้านเทคโนโลยี โดยเป็นผู้คิดค้นวิธีการสร้างแผงวงจรไฟฟ้า (ไอซี หรือ ชิป) ที่ผลิตจากซิลิคอนสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ ร่วมกับ แจ็ก คิลบี และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแฟร์ไชลด์ เซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงบริษัทอินเทล ซึ่งนับเป็นการพลิกประวัติคาสตร์แห่งวงการอิเล็กทรอนิกส์ จนส่งผลให้เขาได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา เขากล่าวไว้ว่า

“Don’t be encumbered by history. Go off and do something wonderful”
“อย่าปล่อยให้อดีตมากีดกั้น จงก้าวออกมา และสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดขึ้น”

แหล่งที่มา :
น้องโนเนะ.  “วาทะนักวิทย์ : โรเบิร์ต นอยซ์”. Update. 27(291) : 105 ; มกราคม 2555.– ( 180 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ : ดมิตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev)

เมนเดเลเอฟ (หรือ เมนเดลีฟ) ในชื่อเต็มว่า ดมิตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ (Dmitri Ivanovish Mendeleev) เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834- ถึงแก่กรรมวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมนเดเลเอฟ ได้เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อเป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เมนเดเลเอฟได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากมหาวิทยาลัยอีกด้วย และได้รับปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในที่สุด เมนเดเลเอฟ คือ นักเคมีชาวรัสเซีย ผู้คิดค้นตารางพีริออดิก (Periodic table) ที่จัดเรียงธาตุตามลำดับของน้ำหนักเชิงอะตอม แบ่งธาตุออกเป็นคาบและหมู่ ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีคุณสมบัติคล้ายกัน วิธีนี้ทำให้เมนเดเลเอฟ สามารถทำนายคุณสมบัติของธาตุที่ไม่รู้จักได้ ซึ่งเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้นในเวลาต่อมา ความรู้เกี่ยวกับอะตอมมีมากขึ้นด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงปรับปรุงตารางพีริออดิกของเมเดเลเอฟอีกเล็กน้อย จนในที่สุดก็ได้ตารางธาตุแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เมนเดเลเอฟจึงถูกยกย่องให้เป็น “Father of the Periodic Table” หรือ “บิดาแห่งตารางธาตุ”

เขากล่าวไว้ว่า “Pleasures flit by-they are only for yourself ; work leaves a mark of long-lasting joy, work is for others.”

“ความสุขพ้นผ่านไปอย่างรวดเร็ว และสุขเพียงลำพัง แต่ผลงานกลับทิ้งร่องรอยแห่งความสุขเอาไว้เนิ่นนาน และยังคงอยู่เพื่อผู้อื่น”

แหล่งที่มา:
น้องโนเนะ.  “วาทะนักวิทย์ : ดมิตรี เมนเดเลเยฟ”. Update. 26(285) : 105 ; มิถุนายน 2554.– ( 2195 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการละเลยเรื่องโรคเขตร้อน

เป็นรายงานของบริษัท Thomson Reuters โดยแผนก  Global Research Report, GRR ในชื่อเรื่อง (What does it mean to be “NEGLECTED” ?)  พร้อมแสดงภาพประกอบที่เข้าใจได้ง่าย  เป็นบทความที่วิเคราะห์ด้วยการนับจากจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ (Research Article)  ซึ่งเป็นหลักการของการศึกษา Bibliometrics

สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
จากชื่อเรื่องที่สื่อถึงความนัย ว่ามีการละเลย ทอดทิ้ง ในเรื่องการวิจัยเพื่อรักษาโรคเขตร้อน ซึ่งมักเป็นหัวข้อที่คลุมเครือบ่อยๆเสมอมา รายงานนี้เป็นผลจากการทบทวน ตรวจสอบ ด้วยหลักการของการศึกษา Bibliometrics study  แสดงผลออกมาเป็น ภูมิทัศน์งานวิจัยจากสิ่งที่ซับซ้อน สามารถเปิดเผยออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยพบหลักฐานว่ามีความสนใจมากขึ้นในการวิจัยเพื่อหาวิธีรักษา และควบคุมโรคเขตร้อนในสาขาต่างๆ จากประเทศต่างๆ ยังพบว่ามีการเกิดขึ้นของศูนย์กลางการวิจัยในภูมิภาคใหม่  สามารถให้รายละเอียดสำคัญนี้แก่ผู้บริหารที่กำหนด ตัดสินนโยบาย
ของวงการสาธารณสุขทั่วโลกได้

Read more…– ( 151 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดึงไอทีสานต่อการเรียนรู้ – ฉลาดทันกาล

การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่  รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีเหล่านั้น ไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

จึงจำเป็นต้องสร้างเยาวชนของชาติเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่โดยการจัดสภาพแวด ล้อมใหม่ทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัย ที่สาคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษา
Read more…– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คนแห่ชมหนังฮอบบิทรอบปฐมทัศน์

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานวันนี้ โดยคาดหมายว่า  ผู้คนราว 100,000 คนจะหลั่งไหลเข้าไปอยู่ใจกลางกรุงเวลลิงตันของนิวซีแลนด์ เพื่อร่วมชมภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์เรื่อง”เดอะฮอบบิท”จากฝีมือการกำกับของปี เตอร์ แจ็คสัน   ซึ่งเคยฝากผลงานเอาไว้จากภาพยนตร์ไตรภาคเรื่องลอร์ด ออฟ เดอะริงส์   ด้วยภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อให้เกิดกระแสคลั่งไคล้มิดเดิล เอิร์ธในนิวซีแลนด์   แม้แต่กรุงเวลลิงตันยังเรียกตัวเองว่า เดอะมิดเดิล ออฟ มิดเดิล เอิร์ธ  ขณะที่ สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวก็ร่วมผลักดันสนับสนุนเดอะฮอบบิท เพื่อหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากอีกครั้ง เหมือนอย่างหนังเรื่องลอร์ด ออฟ เดอะริงส์ ที่ชาวโลกแห่กันไปเที่ยวนิวซีแลนด์มาแล้ว Read more…– ( 118 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คลิปฮา ชิวาว่าเท้าไฟ!?!

“Devin Contreras” เผยแพร่วีดิโอสุดน่ารักนี้ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ ไม่ถึง 1 อาทิตย์ แต่มีผู้คลิกเข้ามาชมทะลุ 1 ล้านครั้งเข้าไปแล้ว

วีดิโอดังกล่าว ได้บันทึกพฤติกรรมของเจ้าสุนัขพันธุ์ “ชิวาว่า” ที่มีชื่อว่า “สลูปปี้” โดยเจ้าตูบตัวนี้ พยายามเข้าไปให้ใกล้ ‘จานไก่งวง’ ในวันขอบคุณพระเจ้าของชาวอเมริกาที่วางอยู่บนเคาน์เตอร์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ท่าทางของเจ้าสลูปปี้ก็เลยออกมาอย่างที่เห็น คือเจ้าตูบเดินกลับไปกลับมาโดยใช้ขาหลัง พร้อมกับที่ขยับขาหน้าขึ้นลงไปมา อีกทั้งยังส่ายหางดุ๊กดิ๊ก คล้ายกับกำลังเต้น แถมคนทำคลิปยังเลือกเพลง “Conga” สุดมันส์ของ “กลอเรีย เอสเตฟาน” ที่ช่างตรงกับจังหวะการเคลื่อนไหวของเจ้าตูบ ใส่เข้าไปด้วย ก็เลยดูเหมือนกับว่าเจ้าชิวาว่ากำลังแดนซ์อยู่อย่างสนุกสนาน

เป็นคลิปเรียกรอยยิ้มน่ารักๆ สำหรับคลายเครียดจากการทำงานได้ดีจริงๆ คนรักสุนัขไม่ดูไม่ได้แล้ว.

รายการอ้างอิง :

คลิปฮา ชิวาว่าเท้าไฟ!?!. เดลินิวส์ (ต่างประเทศ). วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555.– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลการศึกษาชี้น้ำทะเลสูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้

คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐเปิดเผยรายงานฉบับหนึ่งระบุว่า ระดับน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่คณะกรรมการระหว่างรัฐว่าด้วยสภาพ อากาศเปลี่ยนแปลงแห่งสหประชาชาติ(ไอพีซีซี) คาดไว้ถึงร้อยละ60  โดยปัจจุบันระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.2 มิลลิเมตร  เมื่อเทียบกับรายงานการประเมินของไอพีซีซีที่ระบุว่า  ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นปีละ 2 มิลลิเมตร   จากตัวเลขใหม่นี้ทำให้พบว่า  โลกกำลังมีระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  และเมื่อถึงสิ้นศตวรรษนี้  ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นราว 1 เมตร

Read more…– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก.วิทย์เปิดยุทธศาสตร์นาโนหวังผู้นำในอาเซียน

กระทรวงวิทยาศาสตร์เปิดนโยบายนาโนเทคโนโลยีเผย 5 ยุทธศาสตร์หลัก หวังเป็นผู้นำการวิจัยด้านนาโนฯ ของอาเซียน

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนาโนเทคโนโลยีก็เป็นวิทยาศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางและเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกสาขาวิชา เช่น การเกษตร โภชนาการ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้มีการจัดทำนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (2012-2121) ที่ผ่านการอนุมัติจากมติคณะรัฐมนตรี เพื่อเสริมสร้างการแข่งขันระดับชาติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีใน ภูมิภาคอาเซียน
Read more…– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นำร่องวัยโจ๋ ใช้บทเรียนออนไลน์

“บทเรียนแบบนี้เป็นบทเรียนที่ใช่เลย ทำให้ผู้เรียนรู้จริง เมื่อรู้จริงแล้วไม่ว่าจะพบกับข้อสอบพลิกแพลงอย่างไรก็น่าจะทำได้”

นี่คือเสียงขานรับจาก “ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล” ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่กล่าวว่า บทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ (SAS Curriculum Patthways)  มีความน่าสนใจอย่างยิ่งและเข้าใจง่าย

Read more…– ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments