magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในการสังเคราะห์โครโมโซมยีสต์

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถสังเคราะห์โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูง) เป็นครั้งแรกในห้องทดลองสามารถสังเคราะห์โครโมโซม III จากยีสต์ Saccharomyces cerecisiae ซึ่งเป็นครั้งแรกของการสังเคราะห์โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูง เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส รวมไปถึงสัตว์ พืช และเชื้อรา) ซึ่งความซับซ้อนของโครโมโซมมากกว่าในแบคทีเรียที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลิ่นของเพศชายมีผลต่อศึกษาทางชีวการแพทย์

นักประสาทวิทยา ทำการศึกษาเรื่องอาการเจ็บปวดในสัตว์ทดลอง สัตว์ทดลองจะมีการแสดงความรู้สึกและปฏิกิริยาตอบสนองแตกต่างกันออกไป เมื่อเขาได้ทดลองฉีดสารระคายเคืองที่เท้าของหนูทดลอง โดยปกติหนูทดลองจะเลียบริเวณที่มีการฉีดยาซึ่งเป็นสัญญาณว่า หนูทดลองได้รับความเจ็บปวด Mogil สังเกตเห็นว่า และสิ่งที่ไม่คาดคิดคือ หนูทดลองที่ไม่มีการแสดง อาการเจ็บปวดเมื่อได้รับการดูแลจากนักวิจัยเพศชาย เขาจึงสันนิษฐานว่า กลิ่นเพศชายทำหน้าที่เหมือนยาลดความเจ็บปวดให้แก่หนูทดลอง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 6 สนุกกับค่ายวิทยาศาสตร์การบิน

ในค่ายวิทยาศาสตร์การบินจะมีกิจกรรมฐานการบินที่เป็นการเรียนรู้ทฤษฏีด้านการบินและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เน้นการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง มีการแบ่งกลุ่มน้องๆ เป็น 5 กลุ่ม และเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ต่างๆ หลังจากนั้นจะลงมือฝึกประกอบเครื่องบินด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้แนะนำอย่างใกล้ชิด ฐานการเรียนรู้มี 5 ฐานดังนี้ คือ 1. ฐานหลักอากาศพลศาสตร์เบื้องต้น 2 .ฐานฝึกบินด้วยคอมพิวเตอร์ 3. ฐานประกอบเครื่องบินเล็ก 4. ฐานการออกแบบเครื่องบินบังคับวิทยุ 5. ฐานฝึกบินจริง

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp

แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 5 การสร้างเครื่องบินเล็ก (บังคับวิทยุ)

ก่อนลงมือสร้างเครื่องบินเล็กจำเป็นต้องเตรียมวัสดุให้พร้อม วัสดุส่วนมากสามารถหาซื้อได้จากร้านเครื่องเขียนทั่วไป มีบางรายการที่จำเป็นต้องซื้อจากตลาดหรือแหล่งอื่นๆ เช่น ร้านขายเครื่องมือช่างเป็นต้น การสร้างเครื่องบินเล็กเป็นเรื่องสนุกไม่น้อยสำหรับมือใหม่ เพราะนอกจากจะได้ลงมือสร้างเครื่องบินด้วยตนเองแล้ว การเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นและเพลิดเพลินเช่นกัน และหลังจากเตรียมอุปกรณ์แล้ว ยังได้สนุกกับการลุ้นว่าเครื่องบินจะพร้อมบินหรือไม่

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp

แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 4 การออกแบบเครื่องบินเล็กเบื้องต้น

สำหรับการออกแบบเครื่องบินเล็กเบื้องต้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ 1. แรงขับ 2. น้ำหนักรวมพร้อมบิน 3. คำนวณขนาดของปีก 4. คำนวณหาความยาวลำตัวที่เหมาะสม 5. หาขนาดของแพนระดับ 6. หาขนาดของแพนดิ่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เครื่องบิน ลอยตัวอยู่กลางอากาศได้ตามการออกแบบ

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp

แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 28 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 3 หลักพื้นฐานการบิน

จากความฝันสู่ความจริง จากจินตนาการสู่การค้นคว้าและพัฒนา การบินไปไหนมาไหนได้เหมือน นก เป็นความฝันของมนุษย์มานานแสนนานตั้งแต่สมัยโบราณ เหล่านักประดิษฐ์ที่มีความฝันเดียวกันได้ค้นคว้าและพัฒนาเรื่อยมา จนมนุษย์สามารถบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จ และเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านการบินในปัจจุบัน

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp

แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 18 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 2 ภาษาการบิน

มารู้จักภาษาการบินกันก่อน เพื่อจะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการบินและเครื่องบินดียิ่งขึ้น เช่น อากาศพลศาสตร์ ปีกเล็กแก้เอียง กระแสอากาศ รูปร่างปีก มุมปะทะ หลักการของเบอร์นูลลี่ ห้องนักบิน คันบังคับที่ตั้งตรง แพนปีกปรับระดับ แพนปีกเพิ่มแรงยก  การเคลื่อนที่สัมพัทธ์ แพนหางเสือ ปีกรักษาเสถียรภาพ เป็นต้น

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp
แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 1 ประวัติการบินของไทย

การบินของไทยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ ปีพ.ศ.2454 โดยพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เป็นนักบินคนแรกของไทยที่ได้ทดลองบินเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรต์จากนั้นได้คัดเลือกนายทหารไทย 3 นาย ได้แก่ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ(สุณี สุวรรณประทีป) นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปะสิทธิ์(หลง สิน-สุข) และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต(ทิพย์ เกตุทัต) ไปศึกษา ณ ประเทศฝรั่งเศส และกลับมาเข้าประจำการเป็นหน่วยบินแรกของกองทัพอากาศ

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp

แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทและพฤติกรรม

เซลล์ประสาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการเคลื่อนไหว การขยับไปมาและการบิดตัวไปมาของตัวอ่อนแมลงหวี่ Drosophila melanogaster การกระตุ้นเซลล์ประสาทชนิดเดียวกันในสัตว์ต่างชนิด ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันออกไป การค้นพบนี้สามารถนำมาใช้อธิบายความซับซ้อนของสมอง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับ สมองของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของเซลล์ประสาทและพฤติกรรม และ วางโครงการเพื่อเตรียมทำแผนที่ความสัมพันธ์ทางกายภาพของเซลล์ประสาทในตัวอ่อนแมลงหวี่ Drosophila ซึ่งจะเป็นข้อมูลเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาการทำงานของ
เซลล์ประสาทร่วมกับการควบคุมพฤติกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สิ่งที่น่ากังวลสำหรับการทำเหมืองแร่ในทะเลลึก

รัฐบาลประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea: PNG) และบริษัท Nautilus   Minerals ประเทศแคนาดา ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการทำเหมืองแร่ในทะเลลึก ภายใน 2 ปีข้างหน้า

โลกของเราจะมีหุ่นยนต์สำหรับตรวจสอบแร่ โดยสามารถตรวจสอบแร่ทองแดงและทองคำในทะเลลึกถึง 1500 เมตร นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งวิตก กังวลกับการทำเหมืองแร่ที่จะเริ่มต้นขึ้น โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในทะเลลึก สิ่งมีชีวิต โครงการนี้  คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติการได้ภายใน 30 เดือน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 26 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments