magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

บทบาทของการศึกษาสาขา STEM ทางด้านความมั่นคงและปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

ปัจจุบันบริษัทต่างๆ ในสหรัฐ เริ่มเห็นความสำคัญของความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นอาชีพที่ต้องการความเชียวชาญ วิธีการหนึ่งที่ทำได้คือการสนับสนุนการศึกษาด้าน STEM (Science, Technology, Engineering, และ Math) มีคนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า คนที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นไม่ต่างจากวิศวกร ทั้งที่ความเป็นจริง เทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน เช่น ทางกลศาสตร์ การซ่อมบำรุง วิศวกรรม และการจัดการด้านระบบ เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร เพื่อรับมือกับปัญหาความมั่นคงและความปลอดภัยทางข้อมูล การป้องกันการโจมตีทางโลกไซเบอร์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีกำลังคนที่มีประสบการณ์และความเข้าใจในความต้องการของธุรกิจ การศึกษาด้าน STEM จึงเป็นสิ่งที่ประเทศจะต้องให้ความสำคัญ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/19334-science-and-technology-news– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกุ้ง พลาสติกทางเลือกในอนาคต

ปัจจุบันเรามีวิธีการใหม่ในการผลิตพลาสติกที่ทำให้เราไม่ต้องรับผิดชอบในการกำจัด เพราะมันสามารถย่อยสลายได้ภายในสองสัปดาห์ในสภาพแวดล้อมทั่วไปอีกทั้งยังกลายเป็นปุ๋ยที่ช่วยเร่งการเติบโตของพืชอีกด้วย สารทดแทนในการผลิตถุงพลาสติกผลิตจากส่วนผสมของไคโตซานและโปรตีนจากไยไหมถูกตั้งชื่อว่า Shrilk นอกจากนี้มันยังถูกผสมด้วยผงไม้เพิ่มเข้าไปเพื่อกำจัดปัญหาการหดตัวของพลาสติกดังกล่าวได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/19334-science-and-technology-news– ( 184 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชุดทดสอบ (ทางเคมี) อย่างง่ายทำงานอย่างไร?

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

หลายคนคงรู้ว่าชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit) มักใช้เพื่อคัดกรองตัวอย่าง ก่อนที่จะนำไปทดสอบอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง เพื่อให้ได้ผลถูกต้องมากขึ้น มีบทความหนึ่งแนะนำให้พวกเรารู้จักชุดทดสอบอย่างง่ายมากขึ้น เช่น พูดถึงหลักการทำงานของชุดทดสอบอย่างง่าย ชุดทดสอบอย่างง่ายที่ดีควรมีสมบัติอย่างไร ปฏิกริยาเคมีที่นำมาใช้กับชุดทดสอบอย่างง่ายมีหลายปฏิกิริยา ได้แก่ 1. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับด่าง 2. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน 3. ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน 4. ปฏิกิริยาของเอนไซม์ นอกจากนี้ในบทความยังอธิบายหลักการทำงานของชุดทดสอบการตั้งครรภ์

ติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : ศุภมาส ด่านวิทยากุล. “ชุดทดสอบ (ทางเคมี) อย่างง่ายทำงานอย่างไร?” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 17-20 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สนุกกับผลึกหิมะ

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง สนุกกับผลึกหิมะ มีการแนะนำให้รู้จักผลึกหิมะหลากหลายแบบพร้อมทั้งมีรูปภาพประกอบ เช่น ผลึกหิมะรูปปริซึมอย่างง่าย (simple prism) เป็นผลึกหิมะที่มีรูปร่างอย่างง่ายๆ มีรูปร่างคล้ายกล่องขนม Koala’s March ซึ่งมีหน้าตัดรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า หากยาวหน่อยก็เรียกว่า แท่ง (column) แต่หากสั้นและแบนก็เรียกว่า แผ่น (plate) ผลึกหิมะรูปปริซึมยังสามารถมีฝาปิดทั้ง 2 ด้าน บน-ล่าง โดยฝาปิดอาจมีรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย ผลึกหิมะแบบนี้เรียกว่าแท่งมีฝาปิด (capped column) นอกจากนี้ในบทความยังพูดถึงโมเดลผลึกหิมะและการสร้างซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจให้คนเราสร้างสรรค์งานศิลปะง่ายๆ จากผลึกหิมะในธรรมชาติ

ติดตามอ่านเรื่องราวฉบับเต็มได้จาก : บัญชา ธนบุญสมบัติ. “สนุกกับผลึกหิมะ” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 13-16 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หมัดทรงพลังของกั้งตั๊กแตน 7 สี: ต้นแบบวัสดุที่รอคอย

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยนำโดยเดวิด ไคเซลอัส (David Kisailus) วิศวกรเคมีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ได้พัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงสูงได้สำเร็จโดยการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งทำให้ความต้องการของมนุษย์ที่จะมียานพาหนะประหยัดพลังงาน เสื้อเกราะทรงประสิทธภาพ หรืออุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬาที่ได้ผลชะงัดคงเป็นไปได้

นักวิทยาศาสตร์พบว่า กั้งตั๊กแตน 7 สีมีหมัดที่หนักกว่าน้ำหนักของตัวเองมากกว่า 1,000 เท่า มีความเร็วราว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และที่สำคัญสามารถชกเหยื่อได้มากถึง 50,000 ครั้งโดยกำปั้นของมันไม่ได้รับความเสียหายใดๆ นอกจากนี้การชกเป็นชุดอย่างรวดเร็วจะทำให้น้ำบริเวณรอบๆ หมัดร้อนเหมือนน้ำต้ม เกิดฟองอากาศจำนวนมากไประเบิดบนตัวเหยื่อ เหยื่อจึงเหมือนโดนชกซ้ำอีกรอบ ด้วยเหตุนี้เองทำให้คณะนักวิจัยของไคเซลอัสสนใจและพยายามที่จะไขความลับที่ซุกซ่อนอยู่ในกำปั้นของกั้งตั๊กแตน 7 สี

ติดตามอ่านเรื่องราวทั้งหมดได้จาก : อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร. “หมัดทรงพลังของกั้งตั๊กแตน 7 สี: ต้นแบบวัสดุที่รอคอย” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 11-12 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 799 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อเพลิงจากสาหร่าย

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้นมาก เพราะปริมาณน้ำมันในธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง หลายคนเกรงว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันไปทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการมองหาแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกอย่างเร่งด่วน แนวทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของสาหร่ายบางชนิดให้กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดจิ๋ว นักวิทยาศาสตร์มีแนวทางในการพัฒนาอย่างไร ทำไมต้องเป็นน้ำมันจากสาหร่าย และสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจเลือกใช้สาหร่ายคืออะไร

ติดตามหาคำตอบได้จากบทความเรื่อง เชื้อเพลิงจากสาหร่าย เขียนโดย อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 61 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553 หน้า 29-35– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คู่กัดเทคโนโลยี: ไฟฟ้ากระแสตรง VS กระแสสลับ

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงครามกระแสไฟ (currents war) แต่สงครามนี้ไม่ใช่การแย่งกันใช้กระแสไฟฟ้า แต่เป็นการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยีไฟฟ้ากระแสตรงที่พัฒนาโดยโทมัส อัลวา เอดิสัน  (Thomas Alva Edison) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเกิดก่อนกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งพัฒนาโดยนิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)

ติดตามอ่านเรื่องราวที่มาของเหตุการณ์ในครั้งนั้นและการก่อกำเนิดของไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับได้จากบทความเรื่อง คู่กัดเทคโนโลยี: ไฟฟ้ากระแสตรง VS กระแสสลับ เขียนโดย The One ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 61 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553 หน้า 19-23– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments