เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกลไกสมองในการควบคุมอารมณ์ตนเอง การระงับอารมณ์ของตัวเอง กับการได้รับคำสั่งให้เก็บอารมณ์ของตัวเองนั้น ส่งผลให้สมองถูกกระตุ้นไม่เหมือนกัน จากการค้นพบของนักวิทยาสตร์อังกฤษและเบลเยี่ยม งานวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาการรับรู้ มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ และมหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเยี่ยม ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Brain Structure and Function แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสแกนสมองของอาสาสมัครแล้วพบว่า ระบบสมองบางส่วนจะถูกกระตุ้นเมื่อคนๆหนึ่งเลือกที่จะเก็บอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ด้วยการตัดสินใจของตัวเอง ”ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การควบคุมความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวข้องกับสมองคนละส่วนกับที่เมื่อได้รับคำสั่งให้ตอบสนองต่ออารมณ์อย่างไร” ดร.ไซม่อน คุห์น แห่งมหาวิทยาเกนท์ หัวหน้าทีมวิจัยเผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446838– ( 162 Views)
ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง รู้แล้ว ทำไมฟลูออไรด์ถึงป้องกันฟันผุ กว่าสิบปีสำหรับการวิจัยเพื่อหาว่า ฟลูออไรด์ช่วยปกป้องฟันได้อย่างไร บัดนี้นักวิจัยได้ทราบแล้วว่าจริงๆ แล้วฟลูออไรด์มีส่วนช่วยอย่างไร งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เริ่มแรกนักวิจัยเชื่อว่าฟลูออไรด์จะไปเติมแร่ธาตุให้กับชั้นเคลือบฟัน ทำให้คนเรามีฟันที่แข็งแรงสามารถต้านทานต่อกรดที่เกิดจากแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดฟันผุได้ จนกระทั่งมีงานวิจัยใหม่ๆ ที่ค้นพบว่าจริงๆ แล้วฟลูออไรด์ไม่ได้ทะลุเข้าไปถึงชั้นของเนื้อฟันไม่ได้ไปเสริมชั้นเคลือบฟันให้แข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด ทำให้นักวิจัยต่างพากันงุนงงว่าแล้วฟลูออไรด์สามารถปกป้องฟันจากสารเคมีต่างๆ ได้อย่างไรกันแน่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446771– ( 25 Views)
แสงแฟลชเอกภพชนิดใหม่อาจเผยจุดกำเนิดหลุมดำ
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง แสงแฟลชเอกภพชนิดใหม่อาจเผยจุดกำเนิดหลุมดำ เมื่อดาวที่มีมวลหนักใช้เชื้อเพลิงหมดไป มันจะจมหายไปกับแรงโน้มถ่วงของตัวเองและกลายมาเป็นหลุมดำ อันเป็นวัตถุที่ความหนาแน่นสูงมากจนกระทั่งไม่มีวัตถุใด แม้กระทั่งแสงจะสามารถหนีออกมาจากแรงโน้มถ่วงของมันได้ จากข้อมูลการวิเคราะห์ล่าสุดจากนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (คาลเทค) ดาวที่กำลังจะตายอาจจะสร้างแสงพวยพุ่งขึ้นมาก่อนที่หลุมดำจะถือกำเนิดขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เบาะแสจุดกำเนิดของหลุมดำเป็นครั้งแรก รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446794– ( 41 Views)
ดีเอ็นเอมนุษย์ สกัดได้ใน 1 นาที
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ดีเอ็นเอมนุษย์ สกัดได้ใน 1 นาที นักวิจัยจาก University of Washington engineers และ บริษัท NanoFacture ได้สร้างเครื่องมือสำหรับสกัดดีเอ็นเอมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลหรือสถาบันวิจัยต่างๆ ที่จำเป็นต้องสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างของเหลวที่ได้จากมนุษย์ เพื่อนำมาวิเคราะห์โรคหรือนำไปใช้ในการสืบสวนทางอาชญากรรมต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446799– ( 77 Views)
แอพพลิเคชั่นใหม่ของสมาร์ทโฟน
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง แอพพลิเคชั่นใหม่จะทำให้คุณเดินไปเล่นมือถือไปได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ การส่งข้อความบนมือถือในขณะกำลังเดินอยู่นั้นมักจะเป็นความเสี่ยงที่มีรอยคางถลอกหรือเกือบถูกรถชนเป็นหลักฐานอยู่เสมอ จากนี้นับเป็นโชคดีของผู้ใช้สมาร์ทโฟนแล้วเมื่อมีแอพพลิเคชั่นตัวใหม่ที่สามารถคอยเฝ้าระวังแทนเราได้ ระบบใหม่ดังกล่าวที่เรียกว่า CrashAlert นั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of Manitoba รองศาสตราจารย์ Pourang Irani และนักวิจัย Juan David Hincapie-Ramos นั้นได้ต้องการที่จะหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้จริงกับความอันตรายที่มีอยู่เรื่อย ๆ อันเกิดจากการพิมพ์ส่งข้อความระหว่างกำลังเดินอยู่ เนื่องจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นไม่น่าจะเก็บอุปกรณ์ใส่กระเป๋าอยู่แล้ว ระบบก็เลยจะช่วยฟื้นฟูวิสัยทัศน์ให้แทน – ( 69 Views)
วัสดุคล้ายยางเพื่อการพัฒนาหัวใจเทียม
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วัสดุคล้ายยางเพื่อการพัฒนาหัวใจเทียม ทีมนักวิจัยที่โรงพยาบาล Brigham and Women’s Hospital (BWH) เผยว่า ได้สร้างเนื้อเยื่อหัวใจเทียมที่เลียนการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจโดยธรรมชาติด้วยการใช้วัสดุที่มนุษย์ทำขึ้นมาเองได้แล้ว นับเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์อีกขั้นในการรักษาโรคหัวใจ “นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ต่างก็พยายามจะหาวิธีการสร้างกล้ามเนื้อหัวใจเทียมที่ใกล้เคียงกับหัวใจธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในเรื่องของคุณสมบัติทางกายภาพและการทำงาน” ดร.นาซิม อันนาบี้ นักวิจัยเผย – ( 74 Views)
เผยพืชปล่อยแก๊สเพื่อให้โลกเย็นลง
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยพืชปล่อยแก๊สเพื่อให้โลกเย็นลง ในขณะที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น พืชกลับปล่อยแก๊สที่ช่วยในการก่อตัวของเมฆ ที่จะทำให้บรรยากาศของโลกเย็นลง จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์ที่ IIASA และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ การศึกษาครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Geoscience แล้ว โดยชี้ว่า จะเกิดวงวนกลับกันในทำนองที่ว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะไปเพิ่มความเข้มข้นของละอองน้ำในธรรมชาติที่จะมีผลให้บรรยากาศเย็นลง “พืชนั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มันก็จะช่วยปรับสมดุลของการเปลี่ยนแปลงนี้” เพาลี พาโซเน่น หัวหน้านักวิจัยเผย นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า ละอองน้ำบางส่วนที่ลอยอยู่ในอากาศสามารถทำให้บรรยากาศเย็นลงได้ เพราะมันทั้งช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ลงไป และช่วยให้เกิดเมฆที่ก็ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446758– ( 38 Views)
เทคโนโลยีเสื้อผ้าใหม่
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยีเสื้อผ้าใหม่ ใส่ร้อยวันไม่ซักก็ยังไม่มีกลิ่นเหม็น บริษัทที่กำลังเริ่มกิจการใหม่ในเมืองนิวยอร์คนั้นกล่าวอ้างว่า ทางบริษัทสามารถผลิตเสื้อเชิ๊ตติดกระดุมขนแกะของผู้ชายที่นุ่มมาก ไม่ต้องรีด และไม่มีกลิ่นถึงแม้ว่าจะสวมใส่ติดกันเป็นเวลา 100 วันก็ตาม บริษัทเสื้อผ้าที่มีชื่อว่า Wool & Prince นั้นได้เริ่มธุรกิจเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาโดย Mac Bishop จาก Portland ในรัฐ Oregon และเพื่อนอีกสองคน ซึ่งรุ่นต้นแบบของเสื้อเชิ๊ตนั้นทำมาจากขนแกะที่ผ่านกระบวนการพิเศษที่ทำให้มันนุ่ม ไม่เป็นรอยยับ และไร้กลิ่น ในขณะที่พวกเขาไม่ได้เปิดเผยถึงเทคนิคที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ดังกล่าว Bishop ได้บันทึกการใส่เสื้อเชิ๊ตดังกล่าวติดกันเป็นเวลา 100 วันไว้ – ( 57 Views)
Facebook สามารถเดาได้ว่าคุณอ้วนหรือไม่
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง Facebook สามารถเดาได้ว่าคุณอ้วนหรือไม่ เวลาที่คุณคลิ๊ก “Like” ให้กับโรงเรียนสอนโยคะบนเพจเฟซบุค หรือเวลาไปซื้อดีลกับร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ดนั้น ที่จริงแล้วคุณอาจจะกำลังให้ความช่วยเหลือเหล่านักวิจัยโรคอ้วนอยู่อย่างไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ทีมวิจัยทีมหนึ่งจากโรงพยาบาลเด็ก Boston นั้นได้สังเกตเห็นถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างความสนใจของผู้ใช้บริการเฟซบุคและอัตราโรคอ้วนในพื้นที่ ๆ อยู่อาศัยของพวกพวกเขาได้ “ข้อมูลได้แสดงให้เห็นว่าในท้องที่ ๆ ผู้ใช้บริการเฟซบุคนั้นมีความสนอกสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกายอยู่เป็นจำนวนมากนั้น จะทำให้ค่าความแพร่หลายของโรคอ้วนและอาการน้ำหนักเกินของพื้นที่นั้นต่ำลง” นักวิจัย Rumi Chunara กล่าว “ข้อมูลเหล่านี้ได้เผยให้เห็นว่าเครือข่ายสังคมหรือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คนั้นสามารถช่วยขยายขอบเขตการดูแลสาธารณสุขด้วยการทำให้นักวิจัยสาธารณสุขสามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับประชากรที่พวกเขาไม่สามารถหาได้จากวิธีอื่นได้อย่างไร” รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446765– ( 57 Views)
ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงไอน์สไตน์ผ่านการทดสอบสำคัญ
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงไอน์สไตน์ผ่านการทดสอบสำคัญ ระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกไป 7,000 ปีแสง ทำให้นักฟิสิกส์ด้านเอกภพวิทยาสามารถศึกษาธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงได้ โดยครั้งนี้เป็นการศึกษาแรงโน้มถ่วงที่เข้มจากดาวนิวตรอนที่โคจรรอบดาวแคระขาวที่เป็นคู่กัน นำไปซึ่งการทดสอบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงต่าง ๆ ที่แม่นยำกว่าการทดสอบอื่น ๆ ที่ผ่านมา และที่สำคัญคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสนอไว้เมื่อปี 1915 ก็ได้รับการทดสอบด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446737– ( 66 Views)