magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 22)
formats

ใจกลางโลกร้อนกว่าที่คิดไว้ 1,000 เซลเซียส

Published on May 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ใจกลางโลกร้อนกว่าที่คิดไว้ 1,000 เซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณการอุณหภูมิที่ใจกลางโลกว่าเป็น 6,000 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อ 20 ปีก่อนถึง 1,000 องศาเซลเซียส และการวัดครั้งนี้ยังเป็นการยืนยันแบบจำลองสภาพภายในของโลกที่อุณหภูมิบริเวณใจกลางกับชั้นแมนเทิลที่อยู่บนนั้นน่าจะต่างกันอย่างน้อย 1,500 องศาเซลเซียส และเป็นสาเหตุของการเกิดสนามแม่เหล็กของโลก ผลงานการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์จากฝรั่งเศสครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446740– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยดัดแปลง E.coli ให้สามารถผลิตน้ำมันได้

Published on May 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิจัยดัดแปลง E.coli ให้สามารถผลิตน้ำมันได้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตัดต่อพันธุกรรมของแบคที่เรียที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ E.coli ซึ่งเดิมเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียให้สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ โลกในยุคปัจจุบันได้มีการผลักดันให้ใช้พลังงานทดแทน/เชื้อเพลิงชีวภาพกันมากขึ้น ในยุโรปได้ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2020 การขนส่งภาคพื้นร้อยละ 10 ของยุโรปจะใช้พลังงานทดแทนจากพืช  แต่ในปัจจุบันพลังงานทดแทนจำพวกไบโอดีเซลล์และไบโอเอทานอลนั้นไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์สมัยใหม่ ก่อนนำไปใช้จึงต้องมีการนำไปประยุกต์โดยการนำพลังงานทดแทนเหล่านั้นประมาณ 5-10% มาผสมเข้ากับน้ำมันปิโตรเลียมก่อนถึงจะนำไปใช้ได้ แต่เชื้อเพลิงที่ E. coli นี้ผลิตได้นั้นสามารถนำไปใช้ได้ทันที รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446669– ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ทำให้คุณ”สัมผัส”วัตถุเสมือนได้

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ทำให้คุณ ”สัมผัส” วัตถุเสมือนได้ รูปภาพหนึ่งรูปอาจจะแทนคำพูดได้หนึ่งพันคำ แต่มันก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจว่าวัตถุจริง ๆ นั้นรู้สึกอย่างไรเวลาที่คุณจับต้องมัน ที่จริงแล้ว การจับ “ความรู้สึก” ของวัตถุต่าง ๆ นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีความก้าวหน้านัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ Kathering Kuchenbecker นักวิศวกรรมเครื่องกลจาก University of Pennsylvania คิดว่าควรจะต้องได้รับการค้นคว้าในละเอียดมากกว่านี้ – ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แค่การทำสวนก็อาจช่วยให้ดัชนีมวลกายของคุณต่ำลงได้

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง แค่การทำสวนก็อาจช่วยให้ดัชนีมวลกายของคุณต่ำลงได้ สวนชุมชนนั้นเป็นที่ ๆ เพื่อนบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อที่จะได้เพลิดเพลินกับพื้นที่ข้างนอกบ้านและการใช้เวลาร่วมกันในขณะที่ช่วยกันปลูกพืชที่มีคุณค่าทางอาหารไปด้วย สวนที่อยู่ในตัวเมืองเองก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีจะทำให้ความพยายามในการลดน้ำหนักนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ ผู้คนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในสวนชุมชนนั้นดูเหมือนว่าจะมีค่าดัชนีมวลกาย รวมถึงโอกาสในการเป็นโรคอ้วนต่ำกว่าคนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้ ๆ แต่ไม่เคยเข้ามาทำสวนเลย – ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คลื่นระเบิดในสมอง-ป้องกันอัลไซเมอร์

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง คลื่นระเบิดในสมอง-ป้องกันอัลไซเมอร์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การสะสมตัวของโปรตีนอะไมลอยด์-เบตาที่จะทำให้เกิดก้อนในสมองนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ ที่มีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ทั่วโลก แต่กุญแจสำคัญต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการสะสมตัวของเป๊ปไทด์อะไมลอยด์-เบตาเท่านั้น แต่อยู่ที่ ”ชนิด” ของมันด้วย และการเป็นโรคนี้นั้นก็เกิดมาจากความไม่สมดุลของอะไมลอยด์ที่แตกต่างกันสองประเภท โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีอัตราส่วนของ อะไมลอยด์-เบตาประเภท 40 ต่อ 42 ที่ลดลง (กล่าวคือ ประเภท 40 มีน้อยกว่า 42) – ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อชาติอาจบ่งบอกภูมิคุ้มกัน

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เชื้อชาติอาจบ่งบอกภูมิคุ้มกัน หลังจากดูรหัสดีเอ็นเอของคนจากหลายภาคส่วนของโลก ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดมุมมองใหม่ด้านงานวิจัยระบบภูมิคุ้มกันวิทยาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า จำนวนของยีนแอนติบอดี้ที่เหมาะสมต่อร่างกายคน ประสิทธิภาพการทำงานของแอนติบอดี้ และเชื้อโรคที่มันจะไปทำลายได้ แท้ที่จริงแล้วมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งก็หมายความได้ว่า ยา วิธีการรักษา และวัคซีน ที่ทำขึ้นมาเพื่อรักษาคนให้ได้ทุกคนบนโลกนั้นควรจะคิดใหม่ โดยควรจะต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมกับคนที่จะรักษามากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446638– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบดาวเคราะห์ใหม่ขนาดใกล้โลกอีกสามดวง

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จ่อเข้าไปอีก! พบดาวเคราะห์ใหม่ขนาดใกล้โลกอีกสามดวง กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซ่าได้ค้นพบระบบดวงเคราะห์ใหม่อีกสองระบบแล้ว มีดาวเคราะห์ถึง 3 ดวงที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมาก และยังอยู่ในระยะที่ห่างจากดาวแม่ที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวอาจจะเหมาะสมต่อการมีน้ำอยู่ด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446645– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่องความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายในส่วนของคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า โดยวิทยากรเน้นบรรยายเรื่องเครื่องหมายการค้า  ว่าจะปกป้องและขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างไรในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้การเข้าร่วม AEC วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้ดีขึ้น ซึ่งพื้นฐานอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 4 ข้อ คือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคอ้วนอาจรับรู้ได้จากกลิ่นลมหายใจ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โรคอ้วนอาจรับรู้ได้จากกลิ่นลมหายใจ โรคอ้วนนั้นมีลักษณะของการแสดงอาการที่เด่นชัดซึ่งยากที่จะปกปิดหรือซุกซ่อนเอาไว้ แถมในตอนนี้แพทย์ยังบอกว่าพวกเขาสามารถแม้ที่จะกระทั่งได้กลิ่นโรคอ้วนจากลมหายใจของคุณได้อีก เหล่าแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ที่ Los Angeles กล่าวว่าจุลินทรีย์ที่ปล่อยก๊าซบางชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องมนุษย์นั้นอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่คนๆ หนึ่งจะมีน้ำหนักตัวมากเกินไป และการมีอยู่ของก๊าซมีเทนและไฮโดรเจนในจุลินทรีย์จากลมหายใจนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดต่อน้ำหนักตัวที่มากเกินและไขมันในร่างกายที่มากเกินไปด้วย พวกเขายังยอมรับอีกว่าการรับประทานมากเกินไปและไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายนั้นเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน แต่ถึงอย่างนั้นปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการมีจุลินทรีย์บางชนิดในสำไส้มากเกินหรือน้อยไปนั้นก็อาจจะเป็นเหตุผลประกอบที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้เช่นเดียวกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154920– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ย่อยสลายได้ในน้ำ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ย่อยสลายได้ในน้ำ นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology และ Purdue University ได้ร่วมกันประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพืชบนส่วนประกอบหลักเซลลูโลสนาโนคริสตัลที่สามารถละลายในน้ำและนำมารีไซเคิลได้อีกด้วย เซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์ดังกล่าวนั้นมีค่าประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานอยู่ที่ 2.7 %  ซึ่งนักวิจัยนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากแล้วสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบหมุนเวียนได้อย่างพืชแบบนี้ “ก้าวต่อไปของพวกเราก็คือการพัฒนาให้อัตราการแปลงพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ตัวนี้เพิ่มสูงเกินกว่า 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกประดิษฐ์บนแก้วหรือส่วนประกอบหลักที่มีปิโตรเลียมเป็นส่วนประกอบหลัก” Bernard Kippelen ผู้เป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมจาก Georgia Tech กล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154921– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments