magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 19)
formats

การออกกำลังกายมีค่าเท่ากับการทานชีสเบอเกอร์จริงหรือ

Published on June 18, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การออกกำลังกายมีค่าเท่ากับการทานชีสเบอเกอร์จริงหรือ ในช่วงพักฤดูกาลวิ่งมาราธอนสองสามเดือนที่ผ่านมา มีงานวิจัยพบว่าการวิ่งทนอาจทำร้ายร่างกายมากกว่าที่คิด  เนื่องจากมีการพบความสัมพันธ์ด้านสุขภาพบางอย่างที่คาบเกี่ยวกัน ระหว่างผู้ที่วิ่งทนและผู้ที่ทานชีสเบอเกอร์เป็นประจำ “ผมไม่กังวลหรอกครับ” หนึ่งในคำบอกเล่าจากปากทหารผ่านศึก ซึ่งผันตัวเองมาเป็นโค้ชนักกีฬามาราธอน มาร์ก ซัลลิแวน ผู้ที่ผ่านสนามการวิ่งมาราธอนมากกว่า 150 สนาม “มีผู้คนมากมายที่อยู่เพื่อสูบบุหรี่มากกว่าร้อยมวน และกินชีสเบอเกอร์ทุกวัน” นักกีฬาทรหดชอบที่จะสร้างภาพลักษณ์เหมือนคนเหล็ก แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่ามีหลักฐานเกี่ยวกับการออกกำลังกายมากเกินไปมีผลเสียต่อร่างกายมากกว่าจะเกิดผลดี ซึ่งทำให้ภาพคนเหล็กของนักกีฬาทรหดเริ่มเลือนลางไป การวิ่งทรหดเป็นเวลานานกว่า 6 ปีก่อให้เกิดปัญหาจริงหรือไม่ ทั้งนี้มีงานวิจัยก่อนหน้าที่กล่าวว่า การวิ่งเกินกว่า 30 ไมล์ต่อสัปดาห์ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายอย่างแน่นอน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446947– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิเคราะห์ BMI จากรูปถ่าย

Published on June 18, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วิเคราะห์ BMI จากรูปถ่าย ใบหน้าสามารถบ่งบอกสิ่งต่างๆ ได้มากมาย และมีงานวิจัยใหม่ได้พบว่า ใบหน้าทำนายค่า BMI โดยใช้โปรแกรมในการทำนายค่า BMI โดยใช้รูปถ่ายใบหน้า แล้วทำนายค่า BMI ออกมา แล้วอาจทำนายความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเป็นอีกด้วย Body Mass Index (BMI) ค่าดัชนีมวลกาย เป็นการประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446993– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทย์เชื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากนอกโลก

Published on June 18, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทย์เชื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากนอกโลก โลกในยุคแรกไม่เหมาะกับการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากเท่าไหร่ และล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกมาจากนอกโลก   เนียร์ โกลด์แมน นักวิทยาศาสตร์จากลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ และไอแซค แทมบลีน นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีออนทารีโอ ค้นพบว่า ดาวหางน้ำแข็งที่พุ่งชนโลกเมื่อหลายล้านปีก่อนอาจจะมีสารประกอบอินทรีย์ที่จะประกอบไปเป็นสิ่งมีชีวิตติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คู่นิวคลีโอเบสของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ดาวหาง มีโมเลกุลพื้นฐานอย่างน้ำ แอมโมเนีย เมธานอล และคาร์บอนไดออกไซด์ และมีพื้นผิวที่เสริมสร้างพลังงานมหาศาลให้ไปขับเคลื่อนปฏิกิริยาเคมีต่างๆ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447013– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยกลไกและอนาคตของปะการัง

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกลไกและอนาคตของปะการัง นักวิทยาศาสตร์จากรัตเจอร์ส ได้อธิบายกระบวนการทางชีววิทยาของการสร้างกระดูกของปะการังเป็นครั้งแรก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแนวปะการังในมหาสมุทรทั่วโลก โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Current Biology แล้ว ดร.ทาลี แมสส์ นักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก และทีมงานจากสถาบันอุทกศาสตร์และปะการัง รัตเจอร์ส ได้แสดงให้เห็นถึง โปรตีนที่สร้างขึ้นจากปะการังว่าสามารถก่อหิวปูนขึ้นในท่อทดสอบได้ โปรตีนชนิดนี้เป็นโปรตีนลับของปะการังที่จะตกตะกอนคาร์บอนเนตจนกลายเป็นโครงกระดูกของปะการังไป “นี่เป็นก้าวแรกที่เราจะเข้าใจว่า ปะการังสร้างกระดูกของตัวเองได้อย่างไร” ดร.แมสส์กล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447016– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตามติดสิบปีภารกิจสำรวจดาวอังคารของ “ออพพอร์ทูนิตี้”

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ตามติดสิบปีภารกิจสำรวจดาวอังคารของ “ออพพอร์ทูนิตี้” ก้าวย่างสู่ปีที่ 10 แล้วนับตั้งแต่จากโลกมาของยานสำรวจดาวอังคารขององค์การนาซา นามเก๋ไก๋ว่า “ออพพอร์ทูนิตี้” หรือ Opportunity ที่แปลว่า ความหวัง นั่นเอง ล่าสุด รถวิ่งบนดาวอังคารลำนี้ออกวิ่งอีกครั้งหนึ่งแล้ว และต้องทำการสำรวจอีกหลายสัปดาห์กันเลยทีเดียว สำหรับโครงการนี้ นาซาได้ปล่อยรถสำรวจดาวอังคารไปสองคัน คือ ยานสปิริต ในวันที่ 10 มิถุนายน 2003 และยานออพพอร์ทูนิตี้ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2003 ยานทั้งสองถึงดาวอังคารในเดือนมกราคม 2004 และปฏิบัติภารกิจหลักระยะเวลา 3 เดือนประสบความสำเร็จ จึงได้เริ่มทำงานตามภารกิจเสริมมาเป็นเวลาหลายปี ยานทั้งสองพบหลักฐานว่า ดาวอังคารในยุคก่อนนั้น “เปียก” โดยในปี 2010 นั้น ยานสปิริตยุติการปฏิบัติการในช่วงที่เข้าสู่หน้าหนาวหน้าที่ 4 ของดาวอังคาร ส่วนยานออพพอร์ทูนิตี้ก็เริ่มเก่า และการทำงานของข้อต่อบางส่วนก็เริ่มใช้การไม่ได้ แต่ยังสามารถทำงานอื่นๆ ต่อไปได้ เช่น กระบวนการขุดเจาะสำรวจดิน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447020– ( 58

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระดองเต่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กระดองเต่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร การวิจัยใหม่พบว่า กระดองเต่า โครงสร้างอันซับซ้อนที่ประกอบไปด้วยกระดูก 50 ชิ้นนั้น มีวิวัฒนาการมานานก่อนไดโนเสาร์จะครองโลกเสียอีก  ในวารสาร Current Biology ฉบับล่าสุดนั้น มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่าเต่าและกระดองของมันนั้นเก่าแก่กว่ายุคจูราสสิคเสียอีก ซึ่งโครงสร้างของเต่านั้นถูกออกแบบมาให้ทนทานและอยู่ได้นาน ซึ่งแสดงถึงการปรับแต่งมาหลายล้านปี Tyler Lyson จาก Yale University และพิพิธภัณฑ์ Smithsonian กล่าวว่ากระดองนั้นเริ่มการเปลี่ยนแปลงเมื่อกว่า 260 ล้านปีมาแล้วในยุค Permian “เหมือนกับโครงสร้างที่สลับซับซ้อนอื่นๆ กระดองเต่านั้นวิวัฒนาการผ่านมาหลายล้านปีและค่อยๆ กลายมาเป็นรูปร่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446965– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยีนอาจบ่งบอกถึงคะแนน

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยีนอาจบ่งบอกถึงคะแนน ทีมวิจัยจากนานาชาติพบว่า เครื่องหมายทางพันธุกรรม (genetic marker) อาจใช้เพื่อทำนายผลการเรียนอนาคตได้ จากข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 125,000 คนในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรปโซนตะวันตก การศึกษาครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว เป็นผลงานการศึกษาของ Social Science Genetic Association Consortium (SSGAC) ซึ่งประกอบไปด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค มหาวิทยาลัยอีราสมุส มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด มหาวิทยาลัยบริสตอล และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ทีมวิจัยของ SSGAC ทำการศึกษาสิ่งที่เรียกว่า genome-wide association study (GWAS) หรือการศึกษาการเชื่อมโยงของจีโนมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างๆ เพื่อหาว่า ความแปรปรวนของยีนมีความสัมพันธ์อย่างไรต่อผลสำเร็จทางการศึกษา ในแง่จำนวนปีที่ตัวอย่างใช้ในการสำเร็จการศึกษา ในงานวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยได้ทดสอบเครื่องหมายทางพันธุกรรมหลายแสนตัวเพื่อหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรค คุณสมบัติ และชีวิตอย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446969– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยีนกลายพันธุ์ ทำให้น้ำหนักเพิ่ม

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยีนกลายพันธุ์ ทำให้น้ำหนักเพิ่ม งานวิจัยใหม่ได้กล่าวว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั้งหมดอาจจะมียีนกลายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีน้ำหนักเกิน นักวิจัยจาก Maastricht University ประเทศฮอลแลนด์ ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของอาสาสมัครชายหญิง ประมาณ 5,000 คน เป็นระยะเวลา 10 ปี และทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอจนกระทั่งพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีน MMP2 ในอาสาสมัครหญิง ซึ่งเป็นสาเหตุของการสร้างเนื้อเยื่อไขมัน ยีน MMP2 เป็นยีนที่พบได้ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากคิดเป็นร้อยละ 30 แต่ไม่พบในผู้ชาย นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบว่ายีน FTO ที่กลายพันธุ์ในผู้ชาย เป็นยีนที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผู้ชายคนใดที่มียีน FTO กลายพันธุ์จะมีความเสี่ยงที่จะน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 87 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มียีน FTO กลายพันธุ์ ยีน FTO โดยปกติแล้วจะไปเพิ่มความรู้สึกอยากกินอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูงอยู่แล้ว แต่เมื่อยีน FTO กลายพันธุ์จะทำให้เกิดความรู้สึกอยากทานอาหารมากขึ้น จนทำให้ทานมากกว่าคนปกติมากถึง 100 แคลอรี่ต่อมื้อ เฉลี่ยแล้วได้รับพลังงานเกินไปมากถึง 2,100 แคลอรี่ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว นักวิจัยจึงขนานนามยีนนี้ว่า ยีน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Buzzy : ผึ้งตัวน้อยช่วยลบความเจ็บจากเข็มฉีดยา

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง Buzzy : ผึ้งตัวน้อยช่วยลบความเจ็บจากเข็มฉีดยา อุปกรณ์ Buzzy ดังกล่าวประกอบไปด้วยมอเตอร์สำหรับการสั่นและแพ็คน้ำแข็งรูปปีกแมลงสำหรับสร้างความสับสนให้กับระบบประสาทของร่างกายและเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแทงเข็ม ด้วยวิธีเดียวกับการรินน้ำเย็นลงบนแผลไฟไหม้น้ำร้อนทำให้เจ็บปวดลดลงนั้น เจ้า Buzzy ก็ได้ใช้วิธีการเดียวกันเพื่อกระตุ้นต่อมรับความเย็นในระบบประสาทเพื่อสกัดความเจ็บแบบฉับพลันที่จะเกิดขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องได้รับการฉีดยาทุกวันหรือทุกสัปดาห์เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคไขข้ออักเสบนั้นคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว และ Buzzy นั้นใช้งานได้ดีไม่ว่าจะโดนฉีดยาหรือแม้กระทั้งผึ้งต่อย ซึ่งในกรณีโดนผึ้งต่อยหรือเสี้ยนตำนั้น Buzzy เองก็มีอุปกรณ์สำหรับช่วยในการดึงเข็มพิษออกมาด้วยเช่นกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446894– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การนั่งอ่านแทบเบล็ตก่อนนอนนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพ

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การนั่งอ่านแทบเบล็ตก่อนนอนนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพ ในช่วงยุคสมัยที่หลอดไฟเพิ่งถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ โทมัส เอดิสันได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนว่าสิ่งประดิษฐ์จะไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพหรือรบกวนการนอนหลับแต่อย่างใด แต่เมื่อเราได้เริ่มขยับก้าวไปสู่สังคมที่เสียบปลั๊กตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น Charles Czeisler ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับคำมั่นสัญญานั้นอีกครั้งหนึ่ง “ยิ่งเราทำให้ชีวิตของเราสว่างไสวขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนว่าเราจะยิ่งนอนน้อยลงไปเท่านั้น” Czeisler ได้กล่าวบทแสดงข้อคิดเห็นไว้ในวารสาร Nature “เมื่อต้นทุนในการผลิตแสงสว่างนั้นลดต่ำลงไปกว่าร้อยเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การบริโภคแสงสว่างก็เพิ่มขึ้นไปตามๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงระหว่างปี 1950 และปี 2000 นั้นต้นทุนของการผลิตแสงสว่างลดลงไป 6 เท่า ซึ่งทำให้อัตราการบริโภคต่อหัวของชาวอังกฤษนั้นเพิ่มขึ้นมาถึงสี่เท่าเลยทีเดียว และการเพิ่มขึ้นของการบริโภคแสงสว่างนี้ได้มาคู่ขนานกับการเพิ่มขึ้นของภาวะการอดนอนเช่นเดียวกัน”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446891– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments