magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 17)
formats

ภาวะติดเชื้อในวัวนมนั้นอาจมีประโยชน์มากกว่าโทษ

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ภาวะติดเชื้อในวัวนมนั้นอาจมีประโยชน์มากกว่าโทษ การติดเชื้อ คำศัพท์ที่มักมีความหมายในเชิงลบ และถูกเชื่อมโยงกับโรคภัยและอาการเจ็บปวดต่างๆ มากมายแต่นักวิจัยจาก Kansas State University กลับพบว่าการติดเชื้อที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในวัวนมภายในสองสามแรกหลังจากคลอดนั้นอาจจะมีบทบาทที่เป็นประโยชน์อย่างน่าประหลาดใจในกระบวนการอันซ้ำซ้อนจากการตั้งครรภ์ช้าไปจนถึงช่วงให้น้ำนม “พวกเรารู้ว่าภายในสองสามวันแรกหลังจากคลอดและเข้าสู่ช่วงให้น้ำนมนั้น วัวนมมักจะเผชิญกับการติดเชื้อในระดับหนึ่ง Barry Bradford รองศาสตราจารย์ด้านสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมสัตว์กล่าว “เรายังรู้อีกด้วยว่าอาการเจ็บป่วยหลายอย่าง รวมถึงโรคเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญอาหารเช่นภาวะคีโตซิสหรือไขมันพอกตับนั้นจะเกิดในขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วย”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447170– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หัวใจของนักร้องประสานเสียงนั้นเต้นพร้อมกัน

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หัวใจของนักร้องประสานเสียงนั้นเต้นพร้อมกัน งานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่สมาชิกของกลุ่มร้องนักร้องประสานเสียงเริ่มร้องเพลงด้วยกันนั้น จังหวะการเต้นหัวใจของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นและลดต่ำลงไปพร้อมๆ กับเสียงของพวกเขา “การเชื่อมโยงกันของอัตราการเต้นของหัวใจในกลุ่มนักร้องประสานเสียงนั้นคล้ายกับการที่คนฝึกโยคะร่วมกัน” Bjorn Vickoff ผู้นำการวิจัยในครั้งนี้กล่าว “การร้องเพลงนั้นจะควบคุมการทำงานของ vagus nerve ปลายประสาทส่วนที่มีไว้ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ การกลืน และการขับน้ำ รวมไปถึงเส้นเสียง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา ร่วมไปถึงกับการสื่อสารต่อคนอื่น  บทเพลงที่มีท่อนขับร้องยาวนั้นให้ผลกระทบเช่นเดียวกับการฝึกการหายใจในการเล่นโยคะ อีกความหมายหนึ่งก็คือเราสามารถควบคุมภาวะจิตใจในระดับหนึ่งได้ผ่านบทเพลงนั่นเอง” Vickoff กล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447175– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานขึ้นกับมื้อแรกของเด็กทารก

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานขึ้นกับมื้อแรกของเด็กทารก ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ยังคงเป็นคำพูดที่จริงแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับคนทุกวัยไม่เว้นแม้กระทั่งในทารกแรกเกิด จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า เราสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานประเภท 1 ในทารกได้ด้วยการ “รอ” ให้ทารกน้อยอายุมากกว่า 4 เดือนขึ้นไปก่อนถึงจะป้อนอาหารแข็งให้   กลุ่มของทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภท 1 ที่เริ่มรับอาหารแข็งแทนอาหารเหลวในช่วงอายุระหว่าง 4 และ 6 เดือนนั้น ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาสภาวะการเกิดโรคเบาหวานน้อยกว่าเด็กทารกที่เริ่มรับอาหารแข็งแทนอาหารเหลวในช่วงอายุก่อน 4 เดือนและหลัง 6 เดือน  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่http://vcharkarn.com/vnews/447180– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเข้าถึงการรักษาโรคเอดส์

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การเข้าถึงการรักษาโรคเอดส์: การค้นพบครั้งสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียได้มีการค้นพบครั้งสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้โรคเอดส์หมดไปภายในระยะเวลาสิบปี โดยพวกเขาได้เปลี่ยนให้เชื้อไวรัส HIV เกิดการต่อต้านตัวมันเอง  ซิดนีย์ – นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้กล่าวว่า เขาค้นพบหนทางที่จะเปลี่ยนไวรัส HIV ให้ต่อต้านตัวมันเองภายในเซลล์ของมนุษย์ในระดับห้องทดลอง ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญในการรักษาโรคเอดส์ ซึ่งได้ถูกค้นคว้ามาอย่างยาวนานและยากลำบาก เดวิด แฮริชจากสถาบันวิจัยทางการแพทย์ควีนสแลนด์ยังกล่าวอีกว่า เขาได้ดัดแปลงโปรตีนในเชื้อ HIV ซึ่งปกติจะช่วยในการแพร่เชื้อ ไปเป็นโปรตีนที่สามารถยับยั้งการแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรตีนในเชื้อ HIV เหล่านี้จะถูกนำไปที่เซลล์ภูมิคุ้มกันเป้าหมาย ซึ่งจะชะลอการสร้างไวรัสขึ้นมาใหม่หลังจากการติดเชื้อ การทดลองนี้ได้ถูกดำเนินการศึกษาในเครื่องแก้วระดับห้องทดลอง และจะถูกนำไปทดสอบกับสัตว์ต่อไป ก่อนที่จะนำมาทดลองใช้กับมนุษย์  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447199– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เมื่อสาหร่ายสีเขียวปราศจากอากาศ

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เมื่อสาหร่ายสีเขียวปราศจากอากาศ เมื่อสาหร่ายสีเขียว “ไม่สามารถหายใจได้” พวกมันจะกำจัดพลังงานส่วนเกินผ่านการผลิตของไฮโดรเจน นักชีววิทยาจาก Ruhr-University Bochum พบวิธีการสังเกตที่บ่งบอกว่าเซลล์เหล่านั้นขาดออกซิเจน พวกมันต้องการตัวส่งถ่ายโมเลกุลไนตริกออกไซด์และฮีโมโกลโปรตีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ในร่างกายมนุษย์ ฮีโมโกลบินจะลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอด อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าไม่ได้ใช้ฮีโมโกลบินเพียงหนึ่งโมเลกุลเท่านั้น โดยธรรมชาติจะมีการผลิตโปรตีนจำนวนมากซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน สาหร่ายสีเขียวสายพันธุ์ Chlamydomonas reinhardtii ซึ่งสามารถลดการทำงานของฮีโมโกลบินได้ และมีนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสบทบาทในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447087– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของนั้นเหมือนพ่อแม่ลูก

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เมื่อวิทยาศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของนั้นเหมือนพ่อแม่ลูก ผู้คนนั้นมีความต้องการภายในอยู่ลึกๆ ที่ต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนอื่น แต่พฤติกรรมการเชื่อความสัมพันธ์ตามธรรมชาตินั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่แต่ในมนุษย์เท่านั้น สัตว์อื่นๆ ก็ดูเหมือนว่าจะมีความต้องการแบบเดียวกัน แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงนั้นจะซับซ้อนมากขึ้นไปอีก และสัตว์เลี้ยงก็อาจจะเกิดความสัมพันธ์สนิทสนมไม่ใช่แค่กับสัตว์ชนิดเดียวกันเท่านั้นแต่กับเจ้าของของมันด้วย  โดยนักวิทยาศาสตร์จาก University of Veterinary Medicine ที่เวียนนานั้นได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของ และได้พบความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากกับความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกที่พบในมนุษย์ – ( 80 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ต่อต้านการติดเชื้ออย่างทันสมัยด้วยหุ่นยนต์

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ต่อต้านการติดเชื้ออย่างทันสมัยด้วยหุ่นยนต์ โรงพยาบาลนั้นก็เปรียบได้กับตัวแทนของความสะอาด และตอนนี้ทางระบบสุขภาพของทางมหาวิทยาลัย Loyola นั้นจะเป็นศูนย์สุขภาพทางการศึกษาแห่งแรกในรัฐอิลินอยส์ที่จะยกระดับการฆ่าเชื้อโรคไปสู่ระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยหุ่นยนต์ทรงกระบอกตั้งสูงสามฟุตสองตัวที่มีชื่อเล่นว่า Ralph และ Little Joe ที่ถูกตั้งให้โดยโรงพยาบาล Gottlieb และศูนย์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนั้น พวกมันจะสามารถเก็บรายละเอียดงานฆ่าเชื้อได้ด้วยส่วนหัวที่สามารถหมุนไปมาและยิงรังสี UV ในห้องที่ไม่มีคนอาศัยอยู่เพื่อการฆ่าเชื้อโรคอย่างหมดจด จากการวิจัยนั้น หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อนั้นจะทำการกำจัด Clostridium difficile หรือ C. diff ที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างโรคลำใส้ โรคอุจจาระร่วง ภายในเวลาน้อยกว่า 4 นาที และจำกัด Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) หรือเชื้อดื้อยาได้ภายใน 2 นาที รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447093– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวในหนู นักวิจัยจากเมืองเบอร์ลินและเมืองมิวนิคที่เยอรมันนี และจากเมืองอ็อกฟอร์ดที่อังกฤษนั้นได้เปิดเผยว่ามีโปรตีนตัวหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์นั้นควบคุมพัฒนาการของเยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อและส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของหนูที่ไม่มีโปรตีนตัวดังกล่าวหรือถูกสารยับยั้งไว้ไม่ให้ทำงาน ซึ่งผลการทดลองได้ชี้ให้เห็นว่าตัวยาที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อส่งผลกับโปรตีน beta-secretase-1 โดยเฉพาะนั้น อาจจะมีผลค้างเคียงจากการรักษาโรคอัลไซเมอร์ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติกับการเคลื่อนไหวร่างกายได้ – ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาการคันนั้นเกิดจากอะไร

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โอ๊ย…คันจังเลย!! แต่เอ๊ะ…อาการคันนั้นเกิดจากอะไรนะ? งานวิจัยล่าสุดพบเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดอาการคันแล้ว นักวิจัยเปิดเผยว่าได้มีการค้นพบสารเคมีตัวสำคัญที่อยู่เบื้องหลังอาการคันคะเยอตามจุดต่างๆ แล้ว กับคำถามที่เป็นความสงสัยมายาวนานว่า ทำไมคนเราจึงเกิดอาการคัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีคำตอบให้เราแล้วในวันนี้ เซลล์ประสาทที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการคัน ได้ปล่อยสารเคมีที่มีความเฉพาะเจาะจงทำการส่งข้อวความพิเศษว่า “ฉันอยากเกาจัง!!” ไปยังสมอง การค้นพบนี้มาจากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง โดยทดลองเปลี่ยนย้ายโมเลกุลที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเกี่ยวข้องกับอาการคันออกไป และหลังจากนั้นพบว่าหนูทดลองตัวที่ว่าไม่เกิดอาการคันให้เห็นอีกเลย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446982– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิซซ่าเพื่อสุขภาพ

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง พิซซ่าเพื่อสุขภาพ ขึ้นชื่อว่า “พิซซ่า” สาวๆ ทั้งหลายที่ห่วงเรื่องความสวยงามของเรือนร่างคงจะส่ายหัว ปฏิเสธที่จะกินมันเป็นแน่แต่รู้หรือไม่ตอนนี้มีผู้คิดค้น “พิซซ่าเพื่อสุขภาพ” ที่กินได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะขาดสารอาหารหรือได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น ศาสตราจารย์ไมค์ ลีน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยกลาส์โกลว์ และคณะได้คิดค้นพิซซ่าแช่แข็งเพื่อสุขภาพนี้ขึ้น เพื่อขายในประเทศสกอตแลนด์ โดยอ้างว่าพิซซ่านี้มีสารอาหารที่จำเป็นมากถึง 47 ชนิด รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ที่ได้จากสาหร่ายทะเลและพริกแดง โดยได้ตั้งราคาขายอยู่ที่  3.50 ปอนด์ หรือประมาณประมาณ 168 บาท และได้วางขายอยู่ในโซนอาหารเพื่อสุขภาพตามซุปเปอร์มาเก็ตหลายๆ แห่ง พิซซ่าแช่แข็งทั่วๆ ไปนั้นจะให้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี่ และมีไขมัน 13 กรัม แต่พิซซ่าที่ศาสตราจารย์ลีนคิดขึ้นให้พลังงานเพียง 172 แคลอรี่ และมีไขมันแค่ 5.3 กรัม ซึ่งนับเป็นจุดเด่นที่สำคัญของพิซซ่านี้ เนื่องจากยังไม่มีบริษัทไหนคิดค้นพิซซ่าที่ให้พลังงานต่ำและดีต่อสุขภาพมาก่อน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447038– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments