magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 25)
formats

Top10 โรคระบาดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

รวบรวม 10 โรคระบาดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้แก่ 1. โรคฝีดาษ แทบล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ 2. กาฬโรค กวาดล้างประชากร 1 ใน 3 ของยุโรป 3. ไข้หวัดใหญ่สเปน เมื่อระบบคุ้มกันเกิดคลุ้มคลั่งไร้การควบคุม 4. อหิวาตกโรค ถ่ายท้องจนเสียชีวิต 5. มาลาเรีย ยุงเป็นหาพะนำเชื้อ ผู้เคราะห์ร้ายเป็นล้านคน 6. วัณโรค โรคในปอดจากสมัยโบราณ 7. ไข้ไทฟัสหรือไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด โรคติดต่อร้ายแรงจากเหา 8. เอชไอวี ศัตรูตัวร้ายของระบบภูมิคุ้มกัน 9. ไข้เหลือง เหยื่อเสียชีวิตจากไตวาย 10. โปลิโอ ติดต่อในเด็กเป็นหลัก ที่มา : Top10 โรคระบาดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 56-57. – ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครือข่ายรถรางที่ยาวที่สุด

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

ที่โซเฟีย เมืองหลวงของบัลแกเรีย รถรางยังคงเป็นที่นิยมสำหรับการเดินทางของผู้คน เครือข่ายรถรางของเมืองแผ่ขยายและยื่นยาวออกไปเป็นระยะทางถึง 308 กิโลเมตร รถรางทั้งหมด 176 คัน ยังคงให้บริการบนรางวิ่ง 17 รางทุกวัน ที่มา : เครือข่ายรถรางที่ยาวที่สุด. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 71.– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เนื้องอกขยายขนาดได้มากเท่าไหร่

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

ในปี 1991 หญิงอเมริกันวัย 34 ปี ผู้เป็นเจ้าของเนื้องอกขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมา ได้รับการผ่าตัดรักษา เนื้องอกชนิดไม่ก่ออันตรายนี้มีน้ำหนักมากถึง 137.6 กิโลกรัม และเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 เมตร การผ่าตัดครั้งนั้นเสร็จสิ้นลงในเวลา 6 ชั่วโมง ที่มา : เนื้องอกขยายขนาดได้มากเท่าไหร่. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 73.– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดอกไม้ไฟทำงานอย่างไร

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

ชาวจีนประดิษฐ์ดอกไม้ไฟขึ้นเมื่อราว 3,000 ปีที่แล้ว โดยเป็นดอกไม้ไฟอย่างง่าย ๆ ที่ทำขึ้นจากดินปืนห่อด้วยกระดาษแข็งและชนวน ดินปืนคือส่วนผสมที่ประกอบไปด้วยคาร์บอนร้อยละ 75 โพแทสเซียมไนเตรต ร้อยละ 15 และซัลเฟอร์ ร้อยละ 10 สารประกอบนี้สร้างก๊าซได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นระเบิด ที่มา : ดอกไม้ไฟทำงานอย่างไร. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 73.– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การแต่งงานช่วยรักษาชีวิตคนหัวใจป่วย

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

นักวิทยาศาสตร์อเมริกันพบว่าคนที่แต่งงานมีโอกาสรอดชีวิตจากการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนโสดถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ และถ้าหากดูแค่ในช่วง 3 เดือนแรกหลังการผ่าตัด โอกาสรอดของคนที่แต่งงานก็สูงกว่าถึง 3 เท่า ที่มา : การแต่งงานช่วยรักษาชีวิตคนหัวใจป่วย. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 14.– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระตุ้นสมอง = ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

นักวิทยาศาสตร์สวิสค้นพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ EPO (erythropoietin) ในสมองหนูทดลองจะวิ่งได้เร็วขึ้น ผลการทดลองนี้อาจจะนำไปสู่ยาที่เร่งให้มนุษย์ดึงพลังงานออกมาใช้ในการออกกำลังกายได้มากขึ้น ที่มา : กระตุ้นสมอง = ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 12. – ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ใครกันที่ประดิษฐ์เมาส์สำหรับคอมพิวเตอร์

Published on March 18, 2013 by in S&T Stories

ตัวต้นแบบชิ้นแรกของเมาส์สำหรับคอมพิวเตอร์ถูกจดสิทธิบัตรโดย ดักลาส เอ็นเกล บาร์ต นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันในปี 1970 มันประกอบขึ้นจากเคสไม้และลูกล้อที่ทำจากเหล็ก 2 อัน มันถูกเรียกว่า “เมาส์” เนื่องจากมีสายยื่นออกมาทางด้านหลังคล้ายหางของหนู ที่มา : ใครกันที่ประดิษฐ์เมาส์สำหรับคอมพิวเตอร์. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 74.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แผ่นดินไหวครองแชมป์สุดยอดนักฆ่า

Published on March 18, 2013 by in S&T Stories

ในระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นจำนวน 1.3 ล้านราย ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เกิดจากภัยแผ่นดินไหว แค่มหาภัยพิบัติแผ่นดินไหวในเดือนมกราคม 2010 ที่เฮติที่เดียวก็คร่าชีวิตคนไปกว่า 230,000 รายแล้ว ส่วนการระเบิดของภูเขาไฟอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่การระเบิดของภูเขาไฟมักมีสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถอพยพพลเมืองได้ทัน โดยเฉลี่ยแล้วระหว่างปี 1992-2012 มีผู้เสียชีวิตจากผู้เขาไฟระเบิดเพียงปีละ 41 คน นอกจากการเสียชีวิตแล้ว 2 ใน 3 ของประชากรโลกก็เป็นเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยธรรมชาติ ผู้คนประมาณ 2.5 พันล้านคนทั่วโลกนั้นต้องสูญเสียทรัพย์สินบ้านเรือนจากอุทกภัยที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น ที่มา : แผ่นดินไหวครองแชมป์สุดยอดนักฆ่า. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 13.– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวอย่างอุทยานวิทยาศาสตร์

Published on March 1, 2013 by in S&T Stories

อุทยานวิทยาศาสตร์มีการดำเนินการมากว่า 50 ปี ในต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นในระยะสั้น และการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว จากข้อมูลของสมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ (International Association of Science Parks : IASP) และสมาคมอุทยานวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย (Association of University Research Parks : AURP) ปรากฏว่ามีจำนวนอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้นกว่า 500 แห่ง ทั่วโลก – ( 117 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คุณสมบัติของอุทยานวิทยาศาสตร์

สมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (United Kingdom Science Park Association : UKSPA) ได้กำหนดคุณสมบัติของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าเป็นสมาชิกว่าต้องมีขอบข่ายการดำเนินการ 3 ประการ คือ พื้นที่นั้น ๆ ต้องมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นกิจลักษณะกับมหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษาในระดับสูงกว่ามหาวิทยาลัย / ศูนย์วิจัยขนาดใหญ่ ในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงโดยรอบ พื้นที่โครงการต้องออกแบบก่อสร้างเป็นอย่างดี เพื่อจูงใจให้ธุรกิจที่เน้นหนักด้านความรู้ (Knowledge-based business) หรือองค์กรอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาจัดตั้งกิจกรรมบนพื้นที่นั้นๆ นอกจากนี้ต้องออกแบบพื้นที่ให้เอื้ออำนวยแก่ธุรกิจหรือองค์กรเหล่านี้ให้สามารถเติบโตอย่างเข้มแข็งบนพื้นที่ดังกล่าว การบริหารพื้นที่นั้นๆ ต้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริมตลอดจนสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และทักษะทางธุรกิจจากสถาบันการศึกษาหรือจากสถาบันวิจัยให้แก่ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ ที่ตั้งบนพื้นที่นั้น บรรณานุกรม : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : บ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments