magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 24)
formats

มือถืออาจใช้แซฟไฟร์แทนกระจกสำหรับหน้าจอสัมผัส

Published on March 28, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มือถืออาจใช้แซฟไฟร์แทนกระจกสำหรับหน้าจอสัมผัสในอนาคต หน้าจอสัมผัสบนสมาร์ทโฟนนั้นนับเป็นเทคโนโลยีชั้นเยี่ยมตราบใดก็ตามที่มันยังไม่ตกลงบนพื้นแตก ซึ่งผู้ผลิตทั้งหลายก็ตามมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาเรื่องการแตกของหน้าจอแก้วด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรเคมีแบบต่างๆขึ้นมา เช่น Gorilla Glass อันโด่งดังของบริษัท Corning เป็นต้น แต่ในตอนนี้พบว่ามีทางเลือกใหม่แล้ว นั่นก็คือแซฟไฟร์ ธาตุที่มีความแข็งถัดมาจากเพชรนั่นเอง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154912– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวรับสารซีโรโทนินต่อยาป้องกันโรคซึมเศร้า

Published on March 28, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ตัวรับสารซีโรโทนินต่อยาป้องกันโรคซึมเศร้า นักวิจัยได้ทำการศึกษาการถอดรหัสโครงสร้างโมเลกุลของตัวรับ (receptor) ซึ่งเป็นกลไกในสมอง สำหรับสารสื่อประสาทตามธรรมชาติ ที่ชื่อว่า ซิโรโทนิน (serotonin) โดยใช้วิธี X-ray crystallography ซึ่งรังสี X จะยิงผลึกของสารประกอบ และโครงสร้างจะถูกนำมาพิจารณาการกระจายแสง Bryan Roth นักวิจัยและนักเภสัชวิทยาระบบประสาท จาก University of North Carolina Chapel Hill Medical School พบว่าตัวรับเหล่านี้มีขนาดใหญ่และยังไม่ทราบโครงสร้างผลึกสำหรับตัวรับสารซีโรโทนินใดๆ แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่เชื่อถือได้จำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะถอดรหัสตัวรับสารซีโรโทนินมาเป็นเวลานาน และพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับระดับอะตอม ทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของสมองในการรู้สำนึก และสามารถทำมาใช้เป็นนวัตกรรมในการคิดค้นยา รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154913– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การทำงานกะกลางคืนเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่

Published on March 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การทำงานกะกลางคืนเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่ จากข้อมูลการค้นพบของนักวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Occupational  and Environmental Medicine พบว่าการทำงานกะกลางคืนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ นักวิจัยได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่ระยะลุกลาม จำนวน 1,101 ราย ผู้หญิงที่เริ่มมีอาการโรคมะเร็งรังไข่ จำนวน 389 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 1,832 ราย ที่ไม่เป็นโรคมะเร็งรังไข่ โดยผู้หญิงเหล่านี้จะมีอายุระหว่าง 35 ถึง 74 ปี และจะถูกสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานของพวกเขา ซึ่งรวมถึงชั่วโมงการทำงานในกะกลางคืนด้วย – ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความเครียดเรื้อรังทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร

Published on March 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความเครียดเรื้อรังทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร? Sara K. Bengtsson นักวิจัยสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้ทำการศึกษาโดยอาศัยรูปแบบการเกิดโรคในหนูทดลอง พบว่าสาเหตุของความเครียดที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม อาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของสารสเตียรอยด์ที่พบในสมอง ในระหว่างที่เกิดความเครียด สารสเตียรอยด์เหล่านี้สามารถยับยั้งการทำงานทั่วไปของสมองได้ โดยการศึกษานี้ นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าสาร Allopregnanolon ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่พบในระหว่างการเกิดความเครียดจะมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เมื่อทดสอบในหนูทดลอง โดยพบว่าหนูทดลองที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือเป็นโรคอัลไซเมอร์นี้ จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้และการจดจำ นอกจากนี้ ยังพบว่าหนูทดลองที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีการเพิ่มขึ้นของสาร beta-amyloids ในสมองด้วย – ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคซึมเศร้าในวัยเด็กอาจสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจในวัยรุ่น

Published on March 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โรคซึมเศร้าในวัยเด็กอาจสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจในวัยรุ่น นักวิจัยทราบดีว่าผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีแนวโน้มของการเกิดโรคหัวใจและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ รวมถึงมีความเสี่ยงสูงของการตายด้วยโรคหัวใจวายหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ โรคอ้วน และกิจวัตรประจำวัน ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของปัญหาโรคหัวใจ – ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กูเกิลกำลังคิดสร้างแหวนพิเศษแทนการใช้พาสเวิร์ด

Published on March 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กูเกิลกำลังคิดสร้างแหวนพิเศษแทนการใช้พาสเวิร์ด ในงานวิชาการ RSA Security ที่ San Francisco นั้น Mayank Upadhyay ผู้ซึ่งเป็นวิศวกรอันดับสูงและมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยคนหนึ่งที่กูเกิลได้กล่าวว่า ประสบการณ์การเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์นั้นควรจะเรียบง่ายเหมือนการใช้เครื่อง ATM ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำไมกูเกิลถึงกำลังมองไปที่เทคโนโลยี USB ในฐานะทางเลือกอีกทางหนึ่งแทนการใช้พาสเวิร์ด – ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมเราถึงเรียก “การฆ่าคู่อริ” ว่า “สะสางบัญชี”

Published on March 25, 2013 by in S&T Stories

คำว่า “Liquidate” ในภาษาอังกฤษ เป็นศัพท์ทางบัญชีที่หมายถึง “สะสางหนี้สินค้างชำระ” แต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มันก็เกิดความหมายใหม่ขึ้น คือแปลว่า “ฆ่าคนทรยศหรือไส้ศึกอย่างลับ ๆ ” พูดง่ายๆ คือเป็นการซ่อนความหมายนองเลือดไว้ในสำนวนแบบธุรกิจนั่นเอง แหล่งที่มา : ทำไมเราถึงเรียก “การฆ่าคู่อริ” ว่า “สะสางบัญชี”. Science Illustrated.  (January 2013). หน้า 73.– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เรือตัดน้ำแข็งยักษ์ใหญ่บุกขั้วโลกเหนือ

Published on March 25, 2013 by in S&T Stories

ในปี 2018 รัสเซียจะเปิดตัวเรือตัดน้ำแข็งที่ใหญ่และทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อบุกดินแดนน้ำแข็งแห่งอาร์กติก แหล่งที่มา :  เรือตัดน้ำแข็งยักษ์ใหญ่บุกขั้วโลกเหนือ. Science Illustrated.  (January 2013). หน้า 89.– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เสียงทุ้มคือเสียงแห่งผู้นำ

Published on March 25, 2013 by in S&T Stories

งานวิจัยสาขาชีววิทยา-การเมือง จากมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าคนเรามักจะรู้สึกถึงความเป็นผู้นำจากคนที่มีเสียงทุ้มนุ่มลึก ไม่ว่าเสียงนั้นจะเป็นของผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม แหล่งที่มา :  เสียงทุ้มคือเสียงแห่งผู้นำ. Science Illustrated, (January 2013). หน้า 10.– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สิทธิของผู้แต่งบทความงานวิจัย (Authors’ Rights)

ในแวดวงอุตสาหกรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย วิชาการ ที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง สำนักพิมพ์ได้อ้างถึงลิขสิทธิ์และสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นเจ้าของในบทความชิ้นนั้นเสมอมา ผู้เขียนหรือผู้แต่งผลงานวิจัยที่จะเสนอบทความตีพิมพ์ ต้องรับทราบและยอมรับเงื่อนไขของสำนักพิมพ์ในฐานะเจ้าของผลงาน ว่ากรณีใดที่จะสามารถเผยแพร่ผลงานได้ แลกกับการที่ได้ลงตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการของสำนักพิมพ์เหล่านั้น Elsevier คือ สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลกที่กำหนดเงื่อนไขการเผยแพร่ผลงานของผู้เขียนผลงานวิจัยไว้อย่างชัดเจน ดังรายละเอียดในตารางแสดงสิทธิของผู้เขียนผลงานวิจัยกับสำนักพิมพ์ Elsevier ดังนี้   จากตารางแสดงสิทธิของผู้เขียนผลงานวิจัยกับสำนักพิมพ์ Elsevier นี้ พบว่า หากเป็นบทความประเภทก่อนตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (Preprint) ซึ่งถือเป็นบทความฉบับร่างที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินโดยคณะกรรมการ (Peer Review)  นั้น ส่วนใหญ่สามารถเผยแพร่ได้ในหลายกรณี หากอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบหรือบทความนั้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ส่วนใหญ่ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการและความยินยอมจากสำนักพิมพ์ก่อน และที่สามารถเผยแพร่ได้ในทุกกรณีมีข้อเดียวคือ คือ การใช้ประโยชน์ในการทำงานวิจัยระหว่างผู้ร่วมงานหรือร่วมวิชาชีพเดียวกัน– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments