ศาสตราจารย์เอพริล เบนาซิช ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองชาวอเมริกัน ได้ศึกษาสมองของทารกและเด็กเล็กเป็นจำนวนมาก พบว่าเด็กเล็กๆ สามารถเรียนรู้ด้านภาษาได้ด้วยตัวเองจาก “ภาวะอ๋อ (Aha experience)” ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความสำคัญต่อความเข้าใจภาษาพูดและภาษาเขียน และมีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาที่จะต่อยอดไปในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย – ( 132 Views)
ความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่
ในปัจจุบัน สังคมอุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการให้บริการของห้องสมุดในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ หรือนักสารสนเทศของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต่อการตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารหลากหลายรูปแบบของคนในสังคม มีการปรับบทบาทเพื่อบุกเบิก ส่งเสริม และประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารกับนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปใช้ในการบริหารจัดการ แลกเปลี่ยน เผยแพร่ และเรียนรู้องค์ความรู้และวิทยาการใหม่ๆ เพื่อสามารถสนับสนุนการให้บริการและการใช้งานอย่างเหมาะสมกับห้องสมุดและผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมและความต้องการที่แตกต่างกันไป และสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้ แต่การจะปรับเปลี่ยนเป็นห้องสมุดยุคใหม่ให้มีประสิทธิผลนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้กล่าวปาฐกถาไว้ในการประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร ประจำปี 2556 “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่ (Live and Learn in the Modern Library)” เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้ – ( 369 Views)
SIX DEGREES COULD CHANGE THE WORLD : 6 องศาเปลี่ยนโลก
เนื่องจากได้มีโอกาสร่วมเข้าฟังประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และวิทยากรได้ถามคำถามที่ไม่คาดคิดขึ้นว่า “ทราบหรือไม่ ว่าโลกของเราอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณกี่องศา” แต่คนก็รีบหยิบ Smart Devices ที่มีอยู่ในมือขึ้นมาค้นหาคำตอบกันจ้าละหวั่น มีหลายคนตอบใกล้เคียง แต่ไม่มีใครตอบถูก ซึ่งพอคิดดีๆ แล้ว หากถามคำถามนี้อีก 1 – 2 ปีข้างหน้า คำตอบอาจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ได้ จากการค้นหาคำตอบดังกล่าวจึงทำให้ได้ลองอ่าน และดูสารคดีเกี่ยวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นด้วยความหวาดหวั่นเพราะกลัวคำตอบจะออกมาน่ากลัวอย่างที่คิดไว้ ซึ่งคำตอบนั้นก็น่ากลัวจริงๆ จึงอยากนำมาแบ่งปัน เล่าสู่กันอ่านให้ได้ตระหนักว่า ‘ทุกองศาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง มีผลต่อโลกใบนี้’ อย่างน่ากลัวจนคาดไม่ถึง – ( 6272 Views)
เขตข้อมูล (field)
เขตข้อมูล (field) คือ พื้นที่ที่กันไว้สำหรับเก็บข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล ซึ่งเป็นหน่วยย่อยรองลงมาจากระเบียน เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละระเบียน เช่น เขตข้อมูลปีที่พิมพ์จะเป็นส่วนที่บอกได้ว่าระเบียนที่ค้นคืนได้ หรือที่แสดงผลอยู่นั้นจัดพิมพ์ในปีใด หรือเขตข้อมูลชื่อเรื่องช่วยจำกัดผลการค้นให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น การลงรายการทรัพยากรห้องสมุดนั้น เขตข้อมูล (field) เป็นการกำหนดว่าแต่ละเขตข้อมูลนั้นจะมีความยาวเท่าไร และตำแหน่งเริ่มต้นที่ตำแหน่งใด โดยแต่ละระเบียนจะประกอบไปด้วยเขตข้อมูลจำนวนมากรวมกัน และจัดกลุ่มหรือประเภทของเขตข้อมูลด้วยหมายเลขประจำเขตข้อมูล โดยใช้เลข 3 หลัก เริ่มต้นจาก 001 ถึง 999 แทนชื่อเขตข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูล ค้นหา และประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 5040 Views)
กฤตภาค (Clipping)
กฤตภาค นับว่าเป็นวัสดุสารนิเทศของห้องสมุดอย่างหนึ่ง เป็นการนำข้อความหรือบทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์และวารสารฉบับล่วงเวลา โดยผู้ที่ต้องการจะเก็บบันทึกบทความ ข้อความที่น่าสนใจ บทบรรณาธิการ จดหมายถึงบรรณาธิการ ภาพถ่าย การ์ตูน รวมถึงเรื่องราวที่ยังไม่มีการรวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ฯลฯ มักรวบรวมเก็บเข้าแฟ้มไว้เป็นคอลเล็กชัน โดยจะมีการจัดเก็บด้วยหัวเรื่อง หรือวิธีการจำแนกอื่น เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้าและอ้างอิง นอกจากนี้ยังสามารถเป็นประโยชน์ในการจัดนิทรรศการ หรือรวบรวมเพื่อให้ทราบแนวโน้มความสนใจของประชาชนในเรื่องและช่วงเวลาต่างๆ ได้อีกด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 68 Views)
Non-fiction book
หนังสือสารคดี (Non-fiction book) คือ หนังสือที่แต่งขึ้นจากเรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ ไม่ได้เจาะจงให้ความเพลิดเพลิน ถึงแม้ว่าเนื้อหาในหนังสือบางเล่มจะให้ทั้งสาระความรู้ ความเพลิดเพลินและความจรรโลงใจในการอ่านด้วยก็ตาม ซึ่งครอบคลุมวิชาการสาขาต่างๆ เช่น หนังสือเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล การรักษาสุขภาพอนามัย ศาสนา ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ชีวประวัติ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 76 Views)
หนังสือนิทานอักษรเบรลล์
เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มูลนิธิ อ็องตวน เดอ แซ็งแตกซูว์เปรี ในปี 2556 นี้ ทางมูลนิธิได้เตรียมเปิดตัวหนังสือ The Little Prince, ‘Sight and Touch’ ฉบับสัมผัส หรือหนังสืออักษรเบรลล์ (Braille) เพื่อแบ่งปันเรื่องราวและจินตนาการไปสู่ผู้พิการทางสายตา ไม่เพียงเป็นการบอกเรื่องราวด้วยอักษรเบรลล์เท่านั้น แต่ยังเป็น ‘หนังสือเรื่องและภาพ’ ที่สามารถถ่ายทอด ’ภาพประกอบ’ ต้นฉบับที่มีเอกลักษณ์ของผู้แต่งเป็นครั้งแรก ให้ผู้พิการทางสายตาได้ดื่มด่ำจินตนาการทั้งเรื่องและภาพอย่างมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการสร้างภาพยนต์สั้นเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่จะเปิดตัวหนังสือในต้นปี 2556 นี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ทางการกองทัพอากาศฝรั่งเศส French Air Force และองค์กรอิสระที่สนับสนุนผู้พิการ อาทิเช่น Séquences Clés บริษัทผู้ผลิตภาพยนต์ที่ว่าจ้างบุคคลทุพพลภาพเข้าเป็นพนักงานประจำแห่งแรกในฝรั่งเศสอีกด้วย – ( 543 Views)