magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by wanutwira (Page 6)
formats

ทบทวนมาตรฐานน้ำหนักอะตอม

เทคโนโลยีวิเคราะห์ทางเคมีที่เรียกว่า Mass Spectrometry เป็นสิ่งที่คงที่และน่าเชื่อถือได้ถูกนำมาใช้ในการทบทวนน้ำหนักมาตรฐานของอะตอมในทุกๆสองปี  และในปีนี้ International Union of Pure & Applied Chemistry (IUPAG) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมการทบทวนวัดได้นำเสนอค่าน้ำหนักของอะตอมจำนวน 18 ธาตุ  (elements) และการ ให้คำจำกัดความใหม่ของกิโลกรัม  ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานของมวล ตามที่วางแผนไว้  สามารถทำให้มีการประเมินวิเคราะห์น้ำหนักของอะตอมได้ใหม่ซึ่งแม่นยำกว่า ในปีนี้ การทบทวนธาตุรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในน้ำหนักอะตอมสำหรับ cadmium, molybdenum, selenium และ thorium บนพื้นฐานของการวัดคำนวณขอจำนวนที่มีอยู่มากมายในโลกของธาตุที่มีไอโซโทป หรือ ธาตุที่มีคุณสมบัติสเถียรหลากหลายและการทบทวนธาตุอื่นๆ อีก 15 ตัวทำให้มีการประเมินที่ทันสมัยของไอโซโทปที่มีคุณสมบัติเสถียรในแต่ละตัวด้วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/  –

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มาตรฐาน RDA (Resource Description and Access)

จากการเข้าฟังบรรยายวิชาการ เรื่อง การลงรายการตามมาตรฐาน RDA โดย อาจารย์ นันทพร ธนะกุลบริภัณฑ์ (สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยสามารถสรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ มาตรฐาน RDA (Resource Description and Access) เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ หรือ New Content Standards ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแทนที่มาตรฐานการลงรายการ AACR2 ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยความร่วมมือของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน สมาคมห้องสมุดแคนาดา และสมาคมวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศ โดยมี Conceptual models ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงรายการบรรณานุกรม คือ – ( 819 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media)

สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) คือสื่อที่ผ่านกระบวนการพิมพ์ลงบนกระดาษ ได้แก่ เอกสาร สมุด หนังสือ แผ่นกระดาษ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพถ่าย และ/หรือวัตถุใดๆ ที่พิมพ์ขึ้นเป็นหลายสำเนา ถือได้ว่าเป็นสื่อมวลชนที่มีความเก่าแก่ที่สุด ในปัจจุบันสามารถแบ่งสื่อสิ่งพิมพ์ได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ 2 มิติ คือสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ใช้วัสดุจำพวกกระดาษและมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอเนื้อหาข่าวสารต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร เป็นต้น สิ่งพิมพ์ 3 มิติ  คือสิ่งพิมพ์ที่ต้องอาศัยระบบการพิมพ์แบบพิเศษ มักจะเป็นการพิมพ์โดยตรงลงบนผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกรรมวิธีสร้างรูปทรงมาแล้วก่อนพิมพ์ ได้แก่ การพิมพ์ลงบนภาชนะต่างๆ การพิมพ์ระบบแพดบนภาชนะที่มีผิวต่างระดับ หรือการพิมพ์ระบบพ่นหมึก เป็นต้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media)– ( 388 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Book Reviews

Book Reviews หมายถึง หนังสือปริทัศน์ หรือบรรณนิทัศน์ หรือการวิจารณ์ หรือการวิจารณ์หนังสือ หรือบทวิจารณ์หนังสือ ซึ่งเป็นบทความที่วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระ คุณค่า และคุณูปการของหนังสือ บทความ หรือผลงานศิลปะ รวมถึงการตีความหมาย หรือประเมินผลด้วย พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น เป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์ เขียนขึ้นโดยผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของผลงานหรือผู้เขียนต้นฉบับนั้นๆ ซึ่งบทวิจารณ์เป็นเรื่องย่อประเภทเดียวเท่านั้น ที่สามารถวิพากย์วิจารณ์หรือประเมินผลงานของรายงานนั้นได้ – ( 348 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บทบรรณาธิการ (Editorial)

บทบรรณาธิการ (Editorial) คือเรียงความสั้นๆ หรือบทความที่แสดงความคิดเห็น หรือทัศนะ หรือจุดยืนทางความคิดที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง และทักษะ บทความดังกล่าวนี้ประกอบอยู่นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ ซึ่งในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้เขียน อาจจะเป็นบรรณาธิการคนใดคนหนึ่งเขียนเป็นประจำหรือสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันตามแต่ความถนัดของเรื่องที่จะเขียน และบทบรรณาธิการนี้ เปรียบเสมือนกับหัวใจของหนังสือพิมพ์ เป็นตัวตนอันแท้จริงของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ถือว่าเป็นบทแสดงความคิดเห็นแทนข้อความทั้งเล่ม ซึ่งบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ประเทศอังกฤษจะไม่ใช้คำว่า editorial แต่จะใช้ว่า leader หรือ leading article แทน – ( 322 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บรรณาธิการ (Editor)

บรรณาธิการ (Editor) คือบุคคลที่มีหน้าที่เป็นผู้จัดทำ คัดเลือก รวบรวม ปรับปรุง ตรวจแก้เรื่อง รับผิดชอบควบคุมเนื้อหา หรือภาพที่ลงพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งวัสดุหรือเอกสารที่แทรกในหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์นั้นๆ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย นอกจากนี้บรรณาธิการจะเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวให้ต้นฉบับงานเขียนสำเร็จเป็นสิ่งพิมพ์ออกเผยแพร่ โดยอาจดำเนินการคนเดียว หลายคนหรือเป็นคณะ และอาจมีคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะ ปริมาณความลึกซึ้งหรือหลากหลาย ความซับซ้อนของส่วนประกอบเนื้อหาหรือโอกาสสำคัญที่จะจัดพิมพ์ต้นฉบับ งานเขียนชิ้นนั้น และนิยมใช้เป็นคำย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า บก. – ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภัณฑารักษ์ (Museum curator)

ภัณฑารักษ์ (Museum curator) หรือนักพิพิธภัณฑ์ (Meuseologist) เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาสิ่งของและจัดแสดงสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ โดยมากได้แก่จำพวกโบราณวัตถุศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถาน หรือตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ รวมถึงยังมีหน้าที่ในการการจัดหา จัดหมวดหมู่ จัดแสดงวัตถุในที่จัดแสดง สามารถดูแล ซ่อมแซม และวางแผนจัดการและแผนการให้บริการ มีความสามารถในการประเมินราคาของศิลปวัตถุด้วย และออกแบบการนำเสนอหรือจัดแสดงสิ่งของในพิพิธภัณฑ์มาประกอบกับความรู้ต่างๆ ที่เนื้อหาที่อาจล้าสมัย หรือต้องใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือทำความเข้าใจยาก มาทำให้คนชมพิพิธภัณฑ์สนใจในของนั้นๆ ได้ ซึ่งภัณฑารักษ์นับเป็นตำแหน่งที่สำคัญและรับผิดชอบสูง ทั้งในแง่บริหาร ปฏิบัติการและการบริการ ด้วยเหตุนี้ ภัณฑารักษ์จึงต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านเป็นอย่างดี นอกเหนือจากความรู้ด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ทั่วไป ซึ่งจะหน้าที่ของภัณฑารักษ์แตกต่างกันไป ตามลักษณะเฉพาะของสถานที่จัดแสดง เช่น – ( 628 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical dictionary)

อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical dictionary) คือหนังสืออ้างอิงทางด้านชีวประวัติ ชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลที่มีความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน มีการรวบรวมชีวประวัติของบุคคลหลายคนที่กล่าวมานี้ไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น วัน เดือน ปีเกิด ปีตาย ครอบครัว การศึกษา การงาน ตำแหน่ง เกียรติยศ ผลงาน รางวัลต่างๆ และภูมิลำเนา เป็นต้น  โดยทั่วไปจะมีการจัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อบุคคลอันเป็นเจ้าของประวัติเพื่อสะดวกแก่การค้นหา ยกเว้นบางเล่มที่จัดลำดับอย่างอื่นก็จะมีแจ้งไว้ในคำนำ ซึ่งอักขรานุกรมชีวประวัตินั้นจะมีการรวบรวมรายละเอียดของบุคคลค่อนข้างละเอียดกว่านามานุกรม – ( 4059 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สารานุกรมสำหรับเด็ก (Children’s encyclopedia)

สารานุกรมสำหรับเด็ก (Children’s encyclopedia) คือหนังสือที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงสาระความรู้ทั่วไปหลากหลายสาขาวิชา โดยไม่เป็นวิชาการเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง และรวบรวมเข้าไว้ในเล่มเดียวกัน มีขอบเขตเนื้อหาที่แคบกว่าและไม่ลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนเช่นสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อสนับสนุนหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและเป็นเรื่องที่เด็กๆ ควรศึกษาไว้ มีการจัดลำดับเรื่องตามลักษณะความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาแต่ละสาขาวิชา ด้วยประสงค์ที่จะให้ผู้ที่อ่านนั้นทราบว่าวิชาการแต่ละสาขามีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงกัน – ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Acknowledgement

กิตติกรรมประกาศ (acknowledgement) คือคำประกาศเกียรติคุณความดีเพื่อเป็นเกียรติ หรือคำกล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ ซึ่งมีการใช้ชื่อต่างกันไป บางแห่งใช้ คำนำ (foreword) หรือคำปรารถ (preface) หรือคำนิยม ส่วนวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ นิยมใช้กิตติกรรมประกาศ หรือ ประกาศคุณูประการ แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จัดว่าเป็นส่วนที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอต่อผู้อ่านทุกท่านให้ได้รับรู้ว่าผลงานนี้มีแหล่งทุนหรือผู้สนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรใด เช่น วช. สกว. สวทช. ฯลฯ รวมทั้งเป็นส่วนที่จะได้คำขอบคุณผู้ที่ได้ช่วยเหลืองานวิจัย เช่น ผู้ที่ให้ข้อแนะนำ ให้คำแนะนำทักท้วง ให้คำปรึกษา ให้แนวความคิด ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและให้การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์ในการทำวิจัยควรเอ่ยนามไว้ด้วย ตรวจสอบผล ตรวจวัด จดบันทึก ฯลฯ และ/หรือจัดเตรียเอกสาร เช่น ถ่ายภาพ เขียนรูปประกอบ ฯลฯ แต่บุคคลเหล่านี้ต้องมิใช่เป็นผู้ที่ร่วมงานซึ่งมีชื่ปรากฏในเรื่องด้วย  เพื่อแสดงความพอใจ ซาบซึ้งใจในความดีของผู้ที่ช่วยเหลือตน ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วย – ( 141 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments