แนวคิดเรื่องการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และหนี้สินของเกษตรกร มีมาตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ห้า มีการวางแผนที่จะตั้งสหกรณ์ โดยเริ่มศึกษาวิธีการจัดตั้ง รวมถึงตั้งกรมสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ใน พ.ศ. 2458 เพื่อทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น โดยสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจดทะเบียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 โดยมี พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ มีสมาชิกแรกตั้ง 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท และเงินทุนจากธนาคาร 3,000 บาท มีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย : นิโคลา เทสลา”. Update. 27(293) : 105 ; มีนาคม 2555.– ( 67 Views)
ลูกเสือ
หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างแดน พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการลูกเสือ จึงทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 สำหรับฝึกฝนและปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนชายพร้อมที่จะประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ภายหลังจากมีการตั้งกองเสือป่าก่อนหน้านั้น ราวสองเดือน เพื่อฝึกวิชาทหารให้แก่พลเรือนอาสาสมัครที่มีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อแผ่นดินทั้งในยามสงบและยามสงบและยามสงคราม โดยกองลูกเสือกองแรกนั้นมีขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (หรือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) และขยายออกไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ซึ่งลูกเสือคนแรกของไทยคือ นาย ชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนาย ลิขิตสารสนอง แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย : ลูกเสือ”. Update. 27(294) : 105 ; เมษายน 2555.– ( 115 Views)
ฟาร์มโคนม
หลังจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาลประเทศเดนมาร์ก ใน พ.ศ. 2503 ทรงสนพระทัยในกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์ก จึงลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและเศรษฐกิจระหว่างไทยและเดนมาร์ก เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย โดยจัดตั้งฟาร์มโคนม และศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์กขึ้นที่จังหวัดสระบุรี และทรงเสด็จเปิดอย่างเป็นการร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 ต่อมาจึงโอนกิจการมาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในชื่อ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : โรเบิร์ต นอยซ์”. Update. 27(291) : 105 ; มกราคม 2555.– ( 133 Views)
ผัดไทย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นพยายามปลุกสำนึกรักชาติด้วยการประกาศรัฐนิยมหลายฉบับ หนึ่งในนั้นคือ การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” จึงอยากให้มีอาหารประจำชาติไทยขึ้น กอปรกับประทเศกำลังอยู่ในวิกฤติการณ์สงคราม และน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้ตกอยู่ในยุคข้าวยากหมากแพง จึงมีการคิดค้นสูตรก๋วยเตี๋ยวผัดไทย หรือผัดไทย เพื่อให้มีความแตกต่างจากก๋วยเตี๋ยวต้นตำรับของชาวจีนที่กำลังได้รับความนิยม ด้วยการนำส่วนผสมของไทยมาใช้ อาทิ เส้นจันทร์ กุ้งแห้ง ฯลฯ แล้วเผยแพร่วิธีประกอบอาหารสู่ประชาชน ปัจจุบันผัดไทยจึงกลายเป็นอาหารไทยชื่อดังที่ชาวต่างชาตินิยมรับประทาน แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย : นิโคลัส สตีโน”. Update. 27(292) : 105 ; กุมภาพันธ์ 2555.– ( 157 Views)
กาแฟ
กาแฟจัดว่าเป็นอาหารมื้อเช้าของชาวออฟฟิต ซึ่งต้องการใช้ความเร่งรีบและสะดวกในมื้อเช้า แต่ใครจะรู้บ้างว่า กาแฟเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จวบจนสมัยรัตนโกสินทร์ กาแฟกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง ยิ่งเฉพาะช่วงรัชกาลที่สามและสี่ โดยมักเรียกกันว่า “ข้าวแฝ่” ต่อมาใน พ.ศ. 2447 นายดีหมุน ชาวมุสลิม นำเมล็ดกาแฟโรบัสต้าจากประเทศซาอุดีอาระเบียมาปลูกที่จังหวัดสงขลา ชาวบ้านจึงเริ่มทำสวนกาแฟกันมาก และเริ่มมีร้านกาแฟร้านแรก เมื่อ พ.ศ. 2460 ชื่อ Red Cross Tea Room ของชาวอเมริกัน ส่วนร้านกาแฟร้านแรกของคนไทยมีชื่อว่า “นรสิงห์” ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2465 ด้วยการดำเนินงานของ พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ต่อมาภายหลังมีการนำเมล็ดกาแฟอะราบิก้าเข้ามาปลูกทดแทนฝิ่นใน พ.ศ. 2516 ที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย : กาแฟ”. Update. 26(285) : 105 ; มิถุนายน 2554.– (
นักวิทยาศาสตร์ : ดมิตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev)
เมนเดเลเอฟ (หรือ เมนเดลีฟ) ในชื่อเต็มว่า ดมิตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ (Dmitri Ivanovish Mendeleev) เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834- ถึงแก่กรรมวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมนเดเลเอฟ ได้เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อเป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เมนเดเลเอฟได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากมหาวิทยาลัยอีกด้วย และได้รับปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในที่สุด เมนเดเลเอฟ คือ นักเคมีชาวรัสเซีย ผู้คิดค้นตารางพีริออดิก (Periodic table) ที่จัดเรียงธาตุตามลำดับของน้ำหนักเชิงอะตอม แบ่งธาตุออกเป็นคาบและหมู่ ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีคุณสมบัติคล้ายกัน วิธีนี้ทำให้เมนเดเลเอฟ สามารถทำนายคุณสมบัติของธาตุที่ไม่รู้จักได้ ซึ่งเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้นในเวลาต่อมา ความรู้เกี่ยวกับอะตอมมีมากขึ้นด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงปรับปรุงตารางพีริออดิกของเมเดเลเอฟอีกเล็กน้อย จนในที่สุดก็ได้ตารางธาตุแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เมนเดเลเอฟจึงถูกยกย่องให้เป็น “Father of the Periodic Table” หรือ “บิดาแห่งตารางธาตุ” เขากล่าวไว้ว่า “Pleasures flit by-they are only for