magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 23)
formats

เครื่องเคลื่อนย้ายสสารจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เครื่องเคลื่อนย้ายสสารจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเคลื่อนย้ายสสาร เป็นสิ่งที่พบได้ในนิยายวิทยาศาสตร์หลายๆ อย่างและเป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่ฝัน แม้ในปัจจุบันจะยังไม่ใกล้ความจริง แต่ล่าสุดนักวิจัยจาก ETH ซูริค สามารถเคลื่อนย้ายข้อความจากบริเวณ A ไปยังบริเวณ B ได้เป็นครั้งแรกแล้วโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับชิปของคอมพิวเตอร์ แม้จะยังไม่ถึงขั้นการเคลื่อนย้ายมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ ข้ามมิติได้ แต่นักฟิสิกส์ที่ ETH  ซูริค สวิตเซอร์แลนด์ก็ประสบความสาเร็จใจการขนส่งข้อมูลในสิ่งที่เรียกว่า Solid State System นักวิจัยทำได้โดยใช้หลักการคล้ายๆ กับชิปของคอมพิวเตอร์ที่มีทั่วไปในท้องตลาด ความแตกต่างของอุปกรณ์ที่นักวิจัยใช้กับชิปคอมพิวเตอร์ก็คือว่า อุปกรณ์ใหม่นี้จะไม่บันทึกข้อมูลเอาไว้และข้อมูลจะถูกประมวลผลโดยไม่ใช้กฎฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่จะใช้ควอนตัมฟิสิกส์ งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว โดยเผยว่า นักวิจัยสามารถจะขนส่งข้อมูลข้ามระยะทาง 6 มิลลิเมตรได้จากมุมหนึ่งของชิปไปอีกมุมหนึ่งของชิป ซึ่งได้มีการแสดงให้เห็นด้วยว่า เป็นไปได้ โดยไม่ต้องมีการขนส่งวัตถุทางกายภาพที่เป็นตัวนำพาข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับใดๆ เลย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447362– ( 86 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระต่ายเรืองแสงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในตรุกี

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กระต่ายเรืองแสงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในตรุกี กระต่ายเรืองแสงนั้นอาจจะฟังดูเหมือนสัตว์จากนิยายหรือภาพยนตร์ซักเรื่องหนึ่งแต่ไม่นานมานี้ที่ University of Istanbul ในประเทศตุรกีนั้น ได้มีกระต่ายเรืองแสง fluorescent เกิดขึ้นจริงแล้ว กระต่ายพวกนี้ได้เข้าร่วมรายชื่อสัตว์ที่มีขนเรืองแสง fluorescent แล้ว ซึ่งวิศวกรพันธุกรรมนั้นได้สร้างสุนัข แมว หมู และหนูที่มีขนเรืองแสงได้โดยการดัดแปลงพันธุกรรมและใส่ยีนของแมงกะพรุนลงไปใน DNA ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งยีนของแมงกะพรุนนั้นมีโปรตีนที่จะส่องแสงออกมาเมื่อถูกแสงอัลตร้าไวโอเลตตกกระทบ ยีนของแมงกะพรุนนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจนบนสัตว์ได้รับการพันธุวิศวกรรม ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์รู้ได้ว่าพันธุกรรมนั้นได้ถูกปลูกถ่ายลงไปบนอีกสิ่งมีชีวิตได้เป็นผลสำเร็จแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447359– ( 139 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดื่มกาแฟเยอะไปอาจทำให้ตายเร็ว

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ดื่มกาแฟเยอะไปอาจทำให้ตายเร็ว นักวิจัยค้นพบว่า การดื่มกาแฟจำนวนมากเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่ดี อาจทำให้เสียชีวิตเพราะโรคทางเดินโลหิตได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มที่อายุไม่เกิน 55 ปี การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาตัวอย่างกว่า 40,000 ราย โดยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่า 28 แก้วต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 21 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในกลุ่มชายและหญิงที่อายุไม่เกิน 55 ปีที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447368– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วันนี้เราเดินไปทำงาน / เรียนกันเถอะ

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วันนี้เราเดินไปทำงาน / เรียนกันเถอะ งานวิจัยล่าสุดพบว่า การเดินมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่เดินทางไปทำงานโดยการเดินกับขับรถส่วนตัว / ขึ้นรถเมล์ พบว่า ผู้ที่ “เดิน” ไปทำงานนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้ที่ “ขับรถ” ไปทำงานถึง 40% ด้วยกันเลยทีเดียว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447303– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทย์จับตาดูกิจกรรมในเซลล์สมองได้แล้ว

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทย์จับตาดูกิจกรรมในเซลล์สมองได้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้โปรตีนที่ผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมเพื่อตรวจดูกิจกรรมทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเซลล์สมองของสิ่งมีชีวิตอย่างแมลงวันได้แล้ว ผลงานวิจัยจากโครงการ Brain Research through Advancing Innovative Neurotechnologies (BRAIN) Initiative นี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Cell โดยเผยว่า โปรตีนดังกล่าวอาจจะนำไปใช้ในการศึกษากิจกรรมของเซลล์สมองของสัตว์หลายๆ ชนิดได้ ตลอดจนศึกษาว่า ความผิดปกติทางประสาทไปรบกวนการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทปกติอย่างไร เซลล์สมองจะใช้กระแสไฟฟ้าในการควบคุมความคิด การเคลื่อนไหว และความรู้สึก นับตั้งแต่เมื่อ ดร.ลุยจิ กัลวานี่ สามารถใช้การกระตุ้นไฟฟ้าทำให้กบขยับขาได้ นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามจะศึกษากิจกรรมทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทเพื่อให้เข้าใจให้ได้ว่าเซลล์ประสาทมีความเกี่ยวข้องกับการขยับขาของกบได้อย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447317– ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยสาเหตุยุคน้ำแข็งต้องมีวัฏจักร 100,000 ปี

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยสาเหตุยุคน้ำแข็งต้องมีวัฏจักร 100,000 ปี ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดว่าเหตุใดจึงเกิดยุคน้ำแข็งทุกๆ 100,000 ปี ล่าสุด นักวิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์จำลองการเกิดยุคน้ำแข็งขึ้นมา โดยใส่ทั้งปัจจัยแสงแดดที่ผันผวน อิทธิพลของเปลือกทวีป และสภาพอากาศลงไปด้วย ยุคน้ำแข็งและยุคอบอุ่นเป็นวัฏจักรของโลกที่เกิดขึ้นสลับกันไป โดยที่โลกจะเย็นอยู่ทุกๆ 100,000 ปี ทำเอาพื้นที่ตามอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย จมอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งหนา แต่เมื่อเข้าสู่อีกครึ่งของวัฏจักร โลกก็จะอุ่นขึ้นและน้ำแข็งจะละลาย นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศพบว่าวงจรนี้จะครบรอบ 100,000 ปี โดยมีหลักฐานสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตะกอนน้ำแข็ง ตะกอนก้นทะเล น้ำแข็งจากมหาสมุทรอาร์คติค แต่ก่อนหน้านี้ก็ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีพอได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447320– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หูเทียมชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หูเทียมชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม จากดวงตาเทียมไปจนถึงแขนขาเทียม เหล่าแพทย์ได้ฝันถึงวิธีต่างๆ มากมายที่จะแทนที่ชิ้นส่วนของร่างกายมนุษย์เมื่อยามเกิดเหตุจำเป็น ในตอนนี้พวกเขาสามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในรายชื่ออวัยวะเทียมได้แล้ว นั่นก็คือหูเทียมที่มีความยืดหยุ่นเหมือนของจริงจากเซลล์กระดูกอ่อนที่ถูกปลูกถ่ายลงบนโครง Titanium เทคนิคใหม่ดังกล่าวซึ่งได้ถูกอธิบายไว้ในวารสาร Royal Society Interface ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นเป็นเทคนิคดีกว่าความพยายามดัดแปลงเนื้อเยื่อด้วยวิธีการทางวิศวกรรมที่ผ่านมา และสามารถแทนที่วิธีการใช้แพทย์ผ่าตัดศัลยกรรมพลาสติก หลายคนในการสร้างรูปทรงหูขึ้นมาจากก้อนกระดูกอ่อนซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมากได้ด้วย โดยกระบวนการดังกล่าวนั้นสามารถนำไปใช้กับคนไข้ที่ต้องสูญเสียหูไปข้างหนึ่งหรือกับเด็กที่มีภาวะ Microtia หรือการก่อรูปของหูที่ผิดปกติ นักวิศวกรรมชีวภาพ Tom Cervantes ผู้ซึ่งประจำอยู่ที่ Massachusetts General Hospital ระหว่างทำการวิจัยกล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447323– ( 66 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การขาดความรับผิดชอบชั่วดีอาจทำให้สุขภาพเสื่อมและเป็นโรคอ้วน

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การขาดความรับผิดชอบชั่วดีอาจทำให้สุขภาพเสื่อมและเป็นโรคอ้วน ผลลัพธ์จากการศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ที่แสดงถึงระดับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ต่ำ (อย่างเช่นความขาดความรับผิดชอบ ความไม่ใส่ใจ และความขี้เกียจ) นั้นอาจจะทำให้ต้องเผชิญกับสุขภาพโดยรวมที่ย่ำแย่และโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้ งานวิจัยจาก Oregon Research Institute (ORI) ได้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกในวัยเด็กกับสุขภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และยังแสดงถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ดี และสุขภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์จาก ORI ชื่อ Sarah Hampson และเพื่อนร่วมงานของเธอจากศูนย์สุขภาพ Kaiser Permanente ที่ฮาวายได้รายงานการค้นพบดังกล่าวในวารสาร Health Psychology ในเดือนสิงหาคม ซึ่งไม่นานมานี้เธอได้เป็นผู้อภิปรายเรื่องสุขภาพและบุคลิกที่งานประชุมของ American Psychological Association ในเมืองโฮโนลูลู รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447327– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

1 ศตวรรษวิทยาศาสตร์ไทยกับบทบาทของไทย

1 ศตวรรษวิทยาศาสตร์ไทยกับบทบาทของไทย เป็นชื่อของหนังสือและเว็บไซต์ (www.centurythaiscience.org) จากความคิดริเริ่มของเอสซีจี  ได้มอบให้มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อที่จะชี้ย้อนให้เห็นพัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ผ่านมาทั้งในโลกโดยรวมและในประเทศไทย ที่จะทำให้เราเข้าใจความเป็นมาและสถานภาพปัจจุบันของวิทยาการในโลกโดยทั่วไป มีการติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ในแต่ละปี พร้อมกับย้อนกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีความสำคัญในบริบทของไทยและของโลกด้วย รูปหน้าปกหนังสือที่ทั้งสิ่งพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปหน้าเว็บไซต์สามารถคลิกเลือกชมวิดีโอหายากเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตและอ่านเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆที่สนใจได้ – ( 112 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จอหน์ เรย์ (John Ray)

นักธรรมชาตินิยม ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งพฤกษศาสตร์ ด้วยการจำแนกและตั้งชื่อพืชพรรณต่าง ๆ ไว้ตามอนุกรมวิธาน รวมถึงแยกแยะพืชใบเลี้ยงเดี๋ยวและใบเลี้ยงคู่ออกจากกัน ตลอดจนเป็นบุคคลแรกที่ให้คำนิยามชนิดพันธุ์หรือสปิซีส์ (species) ในทางชีววิทยาด้วย แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. (2556). วาทะนักวิทย์ : จอห์น เรย์ (John Ray). Update, 28 (308), 105.– ( 1022 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments