magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 22)
formats

ในสภาพที่ขาดน้ำมีผลต่อแบคทีเรียรอบๆ รากพืชอย่างไร

Published on August 26, 2013 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยจาก University of Milan ซึ่งนำโดย Daniele Daffonchio ค้นพบว่าเมื่อพืชอยู่ในสภาพที่ขาดน้ำ แบคทีเรียรอบๆ รากพืชช่วยให้พืชสามารถเจริญได้ ตามที่เผยแพร่ในวารสาร PLOS ONE อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ

Published on August 26, 2013 by in S&T Stories

นักวิจัยค้นพบยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่ง ซึ่งให้ผลต่อต้านเชื้อไวรัสที่สำคัญหลายชนิด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีทำให้พืชผลิตอาหารได้มากขึ้น

Published on August 26, 2013 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยซึ่งมีทีมจาก Wageningen University เป็นแกนหลัก ทำการทดสอบประสิทธิภาพของขบวนการสังเคราะห์แสงเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสงแตกต่างกัน และสรุปว่าเป็นไปได้ที่จะพัฒนาพืชซึ่งผลิตอาหารได้มากขึ้นโดยการลดจำนวนของเม็ดสี (pigment) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งคณะนักวิจัยค้นพบว่าเม็ดสีในใบไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับขบวนการสังเคราะห์แสง แต่ทำหน้าที่แค่ดูดกลืนแสง (adsorption) การค้นพบครั้งนี้เผยแพร่ในนิตยสาร Plant Cell อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พืชหลีกเลี่ยงจากแสงแดดที่รุนแรงอย่างไร

Published on August 26, 2013 by in S&T Stories

ทีมวิจัยนำโดยนักวิจัยจาก Dartmouth College ค้นพบกลุ่มของโปรตีนที่ตอบสนองต่อสภาวะที่รุนแรง ซึ่งอธิบายพืชหลีกเลี่ยงจากแสงแดดที่รุนแรงได้อย่างไร ช่วยให้นักเทคโนโลยีชีวภาพสามารถพัฒนาพืชที่สามารถอยู่ได้กับสภาวะที่ร้อนและแห้งของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีใหม่ในการกำจัดแบคทีเรีย

Published on August 25, 2013 by in S&T Stories

แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถกำจัดด้วยยาปฏิชีวนะ แต่คณะนักวิจัยที่นำโดย Vesselin Paunov ค้นพบวิธีใหม่ใช้กำจัดแบคทีเรียเหล่านี้ ตามที่เผยแพร่ในวารสารของ American Chemical Society อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยค้นพบแบคทีเรียใช้เพื่อยับยั้งโรคมาลาเรีย

Published on August 24, 2013 by in S&T Stories

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่มีความสำคัญ ในปี 2010 พบการติดเชื้อมาลาเรียในประชากร 219 ล้านคน และมี 660,000 ตาย อย่างไรก็ตามคณะนักวิจัยจาก Michigan State University มีวิธีแก้ปัญหาโรคมาลาเรียนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัคซีนป้องกันมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพ

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

จากที่เผยแพร่ในวารสาร Science การทดลองทางคลินิกในระยะเริ่มต้นแสดงว่าวัคซีนนี้ปลอดภัย สามารถสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยานวอยเอเจอร์ 1 พ้นระบบสุริยะแล้ว

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยานวอยเอเจอร์ 1 พ้นระบบสุริยะแล้ว หลังปฏิบัติภารกิจมาเกือบ 36 ปียานวอยเอเจอร์ 1 ก็ได้หลุดพ้นระบบสุริยะ และเข้าสู่พื้นที่ระหว่างดวงดาวไปแล้วเรียบร้อย จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์ ยานวอยเอเจอร์ ทะยานขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1977 นำพาเอาอุปกรณ์สำรวจดาวเคราะห์ขึ้นไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีแผ่นจารึกข้อความสวัสดีจากชาวโลกไว้บนแผ่นทองคำ และแผ่นเสียงที่บันทึกเสียงจากบนโลก ตลอดจนเครื่องตรวจจับอนุภาคพลังงานต่ำเอาไว้ด้วยซึ่งผู้รับผิดชอบเครื่องมือดังกล่าวคือทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่า ยานวอยเอเจอร์ 1 ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซ่า ได้เคลื่อนที่ไปจากโลกจนออกนอกระบบสุริยะไปแล้ว นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ออกไปไกลจากโลกมากที่สุด รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447353– ( 70 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรงงานน้ำมันปาล์มกับลิงแสม

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โรงงานน้ำมันปาล์มกับลิงแสม…อุตสาหกรรมกับการทำร้ายผู้ร่วมโลก โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มผิดกฎหมายที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าจะส่งผลต่อวิวัฒนาการของลิงแสมโดยตรง ลิงแสมเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีการพัฒนาความสามารถในการใช้หินเป็นเครื่องมือในการเปิดสิ่งต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ลิงแสมสามารถใช้หินในการเปิดหอยเชลล์ได้ แต่ทุกวันนี้ลิงแสมที่มีความสามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวมีจำนวนลดลงเป็นจำนวนมาก เนื่องมากจากความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์พบว่า โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มและสวนยางที่บุกรุกพื้นที่ธรรมชาติอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยนั้น  ได้ทำลายพฤติกรรมการหาอาหารของลิงแสมโดยตรง เนื่องจากสุนัขที่เจ้าของโรงงานเลี้ยงไว้เพื่อเฝ้าอาณาเขตของตัวเองนั้น จะทำการไล่ลิงแสมซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตัวจริงออกไป เมื่อลิงแสมเข้ามกบเบริเวณรอบ ๆ ของโรงงาน ซึ่งโดยมากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นโขดหินที่โดยปกติลิงแสมจะอาศัยหินตามโขดหินในการเปิดเปลือกหอยเพื่อรับประทาน จากรายงานของวารสารนานาชาติที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ มีการยอมรับว่าลิงเป็นสัตว์ที่สามารถใช้เครื่องมือในการหาอาหารได้จริง นอกจากลิงซิปแปนซีที่ประเทศอัฟริกาแล้ว ลิงแสมหางยาวก็เป็นลิงอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่สามารถใช้เครื่องมือประเภทหินในการหาอาหารเพื่อยังชีพได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447374– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำอัดลมกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง น้ำอัดลมกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยออกมาว่า น้ำอัดลมมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ฉุนเฉียว ความเศร้า การคิดฆ่าตัวตายในช่วงวัยรุ่น แต่ความสัมพันธ์นี้ก็ไม่ได้รับการประเมินในกลุ่มเด็ก ล่าสุดนักวิจัยเปิดเผยแล้วว่า อารมณ์ฉุนเฉียว ควาามตั้งใจ พฤติกรรมแยกตัว ต่างก็เกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำอัดลมในช่วงที่เป็นเด็กทั้งนั้น งานวิจัยชิ้นนี้นำโดย ดร.ชากีร่า ซูเกลีย แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และทีมงาน โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ The Journal of Pediatrics แล้ว  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447365– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments