magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 25)
formats

การบริโภคไข่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลสูงในวัยรุ่น

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การบริโภคไข่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลสูงในวัยรุ่น ถึงแม้ว่าในปลายศตวรรษที่ 20 ผู้คนยังคงเชื่อกันว่าการบริโภคไข่มากกว่าสองฟองต่อสัปดาห์จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญทำการพิสูจน์แล้วว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ในขณะนี้การศึกษาครั้งใหม่ได้ค้นพบว่าการบริโภคไข่มากกว่าสองฟองไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงขึ้น โดยการศึกษานี้ พวกเขาไม่ได้คำนึงถึงการออกกำลังกายและการออกแรงทำกิจกรรมต่างๆ ของวัยรุ่นว่ามากน้อยแค่ไหน การศึกษาครั้งใหม่ นำโดยคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยกรานาดา (University of Granada) พวกเขาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคไข่ในวัยรุ่นและปัจจัยหลักที่เสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (Cardiovascular diseases) อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับไขมัน ปริมาณไขมันในร่างกายที่เกิน ความต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินและความดันเลือดสูง เป็นต้น  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447242– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สารเคมีในร่างกายที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สารเคมีในร่างกายที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์ ในร่างกายของเรามีสารเคมีอยู่มากมาย รู้หรือไม่ว่า ในสารเคมีเหล่านั้น มีสารอยู่ตัวหนึ่งที่สามารถฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ และเพิ่มความเร็วในการรักษาบาดแผล สารเคมีที่ว่านั่นก็คือ Epoxyeicosatrienoic acids (EETs) Epoxyeicosatrienoic acids (EETs) ถูกสังเคราะห์จาก arachidonic acid ในวัฎจักร cytochrome P450 epoxygenase มีบทบาทต่อการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ นอกจากนั้น Dipak Panigrapy นักวิจัยจาก Harvard Medical School เมือง Boston ยังได้ค้นพบความสำคัญของ EETs ในแง่ของการซ่อมแซม/ฟื้นฟูเซลล์ได้อีกด้วย Dipak Panigrapy ได้ทำการทดลองฉีด EETs เข้าไปในหนูที่เพิ่งถูกผ่าตัดเอาปอดและบางส่วนของตับออกไป ผลปรากฎว่า 4 วันหลังจากนั้นพบว่า ปอดของหนูมีการฟื้นตัวและสร้างเนื้อเยื่อใหม่เพิ่มมากขึ้นถึง 23 % จากที่มีอยู่เดิม และมีการสร้างเนื้อเยื่อตับเพิ่มมากถึง 46% เมื่อเทียบกับหนูที่ถูกฉีดแบบหลอกๆ แทน ทีมวิจัยยังแสดงผลของ ความเข้มข้นของ EET ในเลือดของผู้บริจาคตับหลังจากการผ่าตัดว่า

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การออกแบบด้วยแนวคิดทางชีวภาพช่วยสร้างหน้าต่างที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การออกแบบด้วยแนวคิดทางชีวภาพช่วยสร้างหน้าต่างที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม Ben Hatton ของ University of Toronto นั้นกำลังหันไปพึ่งธรรมชาติเพื่อหาวิธีที่จะทำให้หน้าต่างนั้นมีประสิทธิภาพทางพลังงานที่สูงขึ้น ในบทความที่ถูกตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ในวารสาร Solar Energy Materials & Solar Cells นั้น ศาสตราจารย์ Hatton และเพื่อนร่วมงานของเขาที่ Harvard University นั้นได้อธิบายถึงกระบวนการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับการลดทอนการสูญเสียความร้อนในระหว่างฤดูหนาวและทำให้ตัวอาคารนั้นเย็นขึ้นในฤดูร้อน โดย “วิธีการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวภาพในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อการทำความเย็นและความร้อนของพื้นผิวหน้าต่างในอาคาร” ได้ขอให้มีการติดแผ่นยางยืดยุ่นแบบใสลงบนแผ่นกระจกแบบปกติที่ใช้กันในปัจจุบัน แผ่นยางดังกล่าวนั้นถูกทำขึ้นด้วย  Polydimethylsiloxane (PDMS) นั้นจะมีร่องสำหรับน้ำอุณหภูมิห้องไหลผ่าน โดยเทคนิคดังกล่าวได้ช่วยทำให้ลดความร้อนได้ 7-9 องศาเซลเซียสในการทดลองภายใต้สภาวะของห้องทดลอง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพทั้งในขนาดเล็กและขนาดใหญ่อีกด้วย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447284– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มลภาวะจากธูปทำให้ปอดติดเชื้อได้

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มลภาวะจากธูปทำให้ปอดติดเชื้อได้ การจุดธูป ประเพณีที่เป็นนิยมในหลายๆ ที่บนโลกนั้นสร้างมลภาวะภายในบ้านที่อาจทำให้เกิดการอักเสบในเซลล์ปอดได้ อ้างอิงจากคำกล่าวของนักวิจัยที่ Gillings School of Global Public Health ที่ University of North Carolina ที่เมือง Chapel Hill มลพิษทางอากาศภายในบ้านนั้นเป็นปัญหาระดับนานาชาติให้ความกังวลอยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าคนกว่า 1 ล้านรายต่อปีได้เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยสาเหตุหลักนั้นเป็นเพราะการเผชิญกับมลพิษอย่างเตาอาหาร ซึ่งการจุดธูปนั้นทำให้เกิดมลพิษคล้ายคลึงกัน โดยรวมไปถึง Carbon Monoxide ด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447287– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เจ้าโลมากับชื่อเฉพาะของตัวเอง

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เจ้าโลมากับชื่อเฉพาะของตัวเอง “ปลาโลมา” เป็นที่โปรดปรานของทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ เนื่องด้วยความฉลาดแสนรู้ของพวกเขา เจ้าโลมานั้นพวกเรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า “ปลาโลมา” และถึงแม้พวกเขาจะอยู่ในไฟลัมเดียวกับปลา (Phylum Chordata) แต่ความจริงแล้วพวกเขามีบางสิ่งที่ต่างออกไป ปลาโลมา ไม่ใช่ปลาอย่างที่พวกเราคิด พวกเขาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งที่อยู่ในอันดับเดียวกับวาฬ (ออเดอร์ซีทาเซีย / Order Cetacea) และปลาโลมานี้จัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน   (Odontoceti)  เท่านั้น  เสียงร้องของโลมาเป็นเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง เวลาพวกเขาเปล่งเสียงร้องออกมาจะมีจังหวะเฉพาะของพวกเขาเอง ซึ่งนั่นทำให้นักวิจัยเกิดความสนใจใคร่รู้ว่าความแตกต่างของระดับของเสียงที่เปล่งออกมานั้นส่งผลอะไรบ้าง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า เจ้าโลมาสัตว์แสนรู้นี้มีชื่อเฉพาะตัวเป็นของตัวเองและพวกเขาจะขานรับเมื่อได้รับสัญญาณเรียกจากเพื่อนในฝูงด้วย ซึ่งการขานเรียกชื่อนี้ ผู้ที่ทำการเรียกจะส่งเสียงเป็นคลื่นความถี่สูงออกไป ซึ่งแน่นอนว่ามีความแตกต่างกันไปในแต่ตัว เราสามารถเรียกปลาโลมาได้ด้วยการเป่านกหวีดที่มีเสียงแหลมสูงและรอการตอบรับจากพวกเขา รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที http://vcharkarn.com/vnews/447293– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุฬาฯ เสนอ 5 ข้อรับมือน้ำมันรั่วในทะเล

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 ส.ค.-นักวิชาการจุฬาฯ ให้ติดตามผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วในทะเล จ.ระยอง อีก 1-3 ปี พร้อมเสนอ 5 ข้อเตรียมความพร้อมสังคมไทยรับมือปัญหาลักษณะนี้ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นอีกในอนาคต คณาจารย์และนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำโดย รศ.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะสามารถกำจัดคราบน้ำมัน ไปได้กว่าร้อยละ 95 แล้ว แต่การจัดการยังไม่นิ่ง มีคราบน้ำมันและสารตกค้างหลุดรอดและกระจายตัวไปจนถึงอ่าวพร้าว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ซึ่งล่าสุดการที่มีปะการังฟอกขาวใน พื้นที่ไม่ใช่เหตุปะการังตายเฉียบพลัน แต่แสดงว่าเหตุน้ำมันน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง แต่ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมด จากนี้เชื่อว่าปะการังบริเวณดังกล่าวซึ่งอยู่ในภาวะปานกลางถึงเสื่อมโทรม  จะตายเพิ่มขึ้น – ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก้าวไปอีกขั้นกับแบตเตอรี่กราฟีน

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ก้าวไปอีกขั้นกับแบตเตอรี่กราฟีน   นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโมแนชได้สร้างแหล่งเก็บพลังงานรุ่นใหม่โดยการใช้กราฟีน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่เก็บไฟไว้ใช้ได้เป็นเวลานาน   ศาสตราจารย์ ดัน ลี แห่งภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยโมแนช ได้วิธีการใหม่ที่จะสร้างซูเปอร์คาปาซิเตอร์ (SC) หรือตัวเก็บประจุยิ่งยวดจากกราฟีน ที่จะทำให้นำไปสร้างเป็นแหล่งเก็บพลังงานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับแบตเตอรี่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา หรือรถยนต์ไฟฟ้า โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว โดยทั่วไปนั้น SC คือวัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอนที่มีรูพรุนมากๆ โดยมีอิเล็กโตรไลต์เหลวที่สามารถขนส่งประจุอิเล็กตรอนได้ SC มีข้อดีในเรื่องการระยะเวลาการเก็บประจุที่แทบจะไม่จำกัดและสามารถประจุใหม่ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที แต่ข้อเสียคือ การเก็บพลังงานเมื่อเทียบกับปริมาตรถือว่าค่อนข้างต่ำ หรือที่เรียกว่า ค่าความหนาแน่นพลังงานที่ต่ำนั่นเอง โดยมีค่าอยู่ที่ 5-8 วัตต์ต่อลิตรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า SC มีขนาดใหญ่เทอะทะเกินไปและจะต้องนำไปประจุไฟบ่อยมากเพื่อนำมาใช้ใหม่ ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ลีจึงได้สร้าง SC ที่สามารถเก็บพลังงานได้ถึง 60 วัตต์ต่อลิตร ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด และสูงกว่า SC ที่มีขายในท้องตลาดตอนนี้ถึง 12 เท่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447300– ( 116 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จากโพสต์น่าอายบนเฟซบุ๊คไปจนถึงทวีตอันฉาวโฉ่

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จากโพสต์น่าอายบนเฟซบุ๊คไปจนถึงทวีตอันฉาวโฉ่ : เหตุใดผู้บริโภคถึงเปิดเผยข้อมูลมากเกินพอดีบนโลกออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสารแบบดิจิตอลนั้นกำลังเป็นเหตุให้ผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มจะสูญเสียการยับยั้งชั่งใจหรือการควบคุมตนเองและทำการ “แบ่งปันมากเกินไป” ในโลกออนไลน์ ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นใหม่ในวารสาร Journal of Consumer Research “การแบ่งปันในตัวของมันเองนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่ผู้บริโภคในตอนนี้นั้นมีโอกาสอย่างไม่จำกัดที่จะแบ่งปันความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และรูปภาพต่างๆ หรือโปรโมตตัวเองหรือภาพลักษณ์ของตัวเองบนโลกออนไลน์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆก็ยังช่วยให้เราทำการแบ่งปันได้ง่ายและกว้างขวางยิ่งขึ้นมากกว่าแต่ก่อนด้วย” ผู้เขียนงานวิจัย Russell W. Belk จาก York University กล่าว – ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระดับ Testosterone ที่ลดลงอาจทำให้ผู้ชายเป็นโรคพาร์กินสันได้

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ระดับ Testosterone ที่ลดลงอย่างกะทันหันนั้นอาจจะทำให้คุณผู้ชายเป็นโรคพาร์กินสันได้ ผลของงานวิจัยชิ้นใหม่จากนักวิจัยด้านประสาทวิทยาที่ Rush University Medical Center ได้แสดงให้เห็นว่าการลดลงอย่างกะทันหันของระดับฮอร์โมน testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายนั้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสันในหนูตัวผู้ได้ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Biological Chemistry เมื่อไม่นานมานี้ อุปสรรคขนาดใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับการคิดค้นตัวยาสำหรับโรคพาร์กินสันนั้นก็คือยังไม่มีโมเดลในสัตว์ที่สามารถเชื่อถือได้ในตอนนี้ “ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ได้ลองใช้พิษหลากหลายชนิด รวมถึงวิธีการทางพันธุกรรมอันซับซ้อนต่างๆ มากมายเพื่อที่จะจำลองโมเดลของโรคพาร์กินสันในหนูขึ้นมา เราได้พบว่าการลดลงอย่างกะทันหันของระดับ Testosterone ภายหลังการทำหมันนั้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันในหนูตัวผู้ได้แล้ว” ดร. Kalipada Pahan ผู้นำการวิจัยกล่าว “เราพบว่าการป้อนฮอร์โมน Testosterone กลับเข้าไปในตัวหนูผ่านเม็ดยาชนิด dihydrotestosterone  5 เม็ดสามารถทำให้อาการของโรคในหนูตัวผู้นั้นหายไปได้”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447255– ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้หญิงยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็ง

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง  ผู้หญิงยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็ง ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ยิ่งสูงยิ่งมีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Epidemiology, Biomarkers & Prevention ของสมาคมวิจัยมะเร็งอเมริกันแล้ว   ความสูง มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรคเนื้องอกไขกระดูกและมะเร็งผิวหนังด้วย ข้อมูลจากการศึกษานี้ได้มาจากหญิงวัยหมดประจำเดือน 20,928 ราย ที่ดึงมาจากฐานข้อมูลสุขภาพผู้หญิงที่ได้จาก Women’s Health Initiative (WHI) อีกที “เราแปลกใจที่ว่า จำนวนการเกิดมะเร็งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสูง และจากข้อมูลชุดนี้ มะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับความสูงมากกว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อีกนะ” ดร.กอฟฟรี่ย์ คาบาต แห่งภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข วิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มหาวิทยาลัยเยชิวา นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447259– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments