magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 24)
formats

ใช้ยาสองชนิดรวมกันอาจรักษามะเร็งได้

Published on August 15, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ใช้ยาสองชนิดรวมกันอาจรักษามะเร็งได้ งานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดเผยว่า การใช้ยาสองชนิดรวมกันภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง อาจจะช่วยรักษาโรคบางประเภทได้ในอนาคต เช่น โรคมะเร็ง   งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ eLife แล้ว โดยศาสตราจารย์มาร์ติน โนวัค ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และชีววิทยาและผู้อำนวยการโครงการเพื่อพลวัติเชิงวิวัฒนาการ และ ดร.อิวานา โบซิค นักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ผู้แต่งร่วม ได้แสดงให้เห็นว่า ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง การใช้ยาสองชนิดในการรักษาที่เป้าหมาย เช่นในกรณีนี้คือการหยุดการเจริญและแพร่กระจายของมะเร็ง ก็อาจจะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้เกือบทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่างานวิจัยนี้จะไม่ใช่การวิจัยเพื่อรักษามะเร็งโดยตรง แต่ศาสตราจารย์โนวัคก็เชื่อว่า น่าจะปูทางให้นักวิจัยและผู้ป่วยมีความหวังมากขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447224– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยี Biometric กับหน้าจอสัมผัสที่สามารถจดจำลายนิ้วมือได้

Published on August 15, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยี Biometric กับหน้าจอสัมผัสที่สามารถจดจำลายนิ้วมือได้ หน้าจอสัมผัสชนิดใหม่ที่สามารถระบุผู้ใช้งานได้ผ่านลายนิ้วมือนั้นกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้จะสามารถมอบนิยามใหม่กับความปลอดภัยในระบบออนไลน์ รวมถึงวิธีที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ในที่สาธารณะด้วยเทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสในตอนนี้นั้นปล่อยแสงออกมาแต่ไม่สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของแสงได้ ซึ่งทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะจดจำลายนิ้วมือของผู้ใช้งานเว้นเสียแต่ว่าจะมีตัวเซ็นเซอร์ต่างหากถูกติดตั้งเพิ่มลงไปในหน้าจอ ซึ่งสองนักวิจัย Christian Holz และ Patrick Baudisch จาก Hasso Plattner Institute ที่เยอรมันต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงมัน รุ่นทดลองที่พวกเขาสร้างขึ้นในหน้าจอแก้วที่มีขนาดเท่ากับแทบเบล็ตขนาดใหญ่ ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยเส้นใยแก้วนับล้านรวมอยู่ด้วยกัน เส้นใยแต่ละเส้นนั้นจะปล่อยแสงสว่างออกจากภาพที่ถูกฉายอยู่ข้างใต้หน้าจอ ในขณะเดียวกันก็ยิงแสงอินฟราเรดออกไปเพื่อให้สะท้อนนิ้วมือกลับมาที่กล้องอินฟาเรด  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447231– ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยสาเหตุบรรยากาศแสนบางของดาวอังคาร

Published on August 15, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยสาเหตุบรรยากาศแสนบางของดาวอังคาร งานวิจัยสองฉบับใหม่เผยถึงการวัดองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวอังคารจากยานแล่นบนดวงจันทร์คิวริออสซิตี้ขององค์การนาซา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบรรยากาศช่วงแรกๆ ของดาวอังคารมามากมาย เครื่องมือที่ชื่อ Sample Analysis at Mars (SAM) อันเป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการที่ติดตั้งไปกับยานคิวริออสซิตี้นั้นได้วัดแก๊สและไอโซโทปปริมาณมากจากตัวอย่างที่ได้จากบรรยากาศของดาวอังคาร ไอโซโทปเป็นธาตุทางเคมีที่มีน้ำหนักอะตอมที่ไม่เหมือนอะตอมปกติเพราะมีนิวตรอนมากกว่า เช่น คาร์บอนส่วนใหญ่จะเป็นคาร์บอน-12 ขณะที่ไอโซโทปที่นักกว่าจะเป็นคาร์บอน-13 SAM ได้ตรวจสอบอัตราส่วนระหว่างไอโซโทปที่หนักต่อไอโซโทปที่เบาของคาร์บอนและออกซิเจนในคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร และพบว่า บรรยากาศชั้นบางๆ ของดาวอังคารจะอุดมไปด้วยไอโซโทปของคาร์บอนและออกซิเจนที่หนัก หลักฐานนี้ไม่ได้บอกถึงแค่การสูญเสียชั้นบรรยากาศเริ่มต้นสมัยดวงดาวก่อตัวขึ้น แต่ยังเป็นสิ่งที่จะบอกได้ต่อไปด้วยว่า การสูญเสียชั้นบรรยากาศนั้นเกิดขึ้นอย่างไรด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447228– ( 63 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพ

Published on August 13, 2013 by in S&T Stories

โครงการความร่วมมือระดับนานาชาติที่มีคณะนักวิจัยจาก University of South Florida เป็นผู้นำ ค้นพบยาต้านมาลาเรียใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาและยับยั้งการแพร่กระจายของโรคด้วยปริมาณยาต่ำ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยาฆ่าแมลงทำให้ยีนของผึ้งเปลี่ยนแปลง

Published on August 13, 2013 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยจาก University of Nottingham นำโดย Dr. Reinhard Stoger แสดงว่าการสัมผัสกับยาฆ่าแมลง neonicotinoid ทำให้ยีนของผึ้งเปลี่ยนแปลง ผลงานวิจัยดังกล่าวเผยแพร่ในวารสาร PLOS ONE ปี 2013 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีการช่วยในการพัฒนายาใหม่

Published on August 13, 2013 by in S&T Stories

นักวิจัยจาก Karolinska Institutet ประเทศสวีเดน พัฒนาวิธีวัดโดยตรงประสิทธิภาพของโมเลกุลยาในการหาที่ตั้งและจับกับโปรตีนเป้าหมาย ซึ่งช่วยในการพัฒนายาใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น งานวิจัยนี้เผยแพร่ในวารสาร Science ปี 2013 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพ

Published on August 13, 2013 by in S&T Stories

นักวิจัยจาก University of Adelaide ค้นพบยาปฏิชีวนะใหม่ อาจช่วยแก้ปัญหาการดื้อยาของแบคทีเรีย ซึ่งก่อโรคหลายโรครวมทั้งวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มีใช้ในปัจจุบันหลายชนิด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 63 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2556

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2556 (National Science and Technology Fair 2013) หรือ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2556 จัดขึ้นระหว่างวันที่  6-21สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายใต้แนวคิด “ทันโลกทันวิทย์ จุดประกายความคิด สู่อาเซียน’’ มีนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ในปี 2556 เป็นการร่วมฉลองปีสากลแห่งความร่วมมือเรื่องน้ำ จึงมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำ เป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งปีระดับประเทศ และแถบภูมิภาคเอเชีย การจัดแสดงปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่ระดับอาเซียน เน้นนำเสนอผลงานความก้าวหน้า และศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงศักยภาพของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ของไทย – ( 840 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำมันรั่วในทะเล

จากเหตุการณ์น้ำมันดิบประมาณ 50,000 ลิตร ที่รั่วจากท่ออ่อนส่งน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ที่รั่วลงทะเล จังหวัดระยอง เมื่อเวลา 06.50 น.  ของวันที่ 27 กรกฎาคม 2556  นั้น สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปเหตุการณ์จากภาพถ่ายดาวเทียม ไว้ในเว็บไซต์ http://www.mkh.in.th/index.php/2013-08-08-10-30-02 และเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ได้ร่วมกับฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย มูลนิธิอาจารย์ ดร. สุรพล สุดารา สถาบันธรรมรัฐพร้อมผู้แทนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)  คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  องค์กรอิสระ Green Peace และ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาข้อสรุปสำหรับแนวทางการจัดการปัญหาน้ำมันรั่วในทะเล ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมีข้อสรุป ในเรื่องการให้ข้อมูลแก่สังคม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมอากาศร้อนๆ มักทำให้ไฟดับ

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ทำไมอากาศร้อนๆ มักทำให้ไฟดับ เหตุใดโครงข่ายไฟฟ้านั้นถึงอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่สูงนัก ที่จริงแล้วคำตอบนั้นไม่ได้ยากเลย อย่างแรกก็คือเพราะว่าเราชอบใช้เครื่องปรับอากาศของเราเป็นอย่างมาก และเครื่องปรับอากาศพวกนี้นั้นก็มีความต้องการพลังงานสูง ข้อสองก็คือพลังงานนั้นถูกสร้างขึ้นจากเพียงไม่กี่แห่งภายในประเทศเท่านั้น แต่บริษัท โรงงาน และบ้านเรือนต่างๆ ที่ติดเครื่องปรับอากาศนั้นกลับมีอยู่ทั่วทั้งประเทศ – ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments