magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 36)
formats

อนาคตของการผลิต

Published on April 19, 2013 by in S&T Stories

จุดประสงค์หลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งคือ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แต่กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมา ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานและสสารหรือวัสดุในการผลิตน้อยลง ในขณะที่ต้องการเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ iPhone มีราคาสูงเนื่องจากมีความสามารถในการทำงานสูงไม่สอดคล้องกับวัสดุที่ประกอบเป็นตัวเครื่อง เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น 3-D printing หุ่นยนต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างแบบจำลองผลิตภัณฑ์ (digital simulations) นาโนเทคโนโลยี และการพัฒนาวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกำหนดทิศทางการผลิตในอนาคต – ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลึกน้ำและความสัมพันธ์กับจิต (Messages in Water)

Published on April 18, 2013 by in S&T Stories

จากงานวิจัยซึ่งนำมาสู่การบอกเล่าด้วยปลายปากกาในชื่อเรื่อง “Messages in Water” ของดร.มาซารุ  เอะโมโตะ (Dr.Masaru Emoto) งานวิจัยที่เก็บตัวอย่างน้ำในลักษณะ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันมาทดสอบ ซึ่งได้ผลการทดสอบที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างน่าสนใจและน่ามหัศจรรย์ในหลายมิติ – ( 5532 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สิงคโปร์คิดค้นชิปมหัศจรรย์

สำนักข่าวไทย  นำเสนอข่าวอาเซียนเป็นหนึ่ง สิงคโปร์ 17 เม.ย. 2556 – ในอาเซียน ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีความล้ำหน้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในอันดับต้นๆ คงไม่พ้นสิงคโปร์ ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ผลิตคิดค้นแผ่นชิปที่สามารถบ่งชี้ประเภทของไวรัสได้ถึง 7 หมื่นชนิดต่อหนึ่งการทดสอบ มีการเปิดเผยในงานประชุมจีโนมมนุษย์และสภาพันธุศาสตร์ ครั้งที่ 21 ที่ประเทศสิงคโปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์ ได้ใช้เวลาคิดค้น 10 ปี ผลิตชิป PathChip ที่เป็นวิธีการตรวจสอบ แบคทีเรีย ไวรัส เพื่อจำแนกแจกแจงสายพันธ์ต่างๆ ที่มีความพิเศษคือ สามารถตรวจได้ครั้งละ 7 หมื่นชนิดต่อการตรวจหนึ่งคร้ั้ง เช่นไวรัส H5N1, H7N9 การวิจัยนี้กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา และรอการอนุมัติเห็นชอบจากรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัยในสนามจริง ติดตามชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=516df039150ba0061d00014a#.UW4MrVdhsa8– ( 321 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ม.เทคโนโลยีมหานคร พัฒนาเตาอบยางต้นทุนต่ำ

ม.เทคโนโลยีมหานคร พัฒนาเตาอบยางแก้ปัญหาการอบยางลดระยะเวลาการอบยางจากเดิมใช้เวลา 4 วันเหลือเพียง 2 วัน ประหยัดเชื้อเพลิง40% รศ.ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวว่า โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปน้ำยางพาราแบบลดต้นทุนและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (พัทลุง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช),โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพของแผ่นยางที่ผ่านการอบไม่ได้คุณภาพ มีปริมาณยางที่เสียหายหลังผ่านการอบจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาหลัก เพราะที่ผ่านมาโรงอบยางจะต้องใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงปีละประมาณ 6-7แสนบาทต่อปี– ( 185 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคอ้วนอาจรับรู้ได้จากกลิ่นลมหายใจ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โรคอ้วนอาจรับรู้ได้จากกลิ่นลมหายใจ โรคอ้วนนั้นมีลักษณะของการแสดงอาการที่เด่นชัดซึ่งยากที่จะปกปิดหรือซุกซ่อนเอาไว้ แถมในตอนนี้แพทย์ยังบอกว่าพวกเขาสามารถแม้ที่จะกระทั่งได้กลิ่นโรคอ้วนจากลมหายใจของคุณได้อีก เหล่าแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ที่ Los Angeles กล่าวว่าจุลินทรีย์ที่ปล่อยก๊าซบางชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องมนุษย์นั้นอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่คนๆ หนึ่งจะมีน้ำหนักตัวมากเกินไป และการมีอยู่ของก๊าซมีเทนและไฮโดรเจนในจุลินทรีย์จากลมหายใจนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดต่อน้ำหนักตัวที่มากเกินและไขมันในร่างกายที่มากเกินไปด้วย พวกเขายังยอมรับอีกว่าการรับประทานมากเกินไปและไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายนั้นเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน แต่ถึงอย่างนั้นปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการมีจุลินทรีย์บางชนิดในสำไส้มากเกินหรือน้อยไปนั้นก็อาจจะเป็นเหตุผลประกอบที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้เช่นเดียวกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154920– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ย่อยสลายได้ในน้ำ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ย่อยสลายได้ในน้ำ นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology และ Purdue University ได้ร่วมกันประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพืชบนส่วนประกอบหลักเซลลูโลสนาโนคริสตัลที่สามารถละลายในน้ำและนำมารีไซเคิลได้อีกด้วย เซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์ดังกล่าวนั้นมีค่าประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานอยู่ที่ 2.7 %  ซึ่งนักวิจัยนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากแล้วสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบหมุนเวียนได้อย่างพืชแบบนี้ “ก้าวต่อไปของพวกเราก็คือการพัฒนาให้อัตราการแปลงพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ตัวนี้เพิ่มสูงเกินกว่า 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกประดิษฐ์บนแก้วหรือส่วนประกอบหลักที่มีปิโตรเลียมเป็นส่วนประกอบหลัก” Bernard Kippelen ผู้เป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมจาก Georgia Tech กล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154921– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เริ่มพัฒนาม้ามเทียมฟอกเลือดติดเชื้อ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เริ่มพัฒนาม้ามเทียมฟอกเลือดติดเชื้อ สถาบัน Wyss เพื่อวิศวกรรมชีววิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ออกมาประกาศการเริ่มต้นค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีทำความสะอาดเลือดแบบใหม่โดยใช้ม้ามเทียม ที่จะช่วยรักษาการติดเชื้อทางกระแสเลือดในคนได้ โครงการนี้มีมูลค่าสูง 9.25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) สหรัฐอเมริกาอีกด้วย อุปกรณ์นี้จะใช้เพื่อการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ป่วยหนัก ๆ หลายราย รวมทั้งทหารที่บาดเจ็บจากสงครามด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154922– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์มดจำลองพฤติกรรมโคโลนีได้แล้ว

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หุ่นยนต์มดจำลองพฤติกรรมโคโลนีได้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการจำลองพฤติกรรมของโคโลนี (อาณาจักร) มดได้แล้วโดยใช้หุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ PLOS Computational Biology นี้ เป็นผลงานการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีนิวเจอร์ซี่ย์ สหรัฐอเมริกา ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการรับรู้ของสัตว์ โดยมีเป้าหมายเพื่อการค้นหาว่ามดแต่ละตัวจัดวางเส้นทางจากรังการเดินอย่างไรจึงเป็นระเบียบและพุ่งไปหาแหล่งอาหารหลาย ๆ แห่ง เป้าหมายหลักของการศึกษาครั้งนี้คือ ศึกษาว่า มดอาร์เจนไตน์มีพฤติกรรมและสื่อสารกันอย่างไรในระบบเส้นทางเดินทั้งแบบสมดุลและไม่สมดุล ซึ่งในธรรมชาตินั้น มดจะทำแบบนี้ได้จากการติดตามกลิ่นฟีโรโมนของตัวอื่น ๆ ในการวิจัยครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์สร้างระบบบหุ่นยนต์ขนาดเท่ากับก้อนน้ำตาลจำนวนมากที่ชื่อว่า Alices โดยหุ่นยนต์สามารถปล่อยลำแสงได้ และหุ่นยนต์ตัวอื่นๆก็สามารถตรวจจับลำแสงของตัวนี้ได้เช่นกันผ่านเซนเซอร์ที่ติดอยู่กับตัวสองอัน ซึ่งก็คือ การจำลองเสาอากาศของมดนั่นเอง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154923– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สแกนสมองเพื่อทำนายอาชญากร

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สแกนสมองเพื่อทำนายอาชญากร นักวิทยาศาสตร์จากกลุ่มวิจัยจิตใจในแอลบูเคอร์คี มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา เผยว่าสามารถทำนายความน่าจะเป็นได้ที่คนๆ หนึ่งจะกลับมาเป็นอาชญากรอีกหรือไม่หลังจากที่ปล่อยตัวออกจากเรือนจำไปแล้ว งานวิจัยครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Proceedings of the National Academy of Sciences แล้ว โดยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและต่อต้านสังคม กับความเกี่ยวข้องกับสมองส่วน Anterior Cingulate Cortex (ACC) ที่เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมให้สม่ำเสมอและไม่หุนหันพลันแล่น การศึกษาครั้งนี้ระบุว่า ผู้ต้องขังที่มีกิจกรรมในสมองส่วน ACC ที่น้อยกว่าคนอื่น ๆ มีโอกาสที่จะออกไปก่ออาชญากรรมอีกหลังจากที่ปล่อยตัวออกจากคุก “มากกว่า” ผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ที่มีกิจกรรมในสมองส่วนนี้มาก โดยความน่าจะเป็นดังกล่าวนี้แตกต่างกันถึงสองเท่า “การค้นพบครั้งนี้เป็นการเปิดมุมมองใหม่ว่าในอนาคต สังคมจะจัดการกับความยุติธรรมที่เกี่ยวกับอาชญากรและผู้กระทำความผิดอย่างไร” รศ.ดร.เคนท์ เอ. เคล หัวหน้าโครงการวิจัย และผู้อำนวยการถ่ายภาพ MRN เคลื่อนที่ มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกเผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154924– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน (Inclusive Society by Universal Design : New Challenge in AEC) วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น เน้นที่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเสริมการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ การบริการสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน วิทยากรประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้ กลุ่มผู้ให้บริการ และนักวิจัย จากการเสวนาในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้ทราบถึงสถานภาพของความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน และโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาเทคโนโลโยีเพื่่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับทุกคนให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีโดยที่ไม่เป็นภาระ เทคโนโลยีจะไม่เป็นสิ่งกีดขวางผู้ใด เทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข การจะก่อให้เกิดสังคมอยู่ดีนั้น ต้อง มีความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ต้องส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ คำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ –

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments