magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 32)
formats

พัฒนาคอมพิวเตอร์ชีวภาพสุดล้ำ

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง พัฒนาคอมพิวเตอร์ชีวภาพสุดล้ำ นักวิจัยอิสราเอลได้พัฒนาและสร้างตัวเปลี่ยนสัญญาณชีวภาพ (biological transducer) สุดล้ำ อันเป็นหน่วยคำนวณที่สามารถจัดการกับรหัสพันธุกรรม จากเทคนิคการใช้เพียงโมเลกุลชีวภาพ (เช่น ดีเอ็นเอ เอนไซม์) นอกจากนี้ ยังสามารถนำเอาท์พุตไปเป็นอินพุทเพื่อการคำนวณที่ต่อเนื่องได้ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการรักษาด้วยยีน การโคลนนิ่ง หรือเรื่องอื่นๆ ในทางเทคโนโลยีชีวภาพ เกิดขึ้นในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446876– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

GPS สามารถนำมาใช้เพื่อให้เตือนภัยสึนามิได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Published on May 30, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง GPS สามารถนำมาใช้เพื่อให้เตือนภัยสึนามิได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เราไม่สามารถที่จะหยุดสึนามิไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากเราสามารถที่จะแจ้งเตือนให้ผู้คนทราบได้เร็วขึ้นแม้เพียงไม่กี่นาทีว่าสึนามิกำลังมาล่ะก็ ชีวิตผู้คนจำนวนมากก็จะพ้นจากอันตราย  ปัจจุบันการแจ้งเตือนสึนามินั้นเกิดจากข้อมูลแผ่นดินไหว แต่ถึงแม้การตอบสนองที่รวดเร็วที่สุดที่มาจากขนาด พื้นที่ และความลึกของแผ่นดินไหวนั้นก็อาจใช้เวลาถึง 5 นาทีหรือมากกว่า ซึ่งนับว่าช้าเกินไปสำหรับพื้นที่มีความเสี่ยงฉับพลัน ทุ่นลอยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดความเปลี่ยนแปลงของความดันในทะเลจากคลื่นสึนามินั้นสามารถแลกส่งข้อมูลความเร็วและขนาดของสึนามิในขณะที่มันเคลื่อนตัวผ่านลุ่มน้ำมหาสมุทรและสามารถให้ข้อมูลล่วงหน้าแก่พื้นที่ๆ อยู่ในเส้นทางของทุ่นได้ แต่ก็ยังไม่สามารถเตือนพื้นที่ๆ จะต้องโดนสึนามิซัดใส่่ก่อนที่คลื่นจะผ่านทุ่นได้อยู่ดี  ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ว่าการใช้เทคโนโลยี GPS นั้นอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการรับข้อมูลเกี่ยวกับสึนามิได้อย่างรวดเร็วที่สุด รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446852– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จระเข้อาจมีส่วนช่วยทำให้มนุษย์เลิกใช้ฟันปลอม

Published on May 30, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จระเข้อาจมีส่วนช่วยทำให้มนุษย์เลิกใช้ฟันปลอม จระเข้นั้นนับว่าเป็นสัตว์ที่มีรอยยิ้มที่มีแต่แม่ของมันเท่านั้นที่จะรู้สึกว่าน่ารัก แต่งานวิจัยชิ้นใหม่พบว่าสัตว์เลื้อยคลานกินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดนี้อาจจะถึงขนาดช่วยปฏิวัติการทดแทนฟันในมนุษย์ได้เลยทีเดียว ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับฟันของจระเข้นั้นน่าทึ่งมาก โดยแต่ละตัวนั้นมักจะผ่านการใช้ฟันประมาณ 3,000 ซี่ในตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันว่าจระเข้ความยาวประมาณ 4 เมตรนั้นจะมีการแทนที่ฟันทั้ง 80 ซี่ของมันประมาณ 50 ครั้งในช่วงชีวิตหนึ่ง สิ่งที่จุดประกายให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็คือฟันของจระเข้นั้นไม่ได้แตกต่างไปจากฟันของมนุษยเสียเท่าไหร่เลย สิ่งที่แตกต่างกันหลักๆ นั้นก็คือเมื่อมนุษย์ที่มีอายุเสียฟันไปครั้งนึงแล้วล่ะก็มันจะไม่งอกขึ้นมาใหม่อีก ซึ่งสิ่งนี้ได้มอบเงื่อนงำให้กับนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องของประเภทอาหารที่บรรพบุรุษของเรากินเป็นอาหารว่าคงเป็นประเภทที่ไม่แข็งหรือเคี้ยวยากเกินไป เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้วเราคงจะวิวัฒนาการมาพร้อมกับระบบทดแทนฟันที่ดีกว่าที่เป็นอยู่  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446857– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ใครจะเชื่อ? CIA เคยคิดจะฝึกแมวให้เป็นสายลับ

Published on May 30, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ใครจะเชื่อ? CIA เคยคิดจะฝึกแมวให้เป็นสายลับ องค์กร CIA นั้นเคยบรรจุสายลับแมวเหมียวตัวหนึ่งเพื่อใช้สำหรับการสอดแนมผู้ต้องสงสัย เรื่องดังกล่าวมาจากหนังสือเล่มหนึ่งที่ให้ความกระจ่างกับเจ้าเหมียวชั้นยอดตัวนี้และความล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ของมันระหว่างในระหว่างทำภารกิจ “Acoustic Kitty” Emily Anthes, ผู้เขียนหนังสือชื่อ “Frankenstein’s Cat” นั้นกล่าวกับทีมข่าวว่าไม่ได้มีแต่แมวเท่านั้นที่เป็นสายลับที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งเคยมีทั้งแมลงและหนูดัดแปลง (ratbots) โดยเธอกล่าวเพิ่มเติมว่ามีประวัติการใช้งานสุนัขสำหรับภารกิจของตำรวจและทหารมายาวนาน ซึ่งมีสุนัขบางตัวได้ถูกติดตั้งด้วยกล้องและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีอื่นๆ อีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446860– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สั้นๆ กับ Big Data

คำว่า Big data กลายเป็นคำที่มาแรงในตอนนี้ แต่เมื่อ 70 ปีกว่ามาแล้ว ได้มีคำที่แสดงถึงจำนวนหรือกลุ่มของข้อมูลเกิดขึ้นและเป็นที่รู้จักกันในคำว่า “Information explosion” ภาษาไทยมีการแปลว่า “การทะลักทะลายของสารสนเทศ”  คุณ Gil Press ได้สรุปประวัติและพัฒนาการของขนาดของข้อมูล มาให้อ่าน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944 จนถึงปี 2012 ที่ Danah Boyd และ Kate Crawford เขียนเรื่อง “Critical Questions for Big Data” ลงใน Information, Communications, and Society ขึ้นมา น่าสนใจเลยส่ง link (http://www.forbes.com/sites/gilpress/2013/05/09/a-very-short-history-of-big-data/) มาให้อ่านกันค่ะ– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำบนดวงจันทร์และบนโลกมาจากแหล่งเดียวกัน

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง น้ำบนดวงจันทร์และบนโลกมาจากแหล่งเดียวกัน หลังจากที่ใช้เครื่องตรวจจับไอออนเพื่อดูอัตราส่วนของดิวทีเรียมไฮโดรเจนในหินจากดวงจันทร์และหินบนโลก นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ข้อสรุปว่า น้ำบนดวงจันทร์ไม่ได้มาจากดาวหาง แต่เป็นน้ำที่อยู่บนโลกเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน ตั้งแต่ยุคที่ก้อนหินยักษ์มาชนโลกจนเศษจากการชนครั้งนั้นไปรวมตัวเป็นดวงจันทร์ในเวลาต่อมา  นักวิจัยยืนยันแล้วว่า น้ำในชั้นแมนเทิลของดวงจันทร์มาจากหินยุคดั้งเดิม และมีแหล่งที่มามาจากแหล่งเดียวกับน้ำส่วนใหญ่บนโลก โดยการค้นพบนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกครั้งหนึ่งว่า ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446830– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การหัวเราะแต่ละแบบส่งผลต่อสมองไม่เหมือนกัน

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การหัวเราะแต่ละแบบส่งผลต่อสมองไม่เหมือนกัน การหัวเราะอาจหมายถึงการหัวเราะเยาะ รู้สึกตลก สนุก หรืออาจจะโดนจั๊กจี้ก็เป็นได้ แต่การหัวเราะแต่ละประเภทที่แตกต่างกันนั้นอาจทำให้ “โครงข่ายรับรู้การหัวเราะ” ในสมองของผู้ฟังนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการหัวเราะนั้น งานวิจัยจาก เดิร์ค ไวลด์กรูเบอร์ และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยทูบิงเกน เยอรมนีครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ PLOS ONE แล้ว เผยถึงกิจกรรมในสมองขณะที่รับฟังการหัวเราะในแต่ละแบบ โดยการหัวเราะของสัตว์เป็นรูปแบบของการสื่อสารแบบหนึ่งที่ในขั้นแรกเป็นเพียงการตอบสนองต่อการจั๊กจี้เท่านั้น แต่การหัวเราะของมนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมานานจากความสนุก รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446834– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยกลไกสมองในการควบคุมอารมณ์ตนเอง

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกลไกสมองในการควบคุมอารมณ์ตนเอง การระงับอารมณ์ของตัวเอง กับการได้รับคำสั่งให้เก็บอารมณ์ของตัวเองนั้น ส่งผลให้สมองถูกกระตุ้นไม่เหมือนกัน จากการค้นพบของนักวิทยาสตร์อังกฤษและเบลเยี่ยม  งานวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาการรับรู้ มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ และมหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเยี่ยม ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Brain Structure and Function แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสแกนสมองของอาสาสมัครแล้วพบว่า ระบบสมองบางส่วนจะถูกกระตุ้นเมื่อคนๆหนึ่งเลือกที่จะเก็บอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ด้วยการตัดสินใจของตัวเอง ”ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การควบคุมความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวข้องกับสมองคนละส่วนกับที่เมื่อได้รับคำสั่งให้ตอบสนองต่ออารมณ์อย่างไร” ดร.ไซม่อน คุห์น แห่งมหาวิทยาเกนท์ หัวหน้าทีมวิจัยเผย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446838– ( 163 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

Published on May 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง รู้แล้ว ทำไมฟลูออไรด์ถึงป้องกันฟันผุ กว่าสิบปีสำหรับการวิจัยเพื่อหาว่า ฟลูออไรด์ช่วยปกป้องฟันได้อย่างไร บัดนี้นักวิจัยได้ทราบแล้วว่าจริงๆ แล้วฟลูออไรด์มีส่วนช่วยอย่างไร งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เริ่มแรกนักวิจัยเชื่อว่าฟลูออไรด์จะไปเติมแร่ธาตุให้กับชั้นเคลือบฟัน ทำให้คนเรามีฟันที่แข็งแรงสามารถต้านทานต่อกรดที่เกิดจากแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดฟันผุได้ จนกระทั่งมีงานวิจัยใหม่ๆ ที่ค้นพบว่าจริงๆ แล้วฟลูออไรด์ไม่ได้ทะลุเข้าไปถึงชั้นของเนื้อฟันไม่ได้ไปเสริมชั้นเคลือบฟันให้แข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด ทำให้นักวิจัยต่างพากันงุนงงว่าแล้วฟลูออไรด์สามารถปกป้องฟันจากสารเคมีต่างๆ ได้อย่างไรกันแน่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446771– ( 26 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แผนงานระดับชาติล่าสุดของสหรัฐ : Brain Initiative

เป็นการวิจัยในนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบประสาทโดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้นัก วิจัยหาวิธีการใหม่ๆ ในการรักษาหรือป้องกันความผิดปกติทางสมอง เช่นโรคอัลไซเมอร์ โรคลมบ้าหมู หรือโรคบาดเจ็บที่สมอง โครงการนี้จะเร่งการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสร้างระบบการแสดงภาพเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาตอบสนองของ สมอง ซึ่งมีความเชื่อว่า เทคโนโลยีตัวนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาระบบการทำงานและโต้ตอบทั้งหมด ของสมองอย่างแท้จริง รายละเอียดโดยสังเขปมีดังนี้ การลงทุนหลักเพื่อเริ่มต้น โครงการอย่างรวดเร็ว การสร้างผู้นำจากฝ่ายการศึกษาที่เข้มแข็ง การสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน รักษามาตรฐานทางจริยธรรม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11998-science-and-technology-news  – ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments