magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 38)
formats

ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ทนน้ำท่วมฉับพลัน “กข51”

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

กรมการข้าวได้ประกาศรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” ทนน้ำท่วมฉับพลันซึ่งเป็นข้าวพันธุ์แรกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกและได้รับการรับรองพันธุ์ ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” เป็นข้าวที่ได้จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ให้มีลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยไบโอเทคร่วมกับ สํานักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว โดยได้นําข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ผสมพันธุ์กับข้าวสายพันธุ์ IR49830-7-1-2-2 ซึ่งมีคุณสมบัติทนน้าท่วมฉับพลัน ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” ถือเป็นหนึ่งในความสําเร็จในโครงการ “การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสวทช. โดยไบโอเทคและกรมการข้าว ที่ดําเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตต้านทานโรคและแมลง ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม แต่ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์เดิม ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-digital-content ที่มา : BIOTEC Newsletter. 1-15 มีนาคม 2556– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาหารสามารถช่วยต่อต้านการอักเสบได้

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง อาหารสามารถช่วยต่อต้านการอักเสบได้ การอักเสบเป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่มีระบบการป้องกันตามธรรมชาติ อาจจะมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการพัฒนาของโรคได้ หากมีอาการเรื้อรัง Lauren Whitt, Ph.D. ผ้อำนวยการสถาบัน UAB Employee Wellness และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ กล่าวว่า เป้าหมายของการเกิดกระบวนการอักเสบ เพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการตรวจพบ และทำลายสารพิษที่สร้างความเสียหายให้แก่เนื้อเยื่อ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายสารพิษนั้นทั่วร่างกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถต่อสู้กับการอักเสบได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154918– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดื่มน้ำหวาน : อีกสาเหตุเสียชีวิตมากมายทั่วโลก

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

ดื่มน้ำหวาน : อีกสาเหตุเสียชีวิตมากมายทั่วโลก เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ดื่มน้ำหวาน : อีกสาเหตุเสียชีวิตมากมายทั่วโลก เครื่องดื่มเกลือแร่ โซดา น้ำผลไม้ ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต 180,000 คนทั่วโลกในแต่ละปี จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์เมืองมะกัน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วโลกในปริมาณสูง มีส่วนทำให้ร่างกายน้ำหนักเกิน เพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปสู่โรคเบาหวาน โรคทางเดินโลหิต ไปจนถึงมะเร็งบางประเภท นักวิทยาศาสตร์จึงได้ใช้ข้อมูลการศึกษาเมื่อปี 2010 มาทำการวิเคราะห์จนพบว่าผู้ที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลปริมาณมากๆ เป็นโรคเบาหวานจนเสียชีวิตถึง 133,000 ราย เป็นโรคทางเดินโลหิตจนเสียชีวิต 44,000 ราย และเป็นมะเร็งจนเสียชีวิต 6,000 ราย โดย 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้เสียชีวิตจากการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง มากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154908– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลิ่นยีนของตัวอื่นมีผลต่อการเลือกคู่

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กลิ่นยีนของตัวอื่นมีผลต่อการเลือกคู่ นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งทฤษฎีว่า สัตว์และมนุษย์สามารถได้กลิ่นยีน”บางยีน”ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนความสนใจในเรื่องการเลือกคู่ได้เช่นกัน ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ายีน MHC (major histocompatibility complex) มีส่วนสำคัญต่อการเลือกคู่ดังกล่าว เพราะมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยการเลือกคู่ที่มี MHC ที่แตกต่างกับตัวเองมากๆ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้มาก เพราะจะทำให้ลูกมีโอกาสที่จะมียีนระบบภูมิคุ้มกันที่หลากหลายกว่ามาก ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการมีภูมิคุ้มกันโรคที่มากขึ้นด้วย แต่จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีใครค้นพบข้อมูลกลิ่นของยีน MHC จากของไหลที่ปล่อยออกมาจากมนุษย์หรือสัตว์เลย นักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาและศูนย์โปรตีน จากมหาวิทยาลัยทูบินเก้น และทีมงานจากมหาวิทยาลัยซาร์แลนด์ เยอรมนี ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษายีน MHC และผลการศึกษานี้ก็ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Communications แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมาทบทวนทฤษฎี “การดมกลิ่นเลือกคู่” กันใหม่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154909– ( 101 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มลพิษทางจราจรนั้นเป็นสาเหตุของโรคหืดหอบจริงเหรอ

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มลพิษทางจราจรนั้นเป็นสาเหตุของโรคหืดหอบจริงเหรอ มลพิษที่เกิดจากจราจรนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสาเหตุของอาการหืดหอบ แต่งานวิจัยชิ้นใหมได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เด่นชัดยิ่งขึ้น ซึ่งนักวิจัยของทางยุโรปได้กล่าวว่ามลพิษที่เกิดจากจราจรนั้นอาจจะเป็นสาเหตุของอาการหืบหอบในเด็กถึง 14% และทำให้อยู่ในระดับเดียวกันกับการสูบบุหรี่มือสองด้วย เหล่านักวิจัยได้ข้อสรุปโดยการใช้ข้อมูลจากการวิจัยโรคระบาดที่มีอยู่ก่อน รวมถึงงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงจำนวนของเด็กที่อยู่ใกล้กับรูปแบบจราจรที่คล้ายคลึงกันในเมืองต่างๆ ของยุโรปถึง 10 เมือง “สัดส่วนของผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กับถนนที่มีการจราจรหนาแน่นนั้นมีจำนวนสูงมากจนน่าตกใจ” ผู้นำการวิจัย Laura Perez กล่าว “พวกเราได้ทำการประเมินอย่างเดียวกันกับรัฐลอสแอนเจลิสที่มีจำนวนคนอยู่ในละแวกนั้นน้อยกว่ามาก ซึ่งเมื่อการค้นพบนี้ได้ถูกรวมเข้ากับผลการทดลองการงานวิจัยโรคระบาดอื่นๆ เพื่อประเมินผลกระทบของสภาวะดังกล่าว เราได้พบว่าการเผชิญกับสภาพเช่นนี้นั้นอาจเป็นส่วนร่วมสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ก็เป็นได้”รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154910– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รางวัลวิจัยสเต็มเซลล์

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28 มีนาคม  2556 ข่าวหมวดงบประมาณ -  สถาบัน The California Institute for Regenerative Medicine (CIRM)  ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลจำนวน 32 ล้านเหรียญสหรัฐ  เพื่อทำการวิจัย สเต็มเซลล์ของมนุษย์ชนิด pluripotent stem (iPS) cell lines ผู้ชนะรางวัลประกอบด้วยทีมงาน 7 ทีมที่รัฐแคลิฟอร์เนีย จะพัฒนาเซลล์ที่กำเนิด  iPS cells จากเนื้อเยื่อเฉพาะ เพื่อจำลองเชื้อโรคในผู้ป่วยแต่ละคน ขณะนี้สหรัฐอเมริกา ยังขาดธนาคารกลาง iPS-cell  ซึ่งมีในประเทศญี่ปุ่น  แต่ว่าการริเริ่มงานนี้ที่แคลิฟอร์เนียจะช่วยให้นักวิจัยสหรัฐ เข้าถึงเซลล์ iPS ที่มีลักษณะดีเพื่อการวิจัยต่อไป อ้างอิง : Stem-cell grants .  (2013). Seven days : The News in 

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสประท้วง

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28 มีนาคม  2556 ข่าวหมวดงบประมาณ -   เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2013 นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสได้หยุดงานประท้วงเพื่อร่วมกันคัดค้านกฎหมายใหม่ การปฏิรูปงานวิจัยและการศึกษาขั้นสูง (bill to reform research and higher education) ผู้ประท้วงได้กล่าวว่า กฎหมายนี้จะทำให้ มหาวิทยาลัยของฝรั่งเศสถูกผลักดัน จงใจให้เข้าสู่ภาวะล้มละลาย รัฐมนตรีกระทรวงวิจัย Genevive Fioraso ยอมรับว่าการขาดดุลงบประมาณ ทำให้รัฐบาลมีข้อจำกัดในการใช้จ่ายด้านวิทยาศ่าสตร์  คณะรัฐมนตรฝรั่งเศสได้มีมติยอมรับกฎหมายนี้  เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2013 และจะนำเสนอรัฐสภาในวันที่ 27 พฤษภาคม นี้  และจะมีผลบังคับใช้ราวปลายเดือนกรกฎาคม อ้างอิง :  French protest.  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7442), 414

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยกระบวนการสร้างความจำเชิงพื้นที่ในสมอง

Published on March 28, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกระบวนการสร้างความจำเชิงพื้นที่ในสมอง นักวิทยาศาสตร์ออสเตรียและทีมงานค้นพบกระบวนการการสร้างความจำเชิงพื้นที่ (Spatial Memory) โดยได้แสดงออกมาให้เห็นด้วยภาพแล้ว ในกระบวนการเรียนรู้นั้น ข้อมูลใหม่จะถูกส่งต่อไปยังความจำผ่านการประมวลผลและการเข้ารหัสข้อมูลในวงจรประสาท ล่าสุด ศาสตราจารย์จอซเซฟ ซิสซ์วารี จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย และเดวิด ดูเพร็ต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ค้นพบกระบวนการใหม่ในเซลล์ประสาทเชื่อมกลางยับยั้ง (inhibitory interneurons) ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูในขณะที่กำลังสร้างความจำเชิงพื้นที่แล้ว ในกระบวนการเรียนรู้เชิงพื้นที่นั้น พื้นที่จะถูกแทนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสด้วยการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ศาสตราจารย์จอซเซฟ ซิสซ์วารีและทีมงานได้ศึกษากระบวนการเรียนรู้เชิงพื้นที่ของหนูโดยใช้ระบบเขาวงกตที่ใช้ชีสเป็นตัวล่อ ระบบนี้จะมีหลุมอยู่มากมาย ซึ่งบางหลุมก็จะซ่อนอาหารเอาไว้ โดยการทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความจำเชิงพื้นที่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154911– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มือถืออาจใช้แซฟไฟร์แทนกระจกสำหรับหน้าจอสัมผัส

Published on March 28, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มือถืออาจใช้แซฟไฟร์แทนกระจกสำหรับหน้าจอสัมผัสในอนาคต หน้าจอสัมผัสบนสมาร์ทโฟนนั้นนับเป็นเทคโนโลยีชั้นเยี่ยมตราบใดก็ตามที่มันยังไม่ตกลงบนพื้นแตก ซึ่งผู้ผลิตทั้งหลายก็ตามมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาเรื่องการแตกของหน้าจอแก้วด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรเคมีแบบต่างๆขึ้นมา เช่น Gorilla Glass อันโด่งดังของบริษัท Corning เป็นต้น แต่ในตอนนี้พบว่ามีทางเลือกใหม่แล้ว นั่นก็คือแซฟไฟร์ ธาตุที่มีความแข็งถัดมาจากเพชรนั่นเอง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154912– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวรับสารซีโรโทนินต่อยาป้องกันโรคซึมเศร้า

Published on March 28, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ตัวรับสารซีโรโทนินต่อยาป้องกันโรคซึมเศร้า นักวิจัยได้ทำการศึกษาการถอดรหัสโครงสร้างโมเลกุลของตัวรับ (receptor) ซึ่งเป็นกลไกในสมอง สำหรับสารสื่อประสาทตามธรรมชาติ ที่ชื่อว่า ซิโรโทนิน (serotonin) โดยใช้วิธี X-ray crystallography ซึ่งรังสี X จะยิงผลึกของสารประกอบ และโครงสร้างจะถูกนำมาพิจารณาการกระจายแสง Bryan Roth นักวิจัยและนักเภสัชวิทยาระบบประสาท จาก University of North Carolina Chapel Hill Medical School พบว่าตัวรับเหล่านี้มีขนาดใหญ่และยังไม่ทราบโครงสร้างผลึกสำหรับตัวรับสารซีโรโทนินใดๆ แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่เชื่อถือได้จำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะถอดรหัสตัวรับสารซีโรโทนินมาเป็นเวลานาน และพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับระดับอะตอม ทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของสมองในการรู้สำนึก และสามารถทำมาใช้เป็นนวัตกรรมในการคิดค้นยา รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154913– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments