magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 34)
formats

เผยพืชปล่อยแก๊สเพื่อให้โลกเย็นลง

Published on May 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยพืชปล่อยแก๊สเพื่อให้โลกเย็นลง ในขณะที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น พืชกลับปล่อยแก๊สที่ช่วยในการก่อตัวของเมฆ ที่จะทำให้บรรยากาศของโลกเย็นลง จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์ที่ IIASA และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ การศึกษาครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Geoscience แล้ว โดยชี้ว่า จะเกิดวงวนกลับกันในทำนองที่ว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะไปเพิ่มความเข้มข้นของละอองน้ำในธรรมชาติที่จะมีผลให้บรรยากาศเย็นลง “พืชนั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มันก็จะช่วยปรับสมดุลของการเปลี่ยนแปลงนี้” เพาลี พาโซเน่น หัวหน้านักวิจัยเผย   นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า ละอองน้ำบางส่วนที่ลอยอยู่ในอากาศสามารถทำให้บรรยากาศเย็นลงได้ เพราะมันทั้งช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ลงไป และช่วยให้เกิดเมฆที่ก็ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446758– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีเสื้อผ้าใหม่

Published on May 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยีเสื้อผ้าใหม่ ใส่ร้อยวันไม่ซักก็ยังไม่มีกลิ่นเหม็น บริษัทที่กำลังเริ่มกิจการใหม่ในเมืองนิวยอร์คนั้นกล่าวอ้างว่า ทางบริษัทสามารถผลิตเสื้อเชิ๊ตติดกระดุมขนแกะของผู้ชายที่นุ่มมาก ไม่ต้องรีด และไม่มีกลิ่นถึงแม้ว่าจะสวมใส่ติดกันเป็นเวลา 100 วันก็ตาม บริษัทเสื้อผ้าที่มีชื่อว่า Wool & Prince นั้นได้เริ่มธุรกิจเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาโดย Mac Bishop จาก Portland ในรัฐ Oregon และเพื่อนอีกสองคน ซึ่งรุ่นต้นแบบของเสื้อเชิ๊ตนั้นทำมาจากขนแกะที่ผ่านกระบวนการพิเศษที่ทำให้มันนุ่ม ไม่เป็นรอยยับ และไร้กลิ่น ในขณะที่พวกเขาไม่ได้เปิดเผยถึงเทคนิคที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ดังกล่าว Bishop ได้บันทึกการใส่เสื้อเชิ๊ตดังกล่าวติดกันเป็นเวลา 100 วันไว้ – ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กับการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กับการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมอาเซียน” วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “World without Malaria: A Grand hallenge?” (โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ สวทช.) ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “ปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำกับแรงงานข้ามชาติ” (โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “Zoonosis กับการเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงสุดท้าย เป็นเรื่อง รวมพลังขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ รับมือประชาคมอาเซียนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว” (โดย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน  วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช.  ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ “นกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย ศ.ดร. พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “มะเร็งท่อน้ำดี: ปัญหาร่วมของประชากรลุ่มน้ำโขง” (โดย รศ.ดร. โสพิศ วงศ์คำและคณะ ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ช่วงที่หนึ่งนกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน นกเงือกเป็นสัตว์ป่าที่เป็นดัชนีชี้ ความสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังมีบทบาทที่สาคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าหลายชนิด ซึ่งถือเป็นการช่วยรักษาโครงสร้างป่า และผดุงพันธุ์ไม้ป่า โครงการศึกษาวิจัยนี้ กำเนิดขึ้นจากความห่วงใยต่อสถานสภาพของนกเงือก ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจสถานภาพและอนาคตของนกเงือกในประเทศไทยตั้งแต่ระดับพันธุกรรมประชากร จนกระทั่งถึงระดับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นงานบุกเบิกสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของนกเงือก 13

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รำลึกความหลังสู่อนาคตของ สกว. โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

รำลึกความหลังสู่อนาคตของ สกว. เมื่อ วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดงานครบรอบ ๒๐ ปี สกว. ในงานดังกล่าว ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้เล่าให้ฟังถึงการก่อตั้ง สกว. และอนาคต ของ สกว.ในมุมมองของท่าน การก่อตั้งและการดำเนินงานที่ผ่านมา เหตุใดจึงมี สกว. เหตุผลก็คือ ในช่วงนั้นหรือแม้กระทั่งในช่วงนี้ เราต้องยอมรับว่าระบบการสนับสนุนการวิจัยของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก สกว. จึงได้ช่วยขึ้นมา ก่อนมี สกว. ในช่วงนั้น งานวิจัยแทบไม่มีนโยบาย ไม่มีงบประมาณ และเท่าที่มีก็ยังติดในระเบียบราชการขยับตัวแทบไม่ได้ ดังนั้นโอกาสสำคัญที่จะปรับ ระบบการสนับสนุนการวิจัยของเรา เมื่อมีตัวอย่าง คือ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  และถัดจากนั้นมา มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขึ้น แสดงว่ามีโอกาสและมีกลไกที่จะให้ตั้งองค์กรของรัฐที่ไม่ได้อยู่ในระบบราชการ โดยออกกฎหมายพิเศษ การก่อตั้ง สกว. ที่สำคัญ มีผู้ผลักดัน ๓ ท่าน ได้แก่ ดร.สง่า สรรพศรี

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Facebook สามารถเดาได้ว่าคุณอ้วนหรือไม่

Published on May 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง Facebook สามารถเดาได้ว่าคุณอ้วนหรือไม่ เวลาที่คุณคลิ๊ก “Like” ให้กับโรงเรียนสอนโยคะบนเพจเฟซบุค หรือเวลาไปซื้อดีลกับร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ดนั้น ที่จริงแล้วคุณอาจจะกำลังให้ความช่วยเหลือเหล่านักวิจัยโรคอ้วนอยู่อย่างไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ทีมวิจัยทีมหนึ่งจากโรงพยาบาลเด็ก Boston นั้นได้สังเกตเห็นถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างความสนใจของผู้ใช้บริการเฟซบุคและอัตราโรคอ้วนในพื้นที่ ๆ อยู่อาศัยของพวกพวกเขาได้ “ข้อมูลได้แสดงให้เห็นว่าในท้องที่ ๆ ผู้ใช้บริการเฟซบุคนั้นมีความสนอกสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกายอยู่เป็นจำนวนมากนั้น จะทำให้ค่าความแพร่หลายของโรคอ้วนและอาการน้ำหนักเกินของพื้นที่นั้นต่ำลง” นักวิจัย Rumi Chunara กล่าว “ข้อมูลเหล่านี้ได้เผยให้เห็นว่าเครือข่ายสังคมหรือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คนั้นสามารถช่วยขยายขอบเขตการดูแลสาธารณสุขด้วยการทำให้นักวิจัยสาธารณสุขสามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับประชากรที่พวกเขาไม่สามารถหาได้จากวิธีอื่นได้อย่างไร”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446765– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงไอน์สไตน์ผ่านการทดสอบสำคัญ

Published on May 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงไอน์สไตน์ผ่านการทดสอบสำคัญ ระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกไป 7,000 ปีแสง ทำให้นักฟิสิกส์ด้านเอกภพวิทยาสามารถศึกษาธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงได้ โดยครั้งนี้เป็นการศึกษาแรงโน้มถ่วงที่เข้มจากดาวนิวตรอนที่โคจรรอบดาวแคระขาวที่เป็นคู่กัน นำไปซึ่งการทดสอบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงต่าง ๆ ที่แม่นยำกว่าการทดสอบอื่น ๆ ที่ผ่านมา และที่สำคัญคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสนอไว้เมื่อปี 1915 ก็ได้รับการทดสอบด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446737– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ใจกลางโลกร้อนกว่าที่คิดไว้ 1,000 เซลเซียส

Published on May 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ใจกลางโลกร้อนกว่าที่คิดไว้ 1,000 เซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณการอุณหภูมิที่ใจกลางโลกว่าเป็น 6,000 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อ 20 ปีก่อนถึง 1,000 องศาเซลเซียส และการวัดครั้งนี้ยังเป็นการยืนยันแบบจำลองสภาพภายในของโลกที่อุณหภูมิบริเวณใจกลางกับชั้นแมนเทิลที่อยู่บนนั้นน่าจะต่างกันอย่างน้อย 1,500 องศาเซลเซียส และเป็นสาเหตุของการเกิดสนามแม่เหล็กของโลก ผลงานการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์จากฝรั่งเศสครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446740– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยดัดแปลง E.coli ให้สามารถผลิตน้ำมันได้

Published on May 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิจัยดัดแปลง E.coli ให้สามารถผลิตน้ำมันได้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตัดต่อพันธุกรรมของแบคที่เรียที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ E.coli ซึ่งเดิมเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียให้สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ โลกในยุคปัจจุบันได้มีการผลักดันให้ใช้พลังงานทดแทน/เชื้อเพลิงชีวภาพกันมากขึ้น ในยุโรปได้ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2020 การขนส่งภาคพื้นร้อยละ 10 ของยุโรปจะใช้พลังงานทดแทนจากพืช  แต่ในปัจจุบันพลังงานทดแทนจำพวกไบโอดีเซลล์และไบโอเอทานอลนั้นไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์สมัยใหม่ ก่อนนำไปใช้จึงต้องมีการนำไปประยุกต์โดยการนำพลังงานทดแทนเหล่านั้นประมาณ 5-10% มาผสมเข้ากับน้ำมันปิโตรเลียมก่อนถึงจะนำไปใช้ได้ แต่เชื้อเพลิงที่ E. coli นี้ผลิตได้นั้นสามารถนำไปใช้ได้ทันที รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446669– ( 134 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ทำให้คุณ”สัมผัส”วัตถุเสมือนได้

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ทำให้คุณ ”สัมผัส” วัตถุเสมือนได้ รูปภาพหนึ่งรูปอาจจะแทนคำพูดได้หนึ่งพันคำ แต่มันก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจว่าวัตถุจริง ๆ นั้นรู้สึกอย่างไรเวลาที่คุณจับต้องมัน ที่จริงแล้ว การจับ “ความรู้สึก” ของวัตถุต่าง ๆ นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีความก้าวหน้านัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ Kathering Kuchenbecker นักวิศวกรรมเครื่องกลจาก University of Pennsylvania คิดว่าควรจะต้องได้รับการค้นคว้าในละเอียดมากกว่านี้ – ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments