magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 45)
formats

สหรัฐอเมริกา ร่างกฎหมาย Open-access

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย เป็นร่างกฏหมายที่ต้องการให้มีการบังคับเปิดให้เข้าถึงข้อมูลผลงานวิจัยได้รับทุนวิจัยจากงบประมาณของรัฐบาลกลางให้แก่สาธารณชนได้แบบฟรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013 ได้มีการนำร่างกฎหมายเรื่องนี้เข้าที่ประชุมรัฐสภาสหรัฐอเมริกา  หากมีการอนุมัติเห็นชอบในร่างกฎหมายนี้ อาจจะมีการสั่งการให้หน่วยงานวิจัยผู้ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลกลางเปิดเผยข้อมูลผลงานวิจัยได้แบบฟรี ไม่ช้าไปกว่า 6 เดือน หลังจากบทความนั้นมีการตีพิมพ์ ในขณะนี้ หน่วยงานวิจัยหลัก  National  Institutes of  Health, NIH  มีระเบียบให้เปิดเผยผลงานวิจัย ภายใน 12เดือน ร่างกฎหมายนี้เป็นฉบับที่ 4 ของเรื่อง Open-access  ที่นำเข้ารัฐสภาสหรัฐอเมริกา  โดยที่ยังไม่มีออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนี้ อ้างอิง : US open-access bill .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7437), 286 – 287. http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12444!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/494286a.pdf–

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปิดตัวมือถือโปร่งแสงเตรียมวางจำหน่ายปีนี้

สำนักข่าวไทย เสนอข่าวเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน แบบใหม่ ดังรายละเอียด ไต้หวัน 21 ก.พ.2556-เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีการพัฒนาสมาร์ทโฟนโปร่งแสง เตรียมออกวางจำหน่ายในปีนี้ บริษัท โพลีตรอน เทคโนโลยี ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสหรัฐที่อยู่ในไต้หวัน ประกาศตัวว่าสามารถพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่โปร่งแสงเต็มรูปแบบได้เป็นรายแรก หลังใช้เวลาค้นคว้าพัฒนา มาถึง 6 ปี และตอนนี้มีคำสั่งซื้อเข้ามาแล้ว คาดว่าจะออกจำหน่ายได้ภายในปีนี้ – ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คุณสมบัติของอุทยานวิทยาศาสตร์

สมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (United Kingdom Science Park Association : UKSPA) ได้กำหนดคุณสมบัติของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าเป็นสมาชิกว่าต้องมีขอบข่ายการดำเนินการ 3 ประการ คือ พื้นที่นั้น ๆ ต้องมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นกิจลักษณะกับมหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษาในระดับสูงกว่ามหาวิทยาลัย / ศูนย์วิจัยขนาดใหญ่ ในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงโดยรอบ พื้นที่โครงการต้องออกแบบก่อสร้างเป็นอย่างดี เพื่อจูงใจให้ธุรกิจที่เน้นหนักด้านความรู้ (Knowledge-based business) หรือองค์กรอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาจัดตั้งกิจกรรมบนพื้นที่นั้นๆ นอกจากนี้ต้องออกแบบพื้นที่ให้เอื้ออำนวยแก่ธุรกิจหรือองค์กรเหล่านี้ให้สามารถเติบโตอย่างเข้มแข็งบนพื้นที่ดังกล่าว การบริหารพื้นที่นั้นๆ ต้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริมตลอดจนสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และทักษะทางธุรกิจจากสถาบันการศึกษาหรือจากสถาบันวิจัยให้แก่ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ ที่ตั้งบนพื้นที่นั้น บรรณานุกรม : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : บ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นิยามอุทยานวิทยาศาสตร์

สมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ (International Association of Science Park : IASP) ได้นิยามคำว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ไว้คือ อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นองค์กรที่มีการบริหารงานโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ และสถาบันที่เป็นแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้อง อุทยานวิทยาศาสตร์จะทำหน้าที่กระตุ้นและจัดการให้เกิดการไหลเวียนของความรู้และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคเอกชนและตลาด โดยเป็นผู้จัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานที่และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งบริการสนับสนุนต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของผู้ประกอบการที่ต้องการนำนวัตกรรมมาเริ่มกิจการใหม่ และช่วยบ่มเพาะจนสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง บรรณานุกรม : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : บ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุทยานวิทยาศาสตร์ คืออะไร

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เป็นยุคแห่งการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พื้นความรู้สูง (Knowledge-intensive industries) เช่น อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ และเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้ได้เปิดโอกาสอันหลากหลายสำหรับการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และช่องทางการใช้ประโยชน์ต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการก็อาจสามารถฉกฉวยโอกาสดังกล่าวได้ การเติบโตที่รวดเร็วของอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยการเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกันระหว่างแหล่งความรู้ ภาคการผลิต และตลาด เป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนานวัตกรรม และผลักดันการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ดังนั้นจึงได้จัดให้มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นในบริเวณที่ใกล้เคียงกับแหล่งความรู้และแหล่งงานวิจัย เช่น สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย เป็นต้น และในเวลาต่อมาโครงการเหล่านี้ก็ได้รับการขนานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park)” บรรณานุกรม : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : บ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.– ( 208 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปิดตัววารสาร Open -Access ชื่อใหม่

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดธุรกิจ -   วารสารประเภท Open-access ชื่อใหม่ที่ชื่อ PeerJ. ได้เปิดตัวขึ้นมาใหม่ เปิดบริการที่เว็บไซต์  https://peerj.com/ สำนักพิมพ์มีข้อเสนอให้แก่ผู้แต่งบทความที่สนใจเสนอตีพิมพ์บทความ โดยยกเว้นค่าสมาชิกเพื่อการตีพิมพ์ในช่วง 1 ปีแรก ในจำนวนเงิน 299 เหรียญสหรัฐ  วารสารได้เริ่มตีพิมพ์บทความวิจัยชุดแรก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013  ผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มองว่าเป็นโมเดลทางธุรกิจที่ผิดจากธรรมดา ผู้ก่อตั้ง กล่าวว่าวารสารอาจมีการลดราคาค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ลงอย่างมากต่อไป อ้างอิง : Open-access launch .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature.,  494 (7436), 152 – 153. http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-february-2013-1.12412– ( 105 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความตกลงกันในงบประมาณของยุโรป

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย  -  เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2013 ผู้นำของกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีการตกลงกันในเรื่องงบประมาณ จำนวน 125.6 พันล้านยูโร (168 พันล้านเหรียญสหรัฐ)  เพื่อการริเริ่มการกระตุ้นส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของทวีปยุโรป ในช่วงปี 2014- 2020 ซึ่งรวมถึง โปรแกรมการวิจัย Horizon 2020 ด้วย อ้างอิง : EU budget deal .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7436), 152 – 153. http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-february-2013-1.12412– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยุโรปเล็งผุดเมืองบนดวงจันทร์

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องการสร้างเมืองบนดวงจันทร์  ดังรายละเอียดต่อไปนี้ องค์การอวกาศยุโรปร่วมมือบริษัทออกแบบ เตรียมแผนก่อสร้างเมืองบนดวงจันทร์ด้วยเครื่องพิมพ์3มิติ หากใครเป็นคอหนังไซไฟแฟนตาซีแห่งโลกอนาคต เชื่อเลยว่าหลายคนจะต้องติดอก ติดใจไปกับฉากการเดินทางไปมาระหว่างเมืองที่อยู่ในต่างดาว ล่าสุด ความฝันนั้นดูเหมือนว่าจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้นแล้ว เมื่อ องค์การอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) ได้ร่วมมือกับบริษัทด้านการออกแบบแห่งหนึ่งในอังกฤษ เตรียมแผนที่จะไปก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างให้มนุษย์อยู่อาศัยบนดวงจันทร์ และคาดว่าจะสามารถต่อยอดขยายไปสู่การสร้างเมืองบนดวงดาวดังกล่าวได้ โดยอาศัยเครื่องมืออย่างเครื่องพรินเตอร์ 3 มิติ ในการช่วยผลิตวัสดุ และอุปกรณ์ก่อสร้างบนดวงจันทร์ – ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค้นพบสิ่งมีชีวิตใต้แผ่นน้ำแข็ง

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดวิจัย -   นักวิจัยค้นพบจุลินทรีย์ในตัวอย่างน้ำและตะกอน จากทะเลสาบ Whillans ที่เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ลึก 800 เมตร ใต้น้ำแข็งแอนตรากติกค์ ขั้วโลกใต้ หากการค้นพบนี้มีการยืนยันจริง ซึ่งทีมงานเนเจอร์รับทราบเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013 จะถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตใต้แผ่นธารน้ำแข็ง โดยขณะนี้ทีมนักวิจัยของสหรัฐอเมริการ กำลังเร่งวิจัยโดยการเจาะทะลุทะเลสาบนี้เมื่อเดือนที่แล้ว อ้างอิง : Subglacial lake life .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature.,  494 (7436), 152 – 153. http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-february-2013-1.12412– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แนวคิดการเมืองเปลี่ยนสมองของคนได้

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องสมองกับการชื่นชอบพรรคการเมืองในสหรัฐอเมริกา  ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์การเมืองและนักประสาทวิทยา ได้แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยมใช้สมองคนละส่วนกันในขณะที่ทำการตัดสินใจที่เสี่ยง และหลักการนี้น่าจะนำไปใช้เพื่อทำนายได้ว่า คนๆหนึ่งมีแนวโน้มที่จะชอบพรรคการเมืองแบบใด การศึกษาครั้้งใหม่นี้เผยว่า แม้ว่ายีนและการถ่ายทอดจากพ่อแม่จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดฟังก์ชันการทำงานของสมอง แต่การจะชอบพรรครีพับลีกันหรือจะชอบเดโมแครทนั้นก็สามารถ  ดร.ดาร์เรน ชเรเบอร์ นักวิจัยด้านประสาทการเมืองวิทยา มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก โดยผลงานครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ PLOS ONE แล้ว – ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments