magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 51)
formats

โลกอนาคตกับทิศทางสังคมอีก 150 ปีข้างหน้า

อะไรจะเกิดขึ้นในปี 2013 ในอีก 10 ปี หรือ 50 ปี หรือ 100 ปี เราจะได้เห็นการคาดการณ์ในอนาคตข้างหน้าจากนักคิด นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ ว่าในอนาคตข้างหน้าสังคมของเราอาจจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ในด้านต่างๆ เช่น Computing and robotics, Politics and business, Science and nature ฯลฯ โดยใช้อินโฟกราฟฟิกอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ – ( 1384 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

QR code กับหลุมฝังศพที่โบสถ์เซนต์มาร์กาเร็ต

“QR code” อีกรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีรหัสแท่ง (Barcode technology) ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีรหัสแท่งแบบเดิม ซึ่งได้มีการนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล เช่น การนำ QR code มาจัดทำ Resume เพื่อใช้ในการสมัครงาน ซึ่งเคยนำมาเสนอให้ชมกันไปเมื่อครั้งก่อน สำหรับครั้งนี้ จึงอยากแนะนำการประยุกต์ใช้ที่เป็นสถานที่ที่นำมาใช้จริง และอาจจะเป็นอีกแรงบันดาลใจในการนำไปประยุกต์ใช้ และพัฒนาจากเดิมให้น่าสนใจยิ่งขึ้น อย่างการนำ QR code มาประยุกต์ใช้กับหลุมฝังศพจำนวนมากที่โบสถ์เซนต์มาร์กาเร็ต – ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

5 ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคตที่ต้องจับตามองในปี 2013

IEEE Computer Society ได้พูดถึงเทคโนโลยีที่ควรจับตามองในปี 2013 ไว้ดังนี้ 1. Internet of Things (IoT) จะมีการใช้งานที่เป็นจริงมากยิ่งขึ้น 2. การใช้ภาพและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของ Big Data 3. เทคโนโลยี Cloud computing (Hybrid clouds และ personal clouds) 4. การควบคุมตรวจสอบอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มมากขึ้น 5. การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการในการเพิ่มพลังให้กับคอมพิวเตอร์ที่มีหลายหน่วยประมวลผล (multicore computing) ติดตามอ่านรายละเอียด– ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซอร์แพทริก มัวร์ แห่งเดอะสกายแอดไนท์ บีบีซี เสียชีวิตด้วยวัย 89 ปี

เซอร์แพทริก มัวร์ หรือ เซอร์แพทริก อัลเฟรด คาล์ดเวลล์-มัวร์ ผู้ดำเนินรายกรเดอะสกายแอดไนท์ (The Sky at Night) ทางสถานีบีบีซี ได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 89 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม ในบ้านที่เซลชีย์ อังกฤษ ท่ามกลางเพื่อนสนิท ผู้ดูแล และแมวของเขาที่ชื่อ Ptolemy http://www.astronomy.com/en/News-Observing/News/2012/12/Patrick%20Moore%20obit.aspx ด้วยความที่มัวร์สนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่เด็ก และเขียนหนังสือหนังสือเกี่ยวกับดวงจันทร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 เมื่อสถานีบีบีซีได้เริ่มรายการดาราศาสตร์จึงได้เชิญมัวร์เป็นผู้ดำเนินรายการ รายการเดอะสกายแอดไนท์จึงมี มัวร์ เป็นผู้ดำเนินรายการตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมากกว่า 700 ตอน และเขียนหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์ด้วย ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Caldwell Catalog ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในปี ค.ศ. 1995 มัวร์เป็นคนถ่อมตน แม้จะมีผู้กล่าวว่า ผลงานของมัวร์ สร้างแรงบันดาลใจหรือมีอิทธิพลให้กับคนสนใจดาราศาสตร์ ก็ตาม พีธีไว้อาลัยต่อมัวร์คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2013 ซึ่งเป็นปีที่มัวร์มีอายุ 90 ปี บรรณานุกรม:

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช. ประกาศผล 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2555

24 ธันวาคม 2555 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี : ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวถึง การจัดอันดับ 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 ว่า เป็นกิจกรรมที่ สวทช./วท. จัดขึ้นมากว่า 19 ปีแล้ว เพื่อสร้างกระแสความนิยมและส่งเสริมความเข้าใจข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกลุ่มเยาวชนและสังคมไทย โดยในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป กว่า 3,000 คน ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 48.1 เพศหญิงร้อยละ 51.9 อายุระหว่าง 20-25 ปี – ( 489 Views)

 
Tags: , , , , , , , , , , , ,
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โลกร้อน…ทำให้สัตว์น้ำมีขนาดเล็กลง

Published on December 28, 2012 by in S&T Stories

นักวิจัยจากหลายสถาบันของอังกฤษ ได้แก่ ควีน แมรี คอลเลจ, มหาวิทยาลัยลอนดอน และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิน้ำปรับสูงขึ้น กำลังเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำมีขนาดเล็กลง โดยสัตว์โตเต็มวัยทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืดมีขนาดลดลงกว่าสัตว์บกถึง 10 เท่า การค้นพบนี้สะท้อนความเป็นไปได้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารทะเลหรืออุตสาหกรรมประมงในอนาคต ทั้งนี้ นักวิจัยพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์มีขนาดแตกต่างกันเป็นผลจากปริมาณก๊าซออกซิเจนในน้ำที่น้อยกว่าในอากาศเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำต่างต้องการก๊าซชนิดนี้เพิ่มขึ้น แต่สัตว์น้ำต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มายากกว่า   ที่มา :  ” รอบรู้รอบโลก : โลกร้อน…ทำให้สัตว์น้ำมีขนาดเล็กลง” จดหมายข่าว วว. 15(12) :11 ; ธันวาคม 2555.  – ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลาสมิด ดีเอ็นเอพาหะนิยมใช้ในงานพันธุวิศวกรรม

พลาสมิดตามธรรมชาติที่แยกได้จากแบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายเป็นดีเอ็นเอพาหะที่เหมาะสมใช้ในงานพันธุวิศวกรรม โดยพลาสมิดทำให้ดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการสามารถเพิ่มจำนวนและแสดงออกได้ในเซลล์ที่ต้องการแสดงออกซึ่งลักษณะนั้น เริ่มแรกตัดพลาสมิดและดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ แล้วเชื่อมต่อดีเอ็นเอทั้ง 2 ตัวอย่างด้วยเอนไซม์ ligase หลังจากนั้นส่งถ่ายเข้าสู่เซลล์ (transformation) ตัวอย่างพลาสมิดที่นิยมใช้ได้แก่ พลาสมิด pUC ซึ่งมีส่วนประกอบคือ ยีน B-galactosidase (lac Z) ยีนต้านทานต่อยาปฏิชีวนะแอมพิซิลิน ลำดับเบสที่จำเพาะของเอนไซม์ตัดจำเพาะหลายชนิดเรียงตัวซ้อนกันอยู่ในบริเวณยีน lac Z โดยมีลำดับเบสที่จำเพาะของเอนไซม์เพียง 1 ตำแหน่งต่อ 1 เอนไซม์ ดังนั้นบริเวณนี้จึงใช้เป็นที่เชื่อมต่อกับดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการเรียกบริเวณนี้ว่า multiple cloning site ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “เวกเตอร์” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 77-105. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.– ( 268 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เบสของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ

เบสเป็นส่วนประกอบย่อยหนึ่งของนิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โดยต่ออยู่กับน้ำตาลซึ่งต่ออยู่กับหมู่ฟอสเฟต เบสแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ พิวรีน (purine) ได้แก่ adenine (A) guanine (G) และไพริมิดีน (pyrimidine) ได้แก่ cytosine (C) thymine (T) uracil (U) เบส T พบเฉพาะในดีเอ็นเอ ในอาร์เอ็นเอพบเบส U แทน เบสเหล่านี้ต่อกับน้ำตาลดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอ ส่วนในอาร์เอ็นเอต่อกับน้ำตาลไรโบส เบสในดีเอ็นเอช่วยให้สายโพลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนเป็นเกลียวคู่ โดยเบส A เกิดพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะกับเบส T และเบส G เกิดพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะกับเบส C ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 5-41. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Transcription และ Translation มีความสำคัญในกระบวนการสร้างโปรตีน

ลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็นตัวกำหนดลักษณะที่แสดงออกในสิ่งมีชีวิตโดยอาศัย 2 กระบวนการคือ transcription และ translation เพื่อให้ได้โปรตีนจำนวนหนึ่งซึ่งทำให้เกิดลักษณะต่างๆ ขึ้น เริ่มจากกระบวนการ transcription เป็นการถอดรหัสลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็น messsenger RNA (mRNA) ต่อมาเข้าสู่กระบวนการ translation เป็นการแปลรหัส mRNA เป็นโปรตีน ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) transfer RNA (tRNA มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) เมื่อผ่านกระบวนการแปลรหัสได้โปรตีนตามชนิดที่เซลล์ต้องการ ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่แสดงออกต่างๆ เกิดขึ้น ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 686 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments