magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ศูนย์นาโนฯลุ้นโรงงานนาโนเวชสำอาง

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์นาโนเทคฯ ได้รับการอนุมัติพื้นที่และงบประมาณก่อสร้างจากกระทรวงวิทยาศาตร์และ เทคโนโลยี(วท.) เพื่อจัดตั้งโรงงานต้นแบบนาโนเวชสำอางตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ขนาดพื้นที่ประมาณ 539 ตร.ม. บนชั้น 8 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วัตถุประสงค์หลักเพื่อต่อยอดงานวิจัยจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีมาตรฐานสากล และถ่ายทอดงานวิจัยจากภาครัฐสู่ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งมีระบบการผลิตทดลองที่สามารถให้บริการแก่กลุ่ม SMEs รวมถึงระดับอุตสาหกรรม ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยและนาโนเวชสำอาง เพื่อทดลองตลาดก่อนการตัดสินใจลงทุนซื้อเครื่องจักรที่มีมูลค่าสูงซึ่งจะ ช่วยลดความเสี่ยงด้านการต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

อย่าง ไรก็ตาม การดำเนินงานขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหางบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ในการผลิตด้วยนา โนเทคโนโลยีขั้นสูงตามมาตรฐาน GMP และการจัดหางบประมาณในการสร้างเครือข่ายวิจัยตามภูมิภาคต่างๆ หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในด้านเครื่องสำอางสมุนไพรจากท้องถิ่นสู่ตลาดพาณิชย์ เป็นการสอดรับกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถขยายตลาดส่งออกและเติบโตในภูมิภาคอาเซียนได้ เป็นอย่างดี

รายการอ้างอิง :
ศูนย์นาโนฯลุ้นโรงงานนาโนเวชสำอาง. 2556. กรุงเทพธุรกิจ ( SCIWATCH). ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม.– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สทป.จัดกิจกรรมค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 2

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ DTI จัดกิจกรรม ‘ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์’ ครั้งที่ 2 ให้เยาวชนชั้น ม. 5-6 สายวิทย์-คณิต ได้เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจรวด พร้อมลงมือสร้างจรวดประดิษฐ์ ระหว่างวันที่ 27- 29 สิงหาคม 2556 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (สวทช.) และวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ทำการทดสอบจรวดประดิษฐ์ ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ เขาพุโลน จังหวัดลพบุรี

ในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกน้องๆ ที่มีความสามารถทางด้านการเรียนและการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผ่านบท ความจำนวน 100 คน จากทุกภาคของประเทศเข้าอบรมความรู้ทางด้านฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับจรวด การออกแบบดินขับจรวด และ

หลักการออกแบบการใช้โปรแกรมสำหรับคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ทางอากาศพลศาสตร์ (Aerolab) Read more…– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนุนงานวิจัย

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อยกระดับสู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

รายการอ้างอิง :
หนุนงานวิจัย. 2556. ข่าวหุ้น (ภาพข่าว). ฉบับวันที่ 04 ตุลาคม.
– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“เกษตร ทำกินกับคมชัดลึก”

Published on October 4, 2013 by in NSTDA

ทุกวันอาทิตย์เวลา 16.00-17.00 น. พบกับรายการ “เกษตร ทำกินกับคมชัดลึก” ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม “คมชัดลึกทีวี” อาทิตย์ที่ 6 ต.ค.56 ช่วง “ภัยเกษตรกร” บังดล จับเข่าคุยกับ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยและการเกษตร (สวก.) และ ดร.สมวงศ์  ตระกูลรุ่ง จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวตช.) สะท้อนถึงวิกฤติปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ส่วนช่วง “รวยด้วยมือ” น้าหมูจะพาไป ตะลุยเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ดูกรรมวิธีการผลิต “ผ้ามัดย้อม” ของดีเกาะพะงัน ยี่ห้อ แฮมมัคโฮม หลากสีหลากสไตล์ของคุณกีรติ เดี่ยวพานิช  เป็นผลิตภัณฑ์ทำเงินที่ได้รับความนิยมจากท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมาก

รายการอ้างอิง:
สองเกลอ. “เกษตร ทำกินกับคมชัดลึก”. คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย-บอกเล่าข่าวเกษตร). ฉบับวันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2556.– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ” ครั้งที่ 9

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.อมฤต เหล่ารักพงษ์ ประธานมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นประธานแถลงข่าวการประกวด”รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ” ครั้งที่ 9 และประกาศผล “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ” ครั้งที่ 8 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียม ระดับสากล โดยมี ดิลก คุณะดิลก ประธานฝ่ายกิจกรรมและโครงการ TICTA ดร.กว้าน สีตะธนีรองผู้อำนวยการเนคเทค และคณะกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมงานณ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย รางวัลชนะเลิศทั้งประเภทบุคคลทั่วไป/นิติบุคคล และนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะได้รับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาทและ 1 แสนบาทตามลำดับ

แหล่งที่มา : “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ” ครั้งที่ 9. กรุงเทพธุรกิจ (ถนนรอบเมือง). ฉบับวันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2556.– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘นาโนเทค’ ผนึก วท.แพร่ ติวเข้มกลุ่มสิ่งทอภาคเหนือ

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ร่วมกับ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ซึ่งเป็นศูนย์เคลือบผ้านาโนและศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอพื้นบ้านในระดับภูมิภาค ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จัดสัมมนา “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง : ภาคเหนือ” เพื่อการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 1 ตามโครงการเพิ่มมูลค่าสิ่งทอนาโนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์การบูรณาการ ว.และ ท. ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งในส่วนของภาครัฐและผู้ประกอบการสิ่งทอภาคเหนือ ให้ความสนใจกว่า 100 ราย Read more…– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ต่อยอดงานวิจัยปาล์มพันธุ์ดีเพิ่มผลผลิต-เปอร์เซ็นต์น้ำมัน

ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทยเจอะเจอ คือการขาดแคลนต้นกล้าที่มีคุณภาพทำให้เกษตรกรไทยจำเป็นต้องซื้อต้นกล้าปาล์ม น้ำมันจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้องแบกรับความเสี่ยงในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ เนื่องจากต้องใช้เวลาเพาะปลูกประมาณ 2-3 ปี จึงจะทราบว่าต้นกล้าที่ปลูกนั้นถูกต้องตามสายพันธุ์ และเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพหรือไม่ ที่ผ่านมาจึงทำให้ทั้งผลผลิตในภาพรวมมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ร่วมกับศูนย์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมวิชาการเกษตร และ หจก.โกลด์เด้นเทเนอร่า จัดเสวนาหัวข้อ “ผ่าวิกฤตอนาคตปาล์มน้ำมันไทย กับ สวก.” โดยนำผลจากการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อยอดพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปาล์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่และเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้น อีกทั้งสามารถเพาะปลูกได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ Read more…– ( 200 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรงนมสีเขียว

เดินหน้าพลิกโฉมธุรกิจฟาร์มโคนมด้วยงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เริ่มด้วยฟาร์มโคนมอินทรีย์ในปี 2547 ไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะ ตามติดด้วยนวัตกรรมนมเมลาโทนินสูงจากธรรมชาติ หรือนมก่อนนอนด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีรีดนมใหม่  และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้สำหรับผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ล่าสุดกับโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลดความผิดโคนมที่ผายลม-เรอเป็นก๊าซ เรือนกระจก

“เราสนใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ด้วยอยากทราบว่า ธุรกิจเราเองปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปเท่าไหร่ และจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างไรบ้าง จึงขอรับการสนับสนุนจากโครงการ  iTAP ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.” พฤติ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท แดรี่โฮม จำกัดกล่าว Read more…– ( 95 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เกาะติด ‘พีรพันธุ์ พาลุสุข’ศึกษาเยอรมนี-สวิสใช้เทคโนโลยีเพิ่มรายได้ (1)

รัฐบาลมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะนำองค์ความรู้ด้าน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มา  “เพิ่มมูลค่า” สินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อทำให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี

เมื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ การเดินทางของ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และคณะผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อไปร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีรับมอบ “ใบรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบพลาสติกชีวภาพ” หรือ Certification of Approved Laboratory ของเอ็มเทค สวทช. จากสถาบันดิน เซิร์ทโก (Din Certco) ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อต้นเดือนกันยายน 2556 จึงเท่ากับเป็นการต่อยอดเป้าหมายดังกล่าว Read more…– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.เฟ้นหา’เถ้าแก่น้อย’พาผู้ชนะ-ไปดูงานเกาหลีใต้

โครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี มีเป้า ประสงค์หลักเพื่อเตรียมตัวและช่วยเหลือนักศึกษา หรือบัณฑิตจบใหม่ให้มีความเข้าใจและสามารถจัดตั้งธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ ตลอดถึงการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยี ที่มีศักยภาพสามารถขยายตลาด หรือเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน ดำเนินการโดย “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช.” ร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรคือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และบริษัท สามารถ (คอร์เปอเรชั่น) จำกัด (มหาชน)

ปีนี้ จุดเริ่มต้น (เดือนเมษายน 2556) โครงการมีผู้สมัครเข้าร่วมจำนวน 86 ทีม โดยผลจากการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นโดยการสัมภาษณ์ สุดท้ายมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการรอบที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 61 ทีม จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 148 คน

ต่อมาช่วงที่ 1 เดือนพ.ค. ถึงเดือนมิ.ย. 2556 ผู้ผ่านได้รับสิทธิอบรมสร้างพื้นฐานการทำธุรกิจจำนวน 42 ชั่วโมง การดูงานหน่วยงานวิจัยและบริการต่างๆ ของสวทช. การอบรมเขียนแผนธุรกิจ และการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ เพื่อเสริมศักยภาพพื้นฐานของผู้ประกอบการที่จำเป็นต่อผู้เข้าร่วมโครงการและการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Idea To Market” Boot Camp ปัจจุบันโครงการกำลังดำเนินงานอยู่ในช่วงที่ 2 ซึ่งได้ดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ โครงการแล้วเสร็จไป มากกว่าร้อยละ 80 ของแผนการดำเนินงานทั้งหมดของโครงการ ซึ่งในช่วงสุดท้ายในเดือนต.ค.นี้จะประเมินและคัดกรองเพื่อหา “สุดยอดนักคิด นักพัฒนาต้นแบบ” ที่สามารถเกิดธุรกิจที่มีมูลค่าได้จริง รางวัลที่ 1 สุดยอดนักคิด นักพัฒนาต้นแบบ รับเงินรางวัลมูลค่า 200,000 บาท พร้อมตั๋วเครื่องบินไปดูงานประเทศเกาหลีใต้ 2 ที่นั่ง และทุนอีก 20,000 บาท

รายการอ้างอิง :
สวทช.เฟ้นหา’เถ้าแก่น้อย’พาผู้ชนะ-ไปดูงานเกาหลีใต้. ข่าวสด. ฉบับวันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2556.– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments