magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

สิทธิบัตร ด้านพันธุศาสตร์

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 10  ตุลาคม  2013
บริษัทด้านพันธุศาสตร์ 23andMe  ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2013 นี้ว่า ได้รับการอนุมัติสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา  ในเรื่องวิธีการใช้ ดีเเอ็นเอของพ่อแม่ เพื่อทำนายคุณลักษณะทางสายพันธ์ของลูก  เช่น สีของดวงตา ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค เพศ ความสูง
สิทธิบัตรเรื่องนี้ได้เสนอยื่นขอมามากกว่า 5 ปีก่อน  ซึ่งเนื้อหาครอบคลุมถึงการใช้เทคนิค เพื่อคัดเลือกอสุจิ และ ไข่ ที่เรียกว่า  vitrofertilization  นักจริยธรรมชีวภาพ แสดงความเห็นว่า  วิธีการที่ได้รับอนุมัติสิทธิบัตรเรื่องนี้  อาจถูกนำไปใช้ในการผลิตนักออกแบบเด็กทารก  (designer babies)  ซึ่งบริษัท  23andMe ที่ตั้งที่  Mountain View แคลิฟอร์เนีย  กล่าว่า บริษัทไม่ได้มี ความตั้งใจดำเนินการเทคโนโลยีนี้   ติดตามรายละเอียดได้ที่    go.nature.com/ruvkrh

อ้างอิง : Genetics patent .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 502 (7470), 146 – 147.
http://www.nature.com/news/seven-days-4-10-october-2013-1.13908– ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สิงโตทะเลวอลรัส หาที่อาศัยบนบก

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 10  ตุลาคม  2013
สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมว่า วอลรัส ประมาณ 1 หมื่นตัว ได้เคลื่อนย้ายมาที่ใกล้ชายฝั่งในอลาสกา ด้วยสาเหตุขาดน้ำแข็งในทะเล โดยที่สิงโตทะเลนี้ ได้มารวมตัวกันที่ บริเวณชายหาดใกล้ หมู่บ้าน  Point Lay ตั้งแต่กลาางเดือนกันยายน

Read more…– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยจับมือเซิร์นตั้งฮับสำรองข้อมูล

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าววิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 ต.ค. – ประเทศไทยและองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปหรือเซิร์น ร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์แรกในภูมิภาคอาเซียน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปหรือเซิร์น แถลงข่าวถึงการลงนาม ความร่วมมือในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ Worldwide LHC Computing Grid (WLCG) โดยให้ไทยเป็นศูนย์สำรองข้อมูล เป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน

Read more…– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ซุปจระเข้สกัด

เขียนไม่ผิดหรอกค่ะ เป็นซุปจระเข้สกัดจริงๆ  นักวิจัยจาก “โครงการผลิตภัณฑ์อาหารจากชิ้นส่วนซี่โครงและกระดูกสันหลังจระเข้ ” ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เป็นผู้วิจัย ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากเนื้อติดกระดูกจระเข้  ซึ่งกระดูกจระเข้มีกรดอะมิโนปริมาณสูงถึง 17 ชนิดด้วยกัน อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนคอลลาเจนชนิดไฮดรอกซีโพรลีนและไฮดรอกซีไซลีนจำนวนมาก โดยคุณสมบัติของคอลลาเจน จะช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้ผิวตึงเรียบกระชับ ชุ่มชื้น

ซุปจระเข้สกัดมีอายุเก็บรักษาได้นาน 3 ปี มีกลิ่นและรสชาติไม่ต่างจากซุปสกัดทั่วๆ ไป ต้นทุนต่ำเพราะนำของที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาผลิต ไม่จำเป็นต้องนำเนื้อสัตว์ที่มีราคาสูงมาสกัดน้ำซุปและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น  งานวิจัยนี้อยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร หากไม่มีการทักท้วงสิทธิ์ อีก 2 ปีก็จะได้สิทธิบัตรในงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในเชิงพาณิชย์

สาวๆ ที่รักสวยรักงามเตรียมตัวรอกันได้เลยค่ะ

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์. 2556. “ซุปจระเข้สกัด” คอลลาเจนสูง ดึงความงามมาพร้อมดื่ม. : ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นข้อมูลเมือวันที่ 14 ตุลาคม 2556  http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000088172– ( 81 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ยิ่งลักษณ์”สั่งบูรณาการงานวิจัยใช้เชิงพาณิชย์

“ยิ่งลักษณ์”สั่งบูรณาการงานวิจัยใช้ประโยชน์พัฒนาประเทศ มอบ “คอบช.” จัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน ก่อนต่อยอดพัฒนาพืชเกษตรนำร่อง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย

นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการวิจัยของประเทศไทย โดยขณะนี้ได้มีการรวบรวมผลงานวิจัยจากหน่วยงาน 6 ส. ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นเครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ หรือเรียกว่า คอบช. Read more…– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตั้งไทยเป็นศูนย์สำรองเครือข่ายวิจัยเซิร์นแห่งแรกในอาเซียน

3 หน่วยงานหลัก จับมือ เซิร์น ใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ จัดตั้งศูนย์สำรองเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกเป็นแห่งแรกในอาเซียน

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช. ) และรองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดเผยว่า สวทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือเซิร์น (CERN) ลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ โดยร่วมดำเนินการศูนย์ระดับ  2 ซึ่งประเทศไทยถือเป็นศูนย์แรกในภูมิภาคอาเซียน ที่ทำหน้าที่สำรองข้อมูล เพื่อใช้งานในภูมิภาค Read more…– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘นักเทคโนโลยีดีเด่น-นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่’

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีในโลกเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีการแข่งขันในอัตราที่สูงมาก ทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และขาดอำนาจการต่อรอง มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นอัตราการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาของประเทศอย่างเร่งด่วน จึงจัดให้มีการมอบรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” และรางวัล “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” ขึ้นในปี 2545 คู่ขนานไปกับรางวัลทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้คนในสังคมไทยเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ และหวังว่ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ จะเป็น “แรงกระตุ้น” ให้นักวิทยาศาสตร์ไทยมีกำลังใจในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมถึงเป็นเป้าหมายให้เยาวชนไทยมุ่งพัฒนาตนให้เป็นกำลังสำคัญด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไปในอนาคต Read more…– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยกทัพ 9 ผลงานเด่นขึ้นโชว์ ในงาน”เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี พบนักลงทุน”

“สามารถ จับมือ สวทช.และ ซิป้า” ยกทัพ 9 ผลงานด้านนวัตกรรมสุดล้ำ มาโชว์ความพร้อมและแนวคิดธุรกิจที่ชัดเจนให้แก่ เหล่านักลงทุนได้ยลโฉม ในงาน “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี พบนักลงทุน” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่โครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” จัดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเจรจาต่อรองเชิงพาณิชย์ระหว่างนักลงทุนกับเหล่านวัตกร คนไทย

การ สนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่คงไม่หยุดเพียงแค่การจัดงาน “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี พบนักลงทุน” เท่านั้น กลุ่มบริษัทสามารถ ยังมอบเงินรางวัลจำนวนถึง 200,000 บาทแก่ “สุดยอดนักคิดนักพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ” หรือ Samart I-novation Award 2013 พร้อมรางวัลทัศนศึกษาต่างประเทศ แก่ทีมที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก รวมทั้งสนับสนุน “ทุนเถ้าแก่น้อย” (Business Startup Funds) ให้แก่ผลงาน ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ทุนละ 20,000 บาท ไม่ต่ำกว่า 20 ทุน รวมมูลค่าการสนับสนุนกว่า 700,000 บาท ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิด “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” ตัวจริงต่อไป

ใครและผลงานไหนจะเป็นสุดยอด นวัตกรรม เร็วๆ นี้รู้ผลแน่นอน

สนใจ สามารถดูความเคลื่อนไหวของโครงการฯ ได้ที่ www.nstda.or.th/ bic/ หรือ www.samartsia.com

รายการอ้างอิง :
ยกทัพ 9 ผลงานเด่นขึ้นโชว์ ในงาน”เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี พบนักลงทุน”. 2556. ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 14 – 16 ตุลาคม.– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นายกฯ สั่งยกเครื่องงานวิจัยองค์รวม

นายธีรัตถ์ กล่าวว่า นายกฯ เห็นว่างานวิจัยของภาครัฐมีอยู่เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องนำมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ รวมถึงการนำงานวิจัยไปพัฒนาภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ คอบช. เร่งปรับปรุงเว็บไซต์ www.tnrr.in.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมงานวิจัยให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาจับคู่กับงานวิจัยเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ แสดงความคิดเห็นถึงงานวิจัย รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีหากต้องการมีการนำงานวิจัยไปต่อยอด

“นายกฯ ต้องการเห็นการจัดนิทรรศการงานวิจัยของภาครัฐแบบองค์รวม อยากเห็นงานวิจัยของประเทศมุ่งเน้นการตอบโจทย์ในการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก โดยมีการกำหนดพืช 4 ชนิดที่จะมีการให้ความสำคัญกับการนำร่องการวิจัยคือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย และอยากให้มีการนำงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี เพื่อนำงานวิจัยไปเสริมกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าและมาตรฐาน และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการจัดรูปแบบการศึกษาในการพัฒนาศักยภาพของผู้ ประกอบการขนาดเล็ก วิสาหกิจชุมชน ในการประยุกต์ผลงานวิจัยมาใช้ และต่อยอดด้วยกองทุนตั้งตัวได้ต่อไป”

รายการอ้าวอิง :
นายกฯ สั่งยกเครื่องงานวิจัยองค์รวม. 2556. บ้านเมืองฉบับวันที่ 12 ตุลาคม.– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิจัย “เวชสำอาง” รับเออีซี

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงาน 50 ปี อุตสาหกรรม เครื่องสำอางไทย โดยจะสนับสนุนด้านต่าง ๆ อาทิ 1.ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2. การยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการวิจัย 3.ด้านการตลาดและขยายช่องทางการค้า โดยศูนย์นาโนเทคฯเตรียมจัดตั้งโรงงานต้นแบบนาโนเวชสำอางตามมาตรฐาน GMP เพื่อต่อยอดงานวิจัยจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีมาตรฐานสากล

รายการอ้างอิง :
วิจัย “เวชสำอาง” รับเออีซี. 2556. ประชาชาติธุรกิจ. (เก็บตกเอสเอ็มอี). ฉบับวันที่ 14 – 16 ตุลาคม.– ( 85 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments